Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27176
Title: | การชันสูตรพลิกศพกับการดำเนินคดีอาญา |
Other Titles: | Post-mortem examination and criminal procedure |
Authors: | วิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ |
Advisors: | วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การชันสูตรพลิกศพเป็นเรื่องสำคัญยิ่งในการดำเนินคดีอาญาที่มีการตายเกิดขึ้น เพราะการชันสูตรพลิกศพเท่านั้นจึงจะสามารถแสดงได้ว่า ผู้ตายเป็นใคร ตายมานานแล้วเท่าใด สาเหตุและพฤติการณ์ที่ตายคืออะไร วิทยานิพนธ์นี้ได้ศึกษาเน้นในเรื่อง การชันสูตรพลิกศพกับการดำเนินคดีอาญาของไทย โดยเน้นถึงในด้านความสัมพันธ์ของการชันสูตรพลิกศพกับแพทย์เป็นส่วนใหญ่ โดยเริ่มศึกษาในเรื่องของประวัติการชันสูตรพลิกศพซึ่งมีมานานแล้ว แต่ได้ปรากฎเป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องการชันสูตรพลิกศพโดยตรงฉบับแรกคือ “พระราชบัญญัติชันสูตรพลิกศพพุทธศักราช 2457” ซึ่งต่อมาเมื่อได้มีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วบทบัญญัติในเรื่องการชันสูตรพลิกศพก็คงมีอยู่โดยบัญญัติในมาตรา 148 – 156 แม้ว่าจะมีการแก้ไขหลายครั้ง แต่ก็มิได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมากนัก ส่วนในเรื่องการดำเนินคดีอาญากับการชันสูตรพลิกศพนั้น เห็นได้ชัดว่าประเทศไทยใช้ระบบตำรวจ กล่าวคืออำนาจสิทธิขาดในการจัดให้มีการชันสูตรพลิกศพขึ้นอยู่กับพนักงานสอบสวนเท่านั้น และวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบในเรื่องการชันสูตรพลิกศพในมาตรา 129 ซึ่งมีการชันสูตรพลิกศพก่อนฟ้องนั้น ไม่มีผลบังคับมากนัก เนื่องจากศาลมิได้ตีความมาตรานี้อย่างเคร่งครัด จึงทำให้เห็นได้ว่าเป็นข้อบกพร่องและกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในสังคมได้ เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานสอบสวนใช้ดุลพินิจได้กว้างเกินไปและขาดการควบคุมที่ดีพอ นอกจากนี้การที่มาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจัดฐานะของแพทย์ผู้ทำการชันสูตรพลิกศพเป็นเพียง “ผู้ช่วยเหลือพนักงานสอบสวน” ก็ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพในการตรวจสอบความจริงโดยการชันสูตรพลิกศพด้อยลงไปอีกมาก ซึ่งในเรื่องนี้สามารถจะแก้ไขได้โดยให้แพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพมีฐานะเป็นเจ้าพนักงาน, ใช้แพทย์ปริญญา, ใช้แพทย์ในท้องที่ที่ศพนั้นอยู่ และให้กระทำการชันสูตรพลิกศพพร้อมกับพนักงานสอบสวนเสมอ, และจากการศึกษาพบอีกว่าแพทย์เอกชนไม่อยู่ในฐานะที่จะร่วมชันสูตรพลิกศพกับพนักงานสอบสวนได้ ทำให้เห็นว่าระเบียบของกรมตำรวจว่าด้วยอำนาจหน้าที่ในการชันสูตรพลิกศพ ในปี พ.ศ. 2527 และ 2528 นั้นขัดกับกฎหมายหลักในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา มาตรา 150 นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าแพทย์ผู้ทำการชันสูตรพลิกสูตรพลิกศพตามมาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น อยู่ในฐานะ “ประจักษ์พยาน” ซึ่งต่างจากแพทย์ในมาตรา 151 ซึ่งเป็น “พยานผู้ชำนาญการพิเศษ” |
Other Abstract: | The post-mortem examination is the important thing to do after a dead body was found because it can prove to who the deceased was, the place, time, causes and circumstances of such death. The post-mortem examination and criminal procedure, especially the duty of the physician in post-mortem examination, was the objective of this thesis. The study was included the history of post-mortem examination either before and during Ratanakosin period. The Post-Mortem Inquest Act, B.E. 2457 was the first written act pertaining the post-mortem examination and “The Criminal Procedure Code, B.E. 2477” that was amended for several times came into force since B.E. 2478 but there was not so much difference from the old one. The post-mortem examinating system of Thailand, enacted in the Criminal Procedure Codes, was the “Police System” because the authorities of investigations of the dead body belonged to the police. The principle in section 129 as following “. . . if the post-mortem examination is not yet complete, no charge may be entered in Court against the allerged offender” could not be enforced because the Court didn’t strictly considered. So, the police had the vast and uncontrolled authorities. The physician, due to section 150, was only the police helper in the investigations of the dead body. The effectiveness of the post-mortem examination should be included using the official, graduated and local physician. The police and the physician had to do the examination at the same time. The private physician had no duty in post-mortem examination. The order number 317 of the Police Department in B.E. 2527 and 2528 couldn’t be enforced because of its contradiction to the section 150 of Criminal Procedure Code. And the physician in section 150 of the Code was only an eyewitness, not an expert like the physician in section 151. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27176 |
ISBN: | 9745760951 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Visutr_fo_front.pdf | 2.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visutr_fo_ch1.pdf | 2.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visutr_fo_ch2.pdf | 10.83 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visutr_fo_ch3.pdf | 15.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visutr_fo_ch4.pdf | 8.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visutr_fo_ch5.pdf | 20.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visutr_fo_ch6.pdf | 2.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Visutr_fo_back.pdf | 4.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.