Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21271
Title: | การใช้องค์ประกอบและการจัดวางพื้นฐานทางเรขศิลป์ที่แสดงเอกลักษณ์ของหลักการทางศาสนาพุทธ (หินยาน) |
Other Titles: | The use of basic graphic elements and composition to express identity of Buddhism (Hinyana) principles |
Authors: | ธัญธวัช แพงไธสง |
Advisors: | อารยะ ศรีกัลยาณบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Araya.S@Chula.ac.th |
Subjects: | การออกแบบกราฟิก กราฟิกอาร์ต พุทธศาสนาเถรวาท พุทธศาสนากับศิลปะ Graphic arts Hinayana Buddhism Buddhism and the arts |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาหลักการแก่นแท้ทางศาสนาพุทธ (หินยาน) 2. ศึกษาและเปรียบเทียบหลักการองค์ประกอบและการจัดวางพื้นฐานทางเรขศิลป์ กับหลักการและทฤษฎีที่แสดงแก่นแท้และเอกลักษณ์ของศาสนาพุทธ (หินยาน) 3. เพื่อที่จะได้หลักการองค์ประกอบและการจัดวางพื้นฐานทางเรขศิลป์ที่สอดคล้องกับหลักการแก่นแท้ของศาสนาพุทธ (หินยาน) ดำเนินการวิจัยขั้นที่หนึ่งโดยการศึกษาหลักการแก่นแท้ทางศาสนาพุทธ (หินยาน) จากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์พระภิกษุ จนได้หลักการโดยรวมที่เป็นหลักการแก่นแท้ทางศาสนาพุทธ (หินยาน) และทำแบบสอบถามเพื่อที่จะสรุปหาคำตอบว่าหลักการแก่นแท้ทางศาสนาพุทธ (หินยาน) คือหลักการอะไรเป็นสำคัญ โดยลงไปเก็บข้อมูลกับพระสงฆ์ สถานที่ที่ลงไปเก็บข้อมูลคือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และสำนักหรือวัดที่ปฏิบัติธรรม เกณฑ์การวัดคะแนน ใช้การกำหนดค่าน้ำหนักคะแนน 5 ระดับ จากนั้นก็นำผลที่ได้คะแนนมากที่สุด ก็คือ หลัก “ไตรสิกขา”เป็นหลักการแก่นแท้ทางศาสนาพุทธ (หินยาน) เพราะเป็นหลักที่รวมสาระของหลักธรรมต่างๆที่มีอยู่ในเรื่อง ศีล สมาธิ และปัญญา โดยหลักของไตรสิกขานี้ ที่มุ่งเน้นไปสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์ของสิ่งทั้งปวง การดำเนินการวิจัยขั้นที่สองคือ ศึกษาหลักการองค์ประกอบและการจัดวางพื้นฐานทางเรขศิลป์โดยวิธี (Literature review) ทบทวนวรรณกรรมที่เป็นเนื้อหาของข้อความ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบความสำคัญในหัวข้อเฉพาะที่ตรงกัน 2 ใน 3 ในเรื่องของหลักการองค์ประกอบและการจัดวางพื้นฐานทางเรขศิลป์ แล้วนำคำตอบคือ หลัก “ไตรสิกขา” เป็นหลักการแก่นแท้ทางศาสนาพุทธ (หินยาน) มารวมกับ หลักการองค์ประกอบและการจัดวางพื้นฐานทางเรขศิลป์ เป็นแบบสอบถามอีก1 ชุดเพื่อที่จะนำไปเก็บข้อมูลกับผู้เชียวชาญที่เป็นนักออกแบบและศิลปิน โดยเกณฑ์การวัดคะแนน ใช้การกำหนดค่าน้ำหนักคะแนน 5 ระดับตามเกณฑ์ จากนั้นก็นำผลที่ได้คะแนนมากที่สุด มาเป็นคำตอบในเรื่องหลักการองค์ประกอบและการจัดวางพื้นฐานทางเรขศิลป์ ฉะนั้นหลักการองค์ประกอบและการจัดวางพื้นฐานทางเรขศิลป์ที่สอดคล้องกับหลักการแก่นแท้ของศาสนาพุทธ (หินยาน) คือ องค์ประกอบพื้นฐาน (Basic elements) คือ จุด (Points), เส้นนอน (Horizontal line), รูปทรงธรรมชาติ (Natural form) ลักษณะผิวที่รับรู้ได้ด้วยผิวหนังที่ปรากฏในธรรมชาติ (Actual texture or tactile texture) สีโทนเดียว (Monochromatic color scheme) และการจัดวางพื้นฐาน (Basic composition) คือ ความสมดุลที่เท่ากัน (Symmetrical balance) จังหวะการต่อเนื่องเป็นลำดับ (Progression rhythm) สัดส่วนขนาดและรูปทรงที่มีขนาดใกล้เคียงกัน บริเวณที่ว่างที่เป็นบวก (Positive space) การตัดกันที่สี (Contrast of color) จากผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและการจัดวางพื้นฐานทางเรขศิลป์ที่สอดคล้องกับหลักการแก่นแท้ของศาสนาพุทธ (หินยาน) นั้นเป็นองค์ประกอบศิลป์ และการจัดวางพื้นฐานที่ดูแล้วเรียบง่าย ไม่ค่อยมีอะไรซับซ้อน สอดคล้องกับหลัก ไตรสิกขา ที่สอนให้ยึดหลักการ 3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา สอนให้มั่นเพียรกระทำความดี ละเว้นความชั่ว ปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิ เพื่อที่จะได้เกิดสติปัญญาในการดำเนินชีวิตให้ลุลวงไปด้วยดี ในแง่ขององค์ประกอบศิลป์ เป็นองค์ประกอบที่ชัดเจนไม่ซับซ้อน ไม่มากไม่น้อย มีความหมายแฝง สีกลมกลืนด้วยสีโทนเดียว บางครั้งตัดกันด้วยสีเพื่อความชัดเจน ถ้าเป็นหลักธรรม ก็เสมือนพอใจในสิ่งที่ตนมีไม่เติมแต่ง กิเลสตัณหา ใช้รูปทรงเป็นธรรมชาติเข้าใจง่ายไม่เคลือบแคลง เห็นอะไรเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น และการจัดวางเป็นระเบียบเรียบร้อย มั่นคงไม่เอียงซ้ายเอียงขวามากเกินไป ตรงกลางพอดี ก็คงเหมือนที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เดินทางสายกลาง ประโยชน์ที่คาดว่าน่าจะได้รับ น่าจะเป็นประโยชน์แก่องค์กรสงฆ์ และกระทรวงศึกษา ที่จะได้มีรูปแบบที่มีมาตรฐาน หรือทฤษฎี มารองรับเพื่อที่จะได้นำเสนอธรรมะในรูปแบบใหม่ เปลี่ยนจากการนำเสนอธรรมะเป็นภาษาบาลีเข้าใจยากหรือพิธีการจำเจน่าเบื่อ มาเป็นการนำเสนอในภาษาภาพ ที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น น่าจะเป็นประโยชน์ แก่นักออกแบบ ตกแต่งภายใน ศิลปิน สถาปนิก แฟชั่นดีไซน์เนอร์ นักแต่งสวน ที่จะนำ องค์ประกอบและการจัดวางพื้นฐานทางเรขศิลป์ ที่เป็นเอกลักษณ์ของศาสนาพุทธ (หินยาน) ไปประยุกต์ใช้ในสาขาอาชีพได้ น่าจะเป็นประโยชน์ แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่มีความสนใจ ศึกษาค้นคว้าประกอบการเรียน การศึกษาได้ |
