Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27287
Title: วิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงกราวในทางครูนิภา อภัยวงศ์
Other Titles: A musical analysis of Krawnai for Jakhay’s solo by Kru Nipa Apaiwong
Authors: สกลพัฒน์ โคตรตันติ
Advisors: ขำคม พรประสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kumkom.P@Chula.ac.th
Subjects: นิภา อภัยวงศ์, 2451-2541
การวิเคราะห์ทางดนตรี
เพลงกราวใน
จะเข้
เพลงไทยเดิม
Nipa Apaiwong, 1908-1998
Musical analysis
Songs, Thai
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาบริบทของเดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน ทางครูนิภา อภัยวงศ์ ศึกษาประวัติชีวิตของครูนิภา อภัยวงศ์ และวิเคราะห์สังคีตลักษณ์และกลวิธีพิเศษของเดี่ยวจะเข้เพลงกราวในทางครูนิภา อภัยวงศ์ ผลการวิจัยพบว่า เพลงเดี่ยวกราวในถือเป็นเพลงเดี่ยวสูงสุด ที่นักดนตรีผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากครูนั้น ถือว่าเป็นผู้ที่มีวุฒิภาวะ วัยวุฒิและคุณวุฒิเหมาะสม และได้รับความไว้วางใจจากครู เดี่ยวจะเข้เพลงกราวในมีความพิเศษในลักษณะของการดำเนินทำนอง มีการใช้กลวิธีพิเศษต่างๆ ของจะเข้ครบทั้งหมด ครูนิภา อภัยวงศ์เป็นนักร้องนักดนตรีที่เกิดในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้รับการเลี้ยงดูจากพระสุจริต-สุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) พระสนมเอกในรัชกาลที่ 6 และมีโอกาสเข้ามาอยู่ในวัง และได้เรียนขับร้องและเครื่องสายไทยจากบรมครูทางดนตรีไทยในวังหลายท่าน เคยรับราชการเป็นครูที่กรมศิลปากร และเคยถวายการสอนแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่โรงเรียนจิตรลดาและยังสอนดนตรีไทยให้กับมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกด้วย จากการวิเคราะห์เดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน ทางครูนิภา อภัยวงศ์ พบว่าเดี่ยวจะเข้เพลงกราวใน มีการลดเสียงมาจากทำนองปกติ 1 เสียง และใช้โทน รำมะนาตีหน้าทับกราวนอกกำกับจังหวะ เดี่ยวจะเข้เพลงกราวในมีกลุ่มลูกโยนเสียงต่างๆทั้งหมด 6 กลุ่มลูกโยน พบลักษณะเฉพาะของเดี่ยวจะเข้เพลง-กราวใน ทางครูนิภา อภัยวงศ์ 6 ประการ ประการแรก พบการดำเนินทำนองโดยใช้การสะบัดสามเสียงเป็นชุด ประการที่สอง พบการดำเนินทำนองโดยการขยี้ทีละ 2 ชุดๆ ละ 6-7 พยางค์ ประการที่สาม พบการดำเนินทำนองโดยใช้การทิงนอยเป็นทำนองเชื่อมระหว่างทำนองที่มีความแตกต่างกันสองทำนอง ประการที่สี่ พบการดำเนินทำนองโดยการครวญแบบทอนสำนวนสามขั้นตอน ประการที่ห้า พบการดำเนินทำนองโดยการสะบัดเสียงเดียวท้ายห้องเพลงเพื่อกระชับจังหวะ และประการที่หก พบการดำเนินทำนองโดยใช้การสะบัดสองเสียงกลางห้องเพลง
Other Abstract: To study the context of Kru Nipa Apaiwong’s style of Krawnai for Jakhay solo and her life as well as to analyze the forms and special playing techniques of Krawnai for Jakhay solo as played by Kru Nipa Apaiwong. The study found Krawnai solo to be the ultimate solo music that a Thai musician is only taught by a master when he or she possesses the right level of maturity, age and skills. Teaching of a solo piece reflects the special trust that a musical master has in the student. Krawnai for Jakhay solo is unique for the execution of its melody, which requires all of the special techniques devised for Jakhay playing. Kru Nipa Apaiwong, a singer and musician of classical Thai music, was born in the reign of King Rama VI and raised by Phra Sujaritsuda (Prueng Sujaritkul), a favourite concubine of King Rama VI. Kru Nipa had the good opportunity to grow up in the inner court and was able to learn the art of singing and playing classical Thai string instruments from many great Thai classical music masters of the royal court at the time. She worked as a teacher for the Fine Arts Department and used to teach HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn when she was a student at Jitralada School. Kru Nipa also taught Thai music at many universities. An analysis of Kru Nipa Apaiwong’s style of Krawnai for Jakhay solo reveals that the melody is generally reduced by one level and the rhythm is dictated by the Krawnok rhythm of Tone and Rummana instruments. There are a total of six clusters of look-yon sound in Krawnai for Jakhay solo. Kru Nipa Apaiwong’s style of Krawnai for Jakhay solo was found to have six unique characteristics. First, the melody is played in a series of three flipping sounds. Second, the melody is reiterated in two series of 6-7 sounds each. Third, Ting-noi melody is used to connect two different melodies. Fourth, the melody is stretched out in three receding steps. Fifth, a single flipping sound is executed toward the end of a measure to quicken the melody. Sixth, the melody is played by executing two flipping sounds in the middle of a measure.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27287
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1949
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1949
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sakolput_ko.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.