Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21374
Title: การศึกษาเปรียบเทียบระบบป้ายสัญลักษณ์สำหรับอาคารรูปแบบสมัยใหม่กับหลังสมัยใหม่
Other Titles: Comparative study of signage system for modern and post modern buildings
Authors: ณพจิต โกมลกาญจน
Advisors: เอื้อเอ็นดู ดิศกุล ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ป้ายสัญลักษณ์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ ถือเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน และนับว่ามีความสำคัญต่อศาสตร์ในแขนงอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสถาปัตยกรรมประเภทอาคาร เนื่องจากระบบป้ายสัญลักษณ์และตัวอาคารนั้น สามารถส่งเสริมซึ่งกันและกันในแง่ของการจัดระเบียบการสื่อสาร อีกทั้งการออกแบบที่ว่างให้เกิดความเหมาะสมสวยงาม และเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดงานสถาปัตยกรรมประเภทอาคารเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นงานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาองค์ประกอบหลักของป้ายสัญลักษณ์ที่มีความเหมาะสมกับอาคารรูปแบบสมัยใหม่ (Modern) และหลังสมัยใหม่ (Post Modern) ทั้งนี้เพื่อให้ได้แนวทางการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ที่มีความเหมาะสมกับอาคารทั้งสองรูปแบบ การวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลทางสถาปัตยกรรม เกี่ยวกับลักษณะของอาคารรูปแบบสมัยใหม่ (Modern) และหลังสมัยใหม่ (Post Modern) นำไปวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกตัวอย่างงาน จากนั้นรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบหลักของป้ายสัญลักษณ์อันได้แก่ รูปร่าง (Shape), สี (Color), เครื่องหมายและสัญลักษณ์ (Sign and Symbol) และตัวอักษร (Font) เพื่อนำไปทำการออกแบบแบบสอบถามโดยมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตรวจสอบ จากนั้นนำผลที่ได้จากการตรวจสอบมาทำการศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบหลักของป้ายสัญลักษณ์สำหรับอาคารทั้งสองรูปแบบ จากการสรุปผลพบว่า ความแตกต่างทางลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคารทั้งสองรูปแบบนั้นมีผลต่อองค์ประกอบหลักของป้ายสัญลักษณ์โดยตรง ส่งผลให้ระบบป้ายสัญลักษณ์สำหรับอาคารรูปแบบสมัยใหม่ (Modern) และหลังสมัยใหม่ (Post Modern) มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งท้ายสุดผู้วิจัยได้นำผลสรุปดังกล่าวมาวางเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์ที่มีความเหมาะสมกับอาคารรูปแบบนั้นๆ โดยเลือกกรณีศึกษาเป็นอาคารเพื่อการพานิชยกรรม ประเภทอาคารศูนย์การค้า โดยอาคารรูปแบบสมัยใหม่นั้นได้เลือกศูนย์การค้าเกษร และอาคารรูปแบบหลังสมัยใหม่ได้เลือกศูนย์การค้าอัมรินทร์ เพื่อเป็นตัวอย่างและเป็นแนวทางในการออกแบบระบบป้ายสัญลักษณ์สำหรับอาคารรูปแบบสมัยใหม่ (Modern) และหลังสมัยใหม่ (Post Modern) ต่อไป
Other Abstract: Nowadays, the design of signage systems is widely accepted and has great importance in many fields of study, in particular architectural design. The reason behind this relevance is that the signage system of a building must communicate information efficiently and attractively. Furthermore, due to the recent economic boom, building construction and renovation has been growing rapidly. Therefore, the objective of this research is to perform a comparative study of the fundamental elements of an efficient signage design system in modern and post-modern buildings. This research was initiated by the study of the architectural design of modern and post-modern buildings. The compilation of the fundamental elements of the signage design information system, which were shape, color, font, signs and symbols, was then used for a survey that was answered by experts. In the final stage, the results of that survey were then used for the comparative study. The conclusion of this study shows that the differences of architectural designs between modern and post-modern buildings have a great effect on the signage system. Subsequently, the research used this conclusion as a case study for the signage design system of commercial buildings (e.g. department stores). The Gaysorn shopping complex (modern) and the Amarin shopping complex (post-modern), were selected as a design guideline for the signage system of a modern and post-modern building.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21374
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1320
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1320
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Noppajit.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.