Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21227
Title: | วิเคราะห์การสอดทำนองเครื่องเป่าในวง 3 ขลุ่ยไทย ทาง ครูปี๊บ คงลายทอง |
Other Titles: | A musical analysis of Thai woodwind counterpoint for Khlui trio ensemble by Khru Peeb Khonglaithong |
Authors: | ฐานิสร์ พรรณรายน์ |
Advisors: | บุษกร บิณฑสันต์ ปี๊บ คงลายทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ปี๊บ คงลายทอง ขลุ่ย การวิเคราะห์เพลง การวิเคราะห์ทางดนตรี ดนตรีไทย Peeb Konglaithong Khlui Musical analysis |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วง 3 ขลุ่ยไทย เป็นวงดนตรีไทยที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนอง 3 ชนิดคือ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ และขลุ่ยอู้ โดยผู้ที่รังสรรค์วงดนตรีไทยชนิดนี้ขึ้นมาเป็นท่านแรกคือ อาจารย์สุวิทย์ บวรวัฒนา โดยมีครูเทียบ คงลายทอง ครูยรรยงค์ แดงกูร และครูสุรชัย แดงกูร เป็นผู้บรรเลงและบันทึกเสียงเป็นครั้งแรก งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องเป่าในวง 3 ขลุ่ยไทย ระบบการฝึกหัดและการสืบทอดขลุ่ยทั้ง 3 ชนิดของ ครูปี๊บ คงลายทอง และการสอดทำนองของการบรรเลงเครื่องเป่าในวง 3 ขลุ่ยไทย ทาง ครูปี๊บ คงลายทอง ดำเนินการวิจัยโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนรวมและศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น หนังสือ เอกสาร บทความ และแถบบันทึกเสียงเป็นต้น ผลจากการศึกษาพบว่า ขลุ่ยเพียงออ มีพัฒนาการมาจากปี่อ้อ ส่วนขลุ่ยหลิบและขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยที่มีการพัฒนาขึ้นมาในระยะหลัง ในด้านการถ่ายทอดขลุ่ยของ ครูปี๊บ คงลายทอง ใช้ระบบการสอนแบบมุขปาฐะ(Oral tradition) การสอดทำนองเครื่องเป่าในวง 3 ขลุ่ยไทย เป็นการแปรทำนองโดยการสอดแทรกกลวิธีพิเศษต่างๆ เพื่อสร้างความไพเราะให้กับทำนองเพลง ซึ่งมีทั้งการแปรทำนองที่เหมือนกันและการแปรทำนองที่แตกต่างกัน ซึ่งคำนึงถึงจังหวะช่องไฟ ความชัดเจน ความสมดุล ความกลมกลืน และความเป็นเอกภาพของทำนองเพลงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการแปรทำนอง ทั้งนี้เพื่อทำให้ทำนองเพลงเกิดความไพเราะและงดงาม |
Other Abstract: | Khlui Trio Ensemble was a classical Thai music band which composed of 3 types of Thai musical instruments; Khlui-peangor Khlui-leap and Khlui-au. Mr. Suwit Bawornwattana was a person who created this type of music band. Mr. Tieb Konglaithong, Mr. Yanyong Dangkoon, and Mr. Surachai Dangkoon were the first tree music players who recored this type of music. The purposes of this research was to study the context of woodwind instruments in Khlui Trio Ensemble, the system of practicing and transmission method of Thai woodwind instruments of Mr. Peep Konglaithong, and the counterpoint for Khlui trio ensemble. The qualitative research was employed to conduct this research including interviews, the observations and the data collecting from various resources such as books, documents, articles and cassette tapes. The result of the study has shown that Khlui-peangor was developed from Peea-ow but Khlui-leap and Khlui-au were developed later. The Oral Tradition was used to instruct by Mr. Peep Konglaithong. The counterpoint for Khlui trio ensemble are improvisation al techniques to create melodies. There are similar and different variations considering space, clearness, balance, and unity for improvisation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21227 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.489 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.489 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thanid_pa.pdf | 3.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.