Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2142
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ธงชัย สุขเศวต | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาสรีรวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-23T07:02:35Z | - |
dc.date.available | 2006-08-23T07:02:35Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2142 | - |
dc.description.abstract | การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดบาราคอลจากใบขี้เหล็กที่มีต่อตัวรับชนิดไอออนที่กระตุ่นให้เปิดด้วยลิแกนด์ ในเซลล์ประสาทของหนูขาว ได้ทำการศึกษาเฉพาะผลที่มีต่อตัวรับกาบาเอและตัวรับไกลซีน โดยได้ดำเนินการพัฒนาวิธีการแยกเซลล์ประสาทเดี่ยวจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัสของหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ เพศผู้ อายุ 21-27 วัน เซลล์ประสาทรูปปิรามิดที่แยกได้คงลักษณะทางกายสัณฐานวิทยาไว้ได้ดีพอควรและมีการตอบสนองต่อกาบาและไกลซีนได้ดีด้วยการวัดกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเซลล์แบบทั้งเซลล์โดยเทคนิคแพทช์แคลมป์ การศึกษาผลของบาราคอลที่มีต่อตัวรับกาบาเอและตัวรับไกลซีน พบว่าบาราคอล (10-3000 ไมโครโมลาร์) ไม่มีผลกระตุ้นโดยตรงต่อเซลล์ประสาทรูปปิรามิดในการทำให้กระแสไหลผ่นเยื่อหุ้มเซลล์ สารบาราคอลความเข้มข้นต่ำ (1-30 ไมโครโมลาร์) จะไม่มีผลต่อกระแสไฟฟ้าที่กระตุ่นให้เกิดจากไกลซีน แต่สามารถเสริมฤทธิ์กระแสที่เกิดจากกาบา เมื่อเปรียบเทียบกับไดอะซิแพม พบว่าต้องใช้บาราคอลที่มีความเข้มข้นสูงกว่า (30 ไมโครโมลาร์) จึงให้การเสริมฤทธิ์สูงสุด (ร้อยละ 168.2 +-20.66) ใกล้เคียงกับการเสริมฤทธิ์โดยไดอะซิแพม (1 ไมโครโมลาร์) (ร้อยละ 184.8+-9.97) สำหรับเพนโตบาบิทาลโซเดียมมีผลเสริมฤทธิ์สูงสุดที่ความเข้มข้น 300 ไมโครโมลาร์ โดยร้อยละของการเสริมฤทธิ์สูงถึง 482.3+-32.54 ซึ่งมากกว่าผลจากบาราคอลและไดอะซิแพม ผลในการเสริมฤทธิ์กาบาของบาราคอลนี้ไม่สามารถยับยั้งด้วยสารฟลูมาเซนิลซึ่งเป็นสารต้านที่บริเวณยึดเหนี่ยวเบนโซไดอะซิพีนบนตัวรับกาบาเอ แสดงให้เห็นว่าการเสริมฤทธิ์กาบาของบาราคอลที่ตัวรับกาบาเอ ไม่ผ่านบริเวณยึดเหนี่ยวเบนโซไดอะซิพีน ในขณะที่สารบาราคอลความเข้มข้นสูง 1000-3000 ไมโครโมลาร์ จะยับยั้งกระแสที่เกิดจากกาบาและขนาด 100-1000 ไมโครโมลาร์ จะยับยั้งกระแสที่เกิดจากไกลซีน ซึ่งลักษณะการยับยั้งกระแสที่เกิดจากกาลาและไกลซีนของบาราคอลความเข้มข้นสูง มีลักษณะคล้ายคลึงกับสารต้านชนิดแข่งขันของตัวรับกาบาเอและไกลซีน คือ ไบคุคูลินและสตริกนินตามลำดับ สำหรับกลไกการออกฤทธิ์ของบาคาคอลในการเสริมฤทธิ์กาบาที่ตัวรับกาบาเอในความเข้มข้นต่ำและการยับยั้งและไกลซีนในความเข้มข้นสูง ยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป | en |
dc.description.abstractalternative | The study of the effect of barakol extracted from Cassia siamea on ligand-gated ion channels in rat neurons was performed, in this study, only the effects of batakol on GABA[subscript]A and glycine receptors. The method of acute dissociation of hippocampal neurons from amle Wister rats aged 21-27 days was developed. The acutely dissociated hippocampal pyramidal neurons still preserved their morphological structure. The neurons could also response well to give the inward currents induced by gamma-aminobutyric acid (GABA) and glycine measures by whole-cell application of the patch clamp technique. The effects of barakol on the GABA[subscript]A and the glycine receptors were also performed on the neurons using the whole-cell patch clamp technique. Barakol alone (10-3000 [mu]M) did bot induced inward or outward currents in these neurons. Barakol at low concentrations (1-30 [mu]M) did not have any effect on glycine-induced currents but it enhanced GABA-induced currents. The maximal potentiation of GABA-induced currents by 30 M batakol (168.2+-20.66,n=13) was slightly lower than by 1 M diazepam (184.8.2+-9.97,n=15). The maximal potentiation of GABA-induced currents by 300 [mu]M pentobarbital sodium (482.3+-32.54,n=8) was higher than by 1 M diazepam or by M barakol. The potentiatio of GABA-induced currents by barakol could not inhibit by flumazenil, a benzodiazepine antagonist. This result indicated that the potentiation GABA-induced currents by barakol does not act via benzodiazepine site on the GABA[subscript]A receptors. However, the high concentrations of barakol inhibited both GABA- (1000-3000 [mu]M barakol) and glycine-induced (100-1000 [mu]M barakol) currents. These inhibitory effects of high concentrations of barakol resembled the inhibitory effects of GABA-induced currents by a GABA competitive antagonist bicuculline and of glycine-induced currents by a glycine competitive antagonist strychnine. The mechanisms of the potentiation and inhibition of GABA-induced currents and inhibition of glycine-induced currents by barakol still remain to be further investigated. | en |
dc.description.sponsorship | กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช | en |
dc.format.extent | 8169184 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ขี้เหล็ก (พืช) | en |
dc.subject | บาราคอล | en |
dc.title | การศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดบาราคอลจากใบขี้เหล็ก (Cassia siamea) ที่มีต่อตัวรับชนิด ช่องไอออนที่กระตุ้นให้เปิดด้วยลิแกนด์ ในเซลล์ประสาทของหนูขาว : ตัวรับกาบาเอและตัวรับไกลซีน : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Effects of barakol extracted from Cassia siamea on ligand-gated ion channels in rat neurones : GABA[subscript]A and glycine receptors | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Thongchai.S@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Pharm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ThongchaiEff.pdf | 6.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.