Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2168
Title: | การผลิตน้ำส้มสายชูจากเชื้อ Acetobacter species ที่แยกจากวัสดุธรรมชาติ : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Study on acetic acid produced by acetobacter species isolated from natural materials |
Authors: | ณัฐดา วิโรจน์แสงอรุณ สมบูรณ์ ธนาศุภวัฒน์ |
Email: | Somboon.T@Chula.ac.th Nuttada.V@Chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา |
Subjects: | น้ำส้มสายชู อะซีโตแบคเตอร์ การหมัก |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ได้แยกเชื้อน้ำส้มสายชูจากวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ผัก ผลไม้ และดอกไม้ เป็นต้น โดยเลี้ยงเชื้อในอาหารเหลวที่มีเอทธานอล 5 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร แยกเชื้อให้บริสุทธิ์โดยวิธี streak plate บนอาหารแข็งที่มีแคลเซียมคาร์บอเนต พบเชื้อที่สร้างกรดโดยดูจากการสลายของแคลเซียมคาร์บอเนตเห็นเป็นวงใสรอบโคโลนี (colony) 154 ไอโซเลต (isolate) จากตัวอย่าง 156 ตัวอย่าง เชื้อที่แยกได้เป็นเชื้อที่เลี้ยงในภาวะให้อากาศ (shaking culture) 82 ไอโซเลต และภาวะไม่ให้อากาศ (stationary culture) 72 ไอโซเลต เมื่อนำเชื้อน้ำส้มสายชูเหล่านี้มาคัดเลือกสายเชื้อ (strain) ที่มีประสิทธิภาพผลิตกรดน้ำส้มได้สูงในอาหารเหลวที่มีเอทธานอล 2 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรในภาวะให้อาหาร การทดลองทุกขั้นตอนจะเลี้ยงเชื้อ ณ อุณหภูมิ 30 เซลเซียส คัดเลือกเชื้อน้ำส้มสายชูได้ 11 ไอโซเลต นำมาทดลองหาภาวะที่เหมาะสมบางประการในการผลิตน้ำส้มสายชู ได้แก่ปริมาณเอทธานอลเริ่มต้น ปริมาณกรดเริ่มต้นตลอดจนอุณหภูมิสูงต่อการผลิตกรดน้ำส้มและการเจริญของเชื้อ พบว่าเชื้อน้ำส้มสายชู 5 ไอโซเลต ได้แก่ NS 05, NS 64S-1, NS 67S NS 91 และ NS 132S มีประสิทธิภาพผลิตกรดน้ำส้มได้สูงจากเอทธานอลเริ่มต้น 4 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตร โดยใช้สารแขวนลอยเชื้อในน้ำเกลือปลอดเชื้อปริมาณ 1 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรเป็น inoculum เชื้อน้ำส้มสายชูทั้ง 5 ไอโซเลต สามารถเจริญได้ดีในอาหารเหลวที่มีเอทธานอลเริ่มต้นเป็น 2 และ 4 เปอร์เซ็นต์ ทดลองหาประสิทธิภาพในการผลิตการน้ำส้มเมื่อมีปริมาณกรดเริ่มต้นเป็น 0, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 กรัมต่อมิลลิลิตร พบว่ารหัสเชื้อ NS 05, NS 91 และ NS 132S ผลิตกรดน้ำส้มได้สูงหากมีปริมาณกรดเริ่มต้นเป็น 0.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนรหัสเชื้อ NS 64S-1 และ NS 67S ผลิตกรดน้ำส้มได้สูงเมื่อมีปริมาณกรดเริ่มต้นเป็น 1.0 เปอร์เซ็นต์ การเจริญของเชื้อน้ำส้มสายชูในภาวะกรดพบว่ารหัสเชื้อ NS 05, NS 91 และ NS 132S สามารถเจริญได้ในภาวะกรดสูงถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน่าสนใจในแง่การผลิตกรดน้ำส้มระดับโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถทำให้เกิดภาวะปลอดเชื้อได้ จำเป็นต้องมีการเติมกรดน้ำส้มลงไปในวัตถุดิบเพื่อยับยั้งการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดอื่น ทดลองหาปริสิทธิภาพในการผลิตกรดน้ำส้ม ณ อุณหภูมิ 35 และ 40 องศาเซลเซียส พบว่ามีประสิทธิภาพในการผลิตกรดได้ต่ำตลอดจนการเจริญของเชื้อทั้ง 5 ไอโซเลตก็เจริญได้ไม่ดี เมื่อนำเชื้อน้ำส้มสายชูทั้ง 5 ไอโซเลตมาตลอดสอบเอกลักษณ์ของเชื้อทางสัณฐานวิทยา สรีรวิทยาและชีวเคมีพบว่าเป็นเชื้อติดสีแกรมลบ (Gram-negative) รูปร่างเป็นท่อนสั้นไม่มีเอนโดสปอร์ (endospore) ไม่สร้างรงควัตถุสีน้ำตาลที่ละลายน้ำ มีคุณสมบัติออกซิไดส์แลกเตด (lactate) และแอซีเตต (acetate) เป็นน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ เซลล์มีเอนไซม์แคทาเลส (catalase) และรหัสเชื้อ NS 05 สามารถสร้างเมือกบนผิวหน้าอาหารเหลว เชื้อน้ำส้มสายชูทั้ง 5 ไอโซเลตมีความสามารถสร้างกรดจากแหล่งคาร์บอนชนิดต่างๆ ในการเจริญได้แก่ L-Arabinose, D-Glucose, Glycerol, D-Mannitol, D-Mannose, D-Xylose Ethanol และ D-Galactose เว้นรหัสเชื้อ NS 05 ที่ไม่สามารถใช้ D-Galactose ได้จากคุณสมบัติต่างๆ บางประการที่ทำการทดลองจึงน่าจะจัดเชื้อน้ำส้มสายชูที่แยกและคัดเลือกได้ทั้ง 5 ไอโซเลตเป็น Acetobacter aceti โดยอาจจะเป็นคนละสายเชื้อ (strain) |
