Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30088
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ขำคม พรประสิทธิ์ | - |
dc.contributor.advisor | เจริญชัย ชนไพโรจน์ | - |
dc.contributor.author | รัฐธนินท์ รวีฉัตรพงศ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2013-03-20T06:39:32Z | - |
dc.date.available | 2013-03-20T06:39:32Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30088 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | แคนคือเครื่องดนตรีที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน และยังเป็นสัญลักษณ์ของชาวไทยภาคอีสาน โดยมีความผูกพันธ์กับวัฒนธรรมและประเพณีของชาวอีสาน ซึ่งนิยมเล่น ในงานมงคล เช่น งานบุญ และงานเลี้ยงในโอกาสต่างๆ แคนสามารถถ่ายทอดอารมณ์ให้ ผู้ที่ได้รับฟังเกิดความรู้สึกตามทำนองที่บรรเลง ทั้งอารมณ์โศกเศร้าและสนุกสนาน ซึ่งครูบัวหอง ผาจวงนี้เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในภาคอีสานจนถึงปัจจุบัน โดยทางเดี่ยวแคนทั้ง 13 ลายนี้เป็นผลงานที่งดงามทางคีตศิลป์ ซึ่งครูบัวหอง ผาจวงได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษคือคุณทวดคง ผาจวง การศึกษาและการวิเคราะห์ในงานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดี่ยวแคนของครูบัวหอง ผาจวง วิเคราะห์สังคีตลักษณ์ เอกลักษณ์และรวม ไปถึงกลวิธีพิเศษต่างๆ ที่ปรากฏในการบรรเลงแคนทั้ง 13 ลาย ได้แก่ ลายสุดสะแนน ลายใหญ่ ลายน้อย ลายติดสูดใหญ่ ลายติดสูดน้อย ลายโป้ซ้าย ลายลมพัดพร้าว ลายผู้เฒ่าเงยคอ ลายสาวหยิกแม่ ลายออนซอนอีสาน ลายภู่ไท ลายเต้ยหัวโนนตาล ลายคอนสวรรค์ ซึ่งดำเนินการวิจัยโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ การวิจัยเอกสาร และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งผลการวิจัยพบว่าการเป่าแคนมี 6 โอกาส คือ การเป่าแคนเพื่อความบันเทิงแก่ตนเอง การเป่าแคนเพื่อความบันเทิงแก่เพื่อนฝูง การเป่าแคนในการไปเกี้ยวสาว การเดี่ยวแคนสำหรับขบวนแห่ การเป่าแคนสำหรับการประกอบลำ และการเป่าแคนสำหรับพิธีกรรมรักษาคนไข้ ในเรื่องสังคีตลักษณ์พบว่าจังหวะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ไร้อัตราจังหวะบังคับ และมีอัตราจังหวะบังคับ มีเอกลักษณ์ในการขึ้นเพลง การดำเนินทำนอง และการลงจบ ด้วยการใช้เม็ดพราย 7 แบบ ได้แก่ การสะบัด การปริบ การพรม การจ้น การฮ่อน การใช้เสียงคู่แปด และการตัดลิ้น โดยผู้บรรเลงจะต้องมีความชำนาญในการคิดทาง การใช้ลม และการใช้นิ้ว ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้ต้องมีความสัมพันธ์กัน | en |
dc.description.abstractalternative | Khaen is a musical instrument with a long history as a symbol of Thai Northeast Music. It is closely related with Thai traditional culture, Commonly played in festival, folk custom and celebration, it can express feeling of sadness and happiness when played. Master Buahong Phajuang is one of most famous well-known Khaen master in Thailand’s for Khaen Solo deseendant and inheritor of his Great Grand Father, Kong Phajoeng. His Kaen solo songs are recognized as masterpiece arts for many years up to present. The aim of this study is to analyse different contexts of Master Buahong Phajuang’s Khaen Solo Style in terms of musical form, musical identity and special technique used in his popular 13 songs including Lai Sudsanan, Lai Yai, Lai Noi, Lai Tidsoodyai, Lai Tidsudnoi, Lai Posai, Lai Lompadpraw, Lai Phuthao Ngoei Kore, Lai Sawyigmae, Lai Onsonisan, Lai Phutai, Lai Toei Hua Non Tan and Lai Konsawan. Qualitative research was performed through interview, literature reviews and 2-month one-on-one training with Master Buahong himself. It was found that Khaen Solo can be played in several Occasions such as Self entertrainment, Group entertrainment, Flirting purpose, Parade, Mohlam singing and traditional ceremony for remedy belief. There are mainly two musical forms (meter and non-meter). Unique identity is found in all 13 songs in part of introduction, main body and cadence with embellishment and melody. Player must have distinguished skills in breathing, use of fingers and improvising. These three components must be perfectly coordinated. | en |
dc.format.extent | 5463598 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1134 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | หีบเพลงปาก -- ไทย | en |
dc.subject | แคน | en |
dc.subject | เพลงแคน | en |
dc.subject | เครื่องดนตรี -- ไทย | en |
dc.subject | เครื่องลมไม้ | en |
dc.subject | ดนตรีเครื่องลมไม้ -- ไทย | en |
dc.subject | เดี่ยวเครื่องดนตรี -- ไทย | en |
dc.subject | ผู้เล่นเครื่องลมไม้ -- ไทย | en |
dc.subject | บัวหอง ผาจวง -- เพลงและดนตรี | en |
dc.title | เดี่ยวแคน ทางครูบัวหอง ผาจวง | en |
dc.title.alternative | Khaen solo : Buahong Phajuang’s style | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ดุริยางค์ไทย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | pkumkom@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.1134 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ratthanin_ra.pdf | 5.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.