Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31293
Title: ซิมโฟนิกโพเอ็ม ลำนำแห่งช้างสยาม
Other Titles: Symphonic poem The Elephants of Siam
Authors: สำราญ เชื้อพันธ์
Email: Weerachat.P@Chula.ac.th
Advisors: วีรชาติ เปรมานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: การแต่งเพลง
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทประพันธ์เพลง “ซิมโฟนิกโพเอ็ม ลำนำแห่งช้างสยาม” ประพันธ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงใหม่ ในรูปแบบดนตรีร่วมสมัยไทย สะท้อนถึงชีวิตช้างไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยผู้ประพันธ์มีความตั้งใจที่จะผสมผสานในรูปแบบศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เพื่อให้เกิดศิลปกรรมใหม่ที่แสดงออกซึ่ง ศิลปะบนพื้นฐานของการมีรากเหง้ามาจากสังคมและวัฒนธรรมตลอดจนวิถีชีวิตของชาวไทย บทประพันธ์นี้เป็นบทประพันธ์เพลงสำหรับวงออร์เคสตราเต็มรูปแบบ ผสมผสานเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเคาะตี มีการใช้เทคนิคแบบคอลลาจ โดยการบรรเลงขิมและการขับร้องบทลำนำ “ช้างประสานงา” เข้ากับบทประพันธ์นี้ เพื่อสื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยและช้างไทย ที่พิเศษยิ่งกว่านั้นคือการใช้ ”แสนงเกล” ซึ่งเป็นแตรเขาสัตว์ชนิดหนึ่งที่ใช้ในพิธีกรรมคล้องช้าง และการเผากำยานไทยแสดงออกถึงความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับการคล้องช้าง บทประพันธ์นี้มีทั้งหมด 4 ท่อน เป็นบทประพันธ์เพลงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานดนตรีเอโทนาล มีความยาว 35 นาที องค์ประกอบสำคัญในบทประพันธ์นี้ได้แก่ การสะท้อนถึงพุทธปรัชญา สมาธิ และ ความเชื่อเรื่องการเกิดดับซึ่งอนัตตา ใช้เสียงประสานแบบดนตรีไทย โดยใช้เสียงสะท้อน การสร้างจังหวะเหลื่อม ประโยคเหลื่อม แนวเสียงซ้ำยืนพื้น โน้ตเสียงค้าง การขยายโมดเพนตาโทนิคด้วยโน้ตครึ่งเสียง การใช้วัตถุดิบดนตรีร่วมสมัยในบทประพันธ์นี้ ได้แก่การสร้างแนวประสานคอร์ดเรียงแบบคู่ 4, 5 การใช้คอร์ดผสม การประสานเสียงแบบกระจกสะท้อน ฮาร์โมนิคซาวด์ จุลเสียง คอร์ดเรียงแบบคู่ 2 ก้อนเสียง และความเงียบ แนวคิดแบบโกลเดินเชคเชิน คือแนวคิดหลักที่สนับสนุนการสร้างสรรค์ด้านโครงสร้างของแต่ละท่อน สำหรับลักษณะเฉพาะ บทประพันธ์เพลงนี้เป็นการผสมผสานระหว่าง คัลเลอริสติคมิวสิค และแนวคิดดนตรีแบบมินิมอลลิสติค
Other Abstract: The purpose of this composition “SYMPHONIC POEM THE ELEPHANTS OF SIAM” is to create a new piece of program music, Thai contemporary music styles, which presents lives of the Siam elephants from the past to present. The composer intended to integrate new art of contemporary music with the root of Thai culture - social life to indicate musical art. The composition was written with the use of collage technique by playing Khim (Thai traditional music instrument) and melodious Thai Poem (Ch’ang pa san ng’a) to present the relationship between Thai people and elephants, and then is scored for full orchestra mixed with Thai percussions. Furthermore, the utilization of S’nanggel (a horn in the ritual of snaring elephants) and burning Thai gum Benjamin presents the ritual of snaring elephants at night. The composition consists of 4 movements based on atonality system with the duration of 35 minutes. An important objective is to reflect Philosophy of Buddhism: meditation and belief about lost substances. Thai harmony methods - echo sound, harmonic language, ostinato, drone, stagger rhythm, phasing phrase - were used as components of the composition and played a crucial role of showing Thai symbols. Chromatics notes were used in order to extend pentatonic mode. The contemporary music materials are composed of the 4th and 5th intervals, the quartal chord, quintal chord, microtone, tone cluster, compound, mirror harmony, sound mass and silence The golden sections are considered as a core of each movements, which provides the support of form creation, whereas coloristic and minimalistic methods are the musical ideas of the work.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประพันธ์เพลง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31293
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.610
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.610
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samran_Ch.pdf22.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.