Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2290
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอ้อยทิพย์ กรมกูล-
dc.contributor.authorทัศนีย์ ศรีไพพรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา-
dc.date.accessioned2006-08-30T07:12:09Z-
dc.date.available2006-08-30T07:12:09Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2290-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตต่างกลุ่มคณะวิชา ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชาการอ่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวอย่างประชากรเป็นนิสิตชั้นปีที่ 2 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 465 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างจากนิสิต 7 คณะ คิดเป็นร้อยละ 30 นิสิตเหล่านี้กำลังศึกษารายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชาการเขียน (EAP II) ของปีการศึกษา 2528 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผลการสอบสัมฤทธิผลในการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 (EF II) และรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชาการอ่าน (EAP I) แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ 3 ชุด และแบบสอบถามที่ประกอบด้วยคำถาม 3 ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้กรอกแบบสอบถาม ข้อมูลเพื่อการประเมินทัศนคติและแรงจูงใจ ผลที่ได้จากการวิจัยได้นำมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ปรากฏปลดังนี้ 1. นิสิตกลุ่มคณะมนุษยศาสตร์ กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์ และกลุ่มคณะสังคมศาสตร์ มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับความสามารถในการอ่านระดับสื่อสารและวิจารณ์ แต่เมื่อเปรียบเทียบกันทั้ง 3 กลุ่มคณะแล้ว กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์ มีความสามารถน้อยในการอ่านระดับถ่ายโอน นอกจากนี้กลุ่มคณะมนุษยศาสตร์ยังมีความสามารถสูงในการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชาการอ้าน (EAP I) 2. นิสิตคณะนิเทศศาสตร์มีความสามารถในการอ่านสูงทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับถ่ายโอน ระดับสื่อสาร และระดับวิจารณ์ 3.สัมฤทธิผลในการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชาการอ่าน (EAP I) มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษระดับนสื่อสารสูงที่สุด และมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษระดับวิจารณ์ต่ำที่สุด 4. อายุและการไปต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษสื่อความหมาย มีผลในทางลบต่อสัมฤทธิผลในการเรียนภาษาอังกฤษดสำหรับสาขาวิชาการอ่าน 5. สัมฤทธิผลของรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน และรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชาการอ่าน มีความสัมพันธ์กันปานกลาง 6. นิสิตเพศชายและเพศหญิงมีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษระดับถ่ายโอน ระดับสื่อสาร และระดับวิจารณ์ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of thsi study was to compare the levels of reading achievement among students of different discipline in Chulalongkorn University. The subjects used in the study were 465 second year students or 30% from seven faculties of Chulalongkorn University. They were studying English for Academic Purposes (EAP II) in the second semester of the academic year 1985. The instruments used were Foundation English II (FE II) and English for Academic Purposes I (EAP I) achievement scores and a reading test consisting of 3 reading texts and a questionnaire on students' personal background, motivation and attitudes. The data were then analyzed by means of descriptive statistics, multiple regression, Pearson correlations and one-way ANOVA. The findings can be summarized as follows: 1. Among students from Humanity, Science and Social Studies Disciplines there is a positive correlation in communication and critical reading skills. However, students from Science Discipline have low transfer reading skill when compared to those from Humanity and Social Studies Discipline and the students of Humanity Discipline have a higher performance on EAP. 2. Students from the Facukty of Communication Arts have higher competence in all three reading skills: transfer, communication and critical. 3. There is a remarkable correkation between the EAP I Achievement scores and communication reading skill but the correlation between EAP I Achievement score and critical reading skill is rather low. 4. Age and experience abroad negativeky correlate with EAP achievement scores. 5. The FE II and EAP I achievement tests correlate each other moderately. 6. There is an insignificantly low correlation between male and female students in all three reading skills.en
dc.description.budget7,000 บาทen
dc.description.sponsorshipทุนสถาบันภาษา ปี 2538en
dc.format.extent14970521 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาอังกฤษ--การอ่านen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--นิสิตen
dc.titleการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตต่างกลุ่มคณะวิชาที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับสาขาวิชาการอ่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.typeTechnical Reporten
Appears in Collections:Lang - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
oil.pdf7.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.