Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21815
Title: การสร้างสรรค์บทเพลงชุด เส้นสายลายไหมไทย
Other Titles: The creation of sen sai lai mai Thai suite
Authors: อังคณา ใจเหิม
Advisors: บุษกร บิณฑสันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ดุริยางควิทยา -- ไทย
ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย
การทอผ้า -- ไทย
ผ้าไหม -- ไทย
Musicology -- Thailand
Local wisdom -- Thailand
Weaving -- Thailand
Silk -- Thailand
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อประพันธ์บทลำนำและทำนองเพลงชุดเส้นสายลายไหมไทย สร้างองค์ความรู้ในกระบวนการสร้างสรรค์บทเพลง และเผยแพร่ผลงานในรูปแบบการจัดแสดงดนตรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางคศิลป์ไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการทอผ้าไหมไทย 6 ประเภท ใน 4 ภูมิภาค ประกอบด้วยภาคเหนือ ได้แก่ ผ้าจก ผ้าล้วง ภาคกลาง ได้แก่ ผ้ามัดหมี่ ภาคอีสาน ได้แก่ ผ้าขิด ผ้าแพรวา ภาคใต้ ได้แก่ ผ้ายก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สร้างสรรค์งานโดยศึกษาวิธีทอ ลวดลาย ตลอดถึงความเกี่ยวข้องในการทอผ้าไหมแต่ละประเภท นำมาประพันธ์บทเพลงโดยใช้วิธีการประพันธ์แบบอิสระ เป็นการคิดและประดิษฐ์ทำนองขึ้นใหม่ สอดแทรกสำเนียงดนตรีท้องถิ่นของแต่ละภูมิภาค ผลงานการประพันธ์เพลงมีจำนวน 6 เพลง ประกอบด้วย 1. เพลงผ้าจก เป็นเพลงสำเนียงภาคเหนือผสมผสานสำเนียงจีน การดำเนินทำนองมีเทคนิคการบรรเลงลักจังหวะ และการใช้ลูกสะบัด เสมือนการจกไหมเส้นยืนขึ้น-ลง และการตวัดเส้นไหมเสริม สลับกันไปมาจนเกิดเป็นลวดลาย 2. เพลงผ้าล้วง เป็นเพลงสำเนียงภาคเหนือ การดำเนินทำนองมีการใช้ลูกเหลื่อมหรือลูกล้วง บรรเลงคาบเกี่ยวเหลื่อมล้ำกัน สื่อให้เห็นถึงการล้วงสอดเส้นไหมเกิดเป็นลวดลายน้ำไหล 3. เพลงผ้ามัดหมี่ เป็นเพลงสำเนียงภาคกลาง การดำเนินทำนองมีการบรรเลงทางกรอ สื่อถึงการสาวเส้นไหม มีการใช้ลูกเท่า เสมือนการมัดไหมเป็นเปาะๆ การใช้ลูกต่อบรรเลงเชื่อมต่อทำนองให้ได้ใจความที่สมบูรณ์ เสมือนการทอผ้ามัดหมี่ ซึ่งต้องนำลายที่มัดไว้มาทอต่อกันเป็นลวดลายให้สมบูรณ์ 4. เพลงผ้าขิด เป็นเพลงสำเนียงอีสาน การดำเนินทำนองมีการบรรเลงทางเก็บสลับกับการบรรเลงทางกรอ สะท้อนถึงวิถีชีวิตที่มีทั้งโลดโผนและเรียบง่าย สอดแทรกเทคนิคการลักจังหวะ เสมือนการสะกิดเส้นไหมให้เกิดลวดลาย 5. เพลงผ้าแพรวา เป็นเพลงสำเนียงอีสาน การดำเนินทำนองมีการบรรเลงทางพื้น เครื่องดนตรีมีอิสระในการสร้างทางกลอน เสมือนการทอผ้าแพรวาที่มีอิสระในการใช้สีสันที่หลากหลาย สอดแทรกเทคนิคการใช้ลูกสะบัดและเทคนิคการลักจังหวะ คล้ายกับการตวัดและการสะกิดเส้นไหม เป็นการผสมผสานระหว่างจกกับขิด 6. เพลงผ้ายก เป็นเพลงสำเนียงใต้ตอนล่าง การดำเนินทำนองมีการใช้ลูกล้อและลูกขัด เสมือนไหมเส้นยกกับเส้นข่ม สลับล้อขัดกันไปมาจนเกิดลวดลายตลอดผืน งานวิจัยนี้เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ด้านดุริยางคศิลป์ไทยและหัตถกรรมไทย เรียบเรียงการแปรทำนอง การสร้างแนวทำนองประสานเสียง โดยยึดหลักความสัมพันธ์ของเสียง มีการแบ่งหน้าที่การดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีในรูปแบบใหม่ เอกภาพของบทเพลงมีรูปแบบจังหวะและรูปแบบทำนอง ที่สอดคล้องกับวิธีการทอผ้าแต่ละประเภท และเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงสื่อสำเนียงของความเป็นเอกลักษณ์ถิ่น
Other Abstract: This research is a qualitative research. The objectives are (1) to compose the Sen Sai Lai Mai Thai lyrics and melodies, (2) to develop a body of knowledge in song creation, and (3) to publicize the research results in form of musical performance. In this research, sample group is composed of six Thai silk experts in four Thai Regions. There are six types of silk weave, which are fabric Chok and fabric Luang (Northern Thailand), fabric Mad-mee (Central Thailand), fabric Khit and fabric Prae-wa (Northeastern Thailand), and fabric Yok (Southern Thailand). Interviews and questionnaires are employed in data collection. Investigation of the method of each type of silk weave, pattern and interrelation between the method and pattern contributes to song composition with free composition technique which is applied for music innovation infiltrated by its local accent. It is found that there are six types of songs relating to silk weave: (1) fabric Chok song whose accent is mixed between the Northern Thailand and the Chinese ones, whose melody proceeds with skipping rhythm technique, flinging technique like main silk line snatch up and down and minor silk line whip, and silk line knitting with one another and becoming fabric design, (2) fabric Luang song whose accent is Northern, whose melody proceeds with overlapping and dipping technique for musical performance to reflect silk line dip in weaving process which creates water flow design, (3) fabric Mad-mee song whose accent is Central, whose melody proceeds with grinding technique reflecting the method of silk line draw, folding technique like silk line bundle, and uniting technique in musical performance connecting lyrics together like Mad-mee line weave to create a complete fabric design, (4) fabric Khit song whose accent is Northeastern, whose melody proceeds with grinding and picking techniques together reflecting both exciting and simple life-style, and skipping rhythm technique like silk line puncture, (5) fabric Prae-wa song whose accent is Northeastern, whose melody proceeds with simplified technique having free musical instrument play in rhyme like Prae-wa line weave to create a colorful fabric design, and flinging and skipping rhythm technique like silk line whip and puncture, and (6) fabric Yok song whose accent is Lower Southern, whose melody proceeds with rolling and skipping rhythm technique like silk line lift and sink staggering to create a complete fabric design. This research is a combination of Thai musical performance and Thai manufacture, which is composed of melody translation, melody coordination with sound relation principle, innovated pattern musical instrument coordination for melody procession, and unity of song created by harmony between the rhythm and melody patterns and the silk weave techniques and musical instruments used to convey their local identities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21815
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.497
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.497
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
angkana_ja.pdf8.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.