Other Abstract: | To study core principles of Buddhism, to study and compare composition principles and basic graphic design elements with theory of Buddhism (Hinayana) core and identity, and last of all, to develop composition principle and graphic design in relation to Buddhism (Hinayana) core principles. Preliminary research began with core Buddhism (Hinayana) principles study of correlated literatures along with Buddhist monk interview to obtain the survey outcome as general principles of core Buddhism (Hinayana) principles. In order to find out the core principles of Buddhism, questionnaires, using five-level measurement, have been distributed to Buddhist monks at Mahachulalongkornrajavidyalaya university and Dhamma retreat temples. The principle which obtained the highest point is “Three studies; morality, concentration and wisdom” that lead to extrication. Secondary research is to study composition principles and basic graphic design elements by literature review with the purpose to examine the importance of just the two third of identical main beliefs of composition principles and graphic design principles. The resolution, three studies, which is the core of budhism (Hinayana) jointly with composition principles and basic graphic design elements was combined as questionnaires to collect data from designers and artists who are specialists, using five-level measurement. The highest-score result is used as a key of composition principles and graphic design principles. The research result shows that composition principle and basic graphic design elements that are compatible with core principles of Buddhism (hinayana) consist of points, horizontal line, natural form, actual texture or tactile texture, monochromatic color scheme, basic composition, symmetrical balance, progression rhythm, positive space, and contrast of color. The study also found that basic graphic design elements that harmonize with core principles of Buddhism (Hinayana) is simple art composition and basic elements. The survey findings match the “Three studies; morality, concentration and wisdom” which explains; performing good deeds, abstaining from bad deeds, practicing the dharma, meditating, and leading to intelligent way of life. In respect of art composition, the work of art related must be clear, simplify, more or less, and contain connotation. The color related is one-tone harmonized color and sometimes opposite colors for clarity. Compared to Dhamma, this is equivalent to satisfaction of what ones have without greed. Natural shapes are easy to understand with no doubtfulness. What one sees is what it is. Orderly arrangement, in the center, is like Buddha’s doctrine to live moderate practice. Benefits this thesis would be helpful to monastery institution and education ministry so they have new way of standard pattern to present Dhamma, from formal Pali presentation to pictorial information which is easy to understand. Moreover, it would also be practical for designer, interior designers, artists, architects, fashion designers, garden designers to use the basic graphic elements and composition to express identity of Buddhism (Hinaya) principles in their professional works. Finally, it would also informative for college students who is interested to use in their study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นฤมิตศิลป์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21271 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.985 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.985 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
tantawat_pa.pdf | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.