Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20860
Title: ซัมเป็ง : แม่แบบในการสร้างสรรค์ระบำพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง
Other Titles: Sampeng: prototype in lower southern dance creation
Authors: ฑิลฎา คงพัฒน์
Advisors: มาลินี อาชายุทธการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Malinee.A@Chula.ac.th
Subjects: การรำ -- ไทย (ภาคใต้)
ศิลปะการแสดง -- ไทย (ภาคใต้)
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของการแสดงซัมเป็งจากอดีตถึงปัจจุบัน รูปแบบ และองค์ประกอบการแสดงซัมเป็งเพื่อการอนุรักษ์และการส่งเสริม คุณค่าและบริบททางสังคมของการแสดงซัมเป็ง และหลักการนำท่าทางของซัมเป็งที่นำมาใช้ในการสร้างสรรค์ระบำพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง โดยดำเนินการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ศิลปินผู้เชี่ยวชาญในการแสดงซัมเป็ง ผู้สร้างสรรค์ผลงานระบำพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง และสังเกตการณ์สาธิตและฝึกปฏิบัติจากศิลปินผู้เชี่ยวชาญการแสดงซัมเป็ง จากการศึกษาพบว่าพัฒนาการของการแสดงซัมเป็งปัจจุบันการเต้นซัมเป็งได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต แต่เดิมเป็นการย่อตัวแตะเท้า แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นย่อตัวเตะเท้าแทน ส่วนเพลงที่ใช้ในการแสดงนั้นจากที่ใช้เพลงช้าได้พัฒนามาใช้เพลงที่มีจังหวะเร็วขึ้น ส่งผลให้ต้องปรับท่าทางของดอกให้เข้ากับเพลงและในปัจจุบันยังมีการปรับท่าทางให้สนุกสนาน เพื่อให้ผู้ชมไม่เบื่อหน่ายในการแสดง รูปแบบและองค์ประกอบการแสดงซัมเป็ง คือ มีรูปแบบลักษณะการแสดงที่มีแบบแผน และมีขั้นตอนในการเต้น ผู้เต้นจะต้องมีสมาธิในการเต้นตลอดเวลา เนื่องจากต้องเต้นเป็นกลุ่ม หากผู้ใดเกิดผิดพลาด ขบวนการหรือขั้นตอนการแสดง ก็จะผิดพลาดทั้งกลุ่ม แบบแผนในการเต้นแตกต่างจากการแสดงอื่น คือ ในการแสดงมีผู้แสดง 4 คน ( 2 คู่) เรียกว่า 1 ดอก ซึ่งในการแสดงจะแสดงกี่ดอกก็ได้ เพราะจะมีการแปรแถวกันเฉพาะในดอกของตนเท่านั้น ซึ่งมีองค์ประกอบในการแสดง คือ นักแสดง นักดนตรี เครื่องดนตรี แต่ในปัจจุบันไม่จำเป็นต้องมีนักดนตรีและเครื่องดนตรีก็ได้ เนื่องจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามามีการบันทึกเป็นเทปเสียงแทน ปัจจุบันนิยมใช้เพลงซาปินปูดีมัน ที่มีจังหวะสนุกสนานเร้าใจในการแสดง ส่วนการแต่งกายยังคงยึดแบบแผนการแต่งกายตามวิถีชีวิตของคนไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (แต่ผู้หญิงจะไม่ใช้ผ้า คลุมศีรษะเพื่อความสวยงามในการแสดง)คุณค่าและบริบททางสังคมของการแสดงซัมเป็ง สามารถสร้างความสามัคคีให้เกิดในบุคคลในท้องถิ่น และยังเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดี เนื่องจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายในเรื่องของศาสนา วัฒนธรรม แต่การแสดงซัมเป็งทุกคนสามารถแสดงได้ เพราะไม่มีการแบ่งแยกศาสนาและวัฒนธรรมซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ดีในสังคม การเต้นซัมเป็งมีอิทธิพลต่อระบำพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง โดยมีหลักการนำท่าทางของซัมเป็งมาใช้ในการสร้างสรรค์ระบำพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง โดยใช้ลักษณะเด่นของการใช้เท้าในกระบวนการเต้นซัมเป็งมาใช้เป็นโครงสร้างท่ารำหลัก เช่น การแตะปลายเท้าด้านหน้า แตะปลายเท้าด้านข้าง การย่ำแตะ ก้าวชิดก้าว การใช้ศีรษะ คือ หน้ามองผ่านไหล่ หน้ามองคู่ และหน้ามองมือ การใช้ลำตัวในการเต้นซัมเป็ง คือ การเล่นไหล่และการใช้สะโพก การใช้มือจีบนิ้วกลาง จีบไม่ติด การม้วนมือ แล้วนำมาผสมผสานกับการใช้มือของนาฏยศิลป์ไทยเพื่อให้ผลงานการสร้างสรรค์มีรูปแบบใหม่ ผู้ที่เต้นซัมเป็งจนเชี่ยวชาญนั้นสามารถแสดงและสร้างสรรค์ระบำพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่างได้อย่างสวยงาม เพราะมีพื้นฐานมาจากการเต้นซัมเป็ง ปัจจุบันการแสดงซัมเป็งยังขาดการสนับสนุนส่งเสริมจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน มีคณะที่นำซัมเป็งมาแสดงน้อยมาก และการแสดงก็หาชมได้ยากยิ่งขึ้นแสดงให้เห็นว่าการแสดงที่สวยงามและมีเอกลักษณ์ความเป็นพื้นเมืองภาคใต้กำลังจะสูญหายไป หากยังไม่ได้รับการสนับสนุน
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the development, the style and the element of Sampeng purposefully for conserving and promoting the value and the social context of Sampeng, as well as the adaptation of Sampeng’s postures for the lower southern folk dance creation. The methods used in the research include studying from the books, documents and related researches, interviewing the experts of Sampeng and the producers of lower southern folk dance, observing the display and self-practicing with Sampeng’s professional artist. The study found that Sampeng’s development has been changed from the past. Nowadays, Sampeng’s posture includes lowering the knees with the foot striking out while originally, the posture was lowering the knees with the foot touching the ground. For the song, it has also been changed from the slow song to the fast song. Therefore, the movement was adapted following the faster rhythm as well. At present, Sampeng’s postures have been developped to entertain the local people and not to bore them. Sampeng has the individval pattern and the movement’s steps. The dancers have to focus on the dance all the time because it is a group dance which needs the harmony. If someone makes a mistake in either the movement or the steps, the whole group will fail. Sampeng group composes of the performers, the dancers and the musical instruments. However, at present, it’s unnecessary to have the musicians and the instruments as there is the technology to record the sound for the performance. The costume of Sampeng bases on the lifestyle of Thai Muslim in the southern provinces. Sampeng has the value in that it can promote the unity of society. In principal, Sampeng is always performed for welcoming the important guests in the community and is also displayed in the festival as it is the fine identity of the local community. Apart from being the entertainment, Sampeng is also the way to excersice for the government officers in the past. The movement that lower southern folk dance adapted from Sampeng includes the characteristic way to use the feet. It uses the feet, the hand, the head and the body movement as a main structure combined with the hand movement in Thai dance. This created the new style of dance which is different from the original Sampeng that mainly uses the feet movement. Nowadays, Sampeng is still short of support from both of the government and the private section. There are few of Sampeng dance company so it’s hard to see this kind of performance at this time. This shows that such a beautiful and characteristical southern folk dance is going to disappear unless there is a support to maintain it.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20860
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.377
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.377
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
tilada_ko.pdf5.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.