Other Abstract: | Acetobacter spp. Were isolated from various kinds of vegetables, fruits and flowers in five percent (by volume) ethanol broth. The acetic acid bacteria, then further purified on solid medium containing calcium carbonate by streak-plate technique. Out of 154 cultures isolated from 156 samples, there are 82 cultures isolated in shaking broth and 72 cultures isolated in stationary broth. These isolated cultures, then screened to find the capability to produce acetic acid in the broth containing two percent (by volume) of ethanol in shaking culture. In every step, the control temperature employed was 30 degree Celsius. 11 cultures were selected and were searching for their optimum initial ethanol concentration, initial acidity and high-temperature capability to produce acetic acid and the growth of the cultures. From the experiment, five selected cultures were found. These are NS 05. NS 64S-1, NS 67S, NS 91 and NS 132S. They all showed high efficiency in acetic acid production from four percent initial ethanol(by volume) by employing one percent (by volume) of cell suspension in sterile normal saline as an inoculum. All of the five isolates showed well growth rate in the broth with initial ethanol of two and four percent. When experimenting about the efficiency concerning acetic acid production at the initial acid concentration of 0, 0.5, 1.0 1.5 and 2.0 gram per liter, the isolation number NS 05, NS 91 and NS 132S produced high quantity of acetic acid at initial acidity 0.5 percent and NS 64S-1 and NS 67S produced high acetic acid at initial acidity 1.0 percent. The growth of the acetic acid bacteria in acid condition were found that the Ns 05, NS 91 and NS 132S could sustain the growth in the acid environment as high as 10 percent which is very attractive in term of commercial production in the factory that cannot have the aseptic condition and have to and acetic acid into the raw material to inhibit the contamination from other microorganisms. When operation temperatures were raised up to 35 and 40 degree Celsius, the acetic acid production efficiency was low and the growth of all five isolates were adverse. Finally, the five selected cultures were examined to identify the morphological, physiological and biochemical characteristics and found that all the cells were Gram-negative. Short-rod shape with no endospore, non producing water-soluble brown pigment and were able to oxidize acetate and lactate to carbon-dioxide and water. The cells contain enzyme catalase. The isolation number NS 05 could form film on surface of the broth. In the acid formation test in the carbon sources, all five isolate cultures showed positive results with L-Arabinose, D-Glucoseglycerol. D-Mannitol, D-Mannitol, D-Mannose, D-Xylose, Ethanol and D-Galactose except the isolation number NS 05 could not utilized D-Galactose. From the results of this research and the characteristics found, these five isolated cultures should be classified as an Acetobacter aceti which may be originate from different strain. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2168 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pharm - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuttada(ace).pdf | 4.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.