Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31440
Title: | ระเบียบวิธีการบรรเลงพิณเปี๊ยะ 2 สายของครูรักเกียรติ ปัญญายศ |
Other Titles: | Performance methods of Pin Piah Song Sai by Kru Rakkiet Panyayout |
Authors: | ธีรพงษ์ ฉลาด |
Advisors: | ขำคม พรประสิทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kumkom.P@Chula.ac.th |
Subjects: | รักเกียรติ ปัญญายศ พิณเปี๊ยะ การแสดงดนตรี |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระเบียบวิธีการบรรเลงพิณเปี๊ยะ 2 สาย ของ ครูรักเกียรติ ปัญญายศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ครูและช่างสร้างพิณเปี๊ยะ ในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2550 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2551 ผลการศึกษาพบว่าพิณเปี๊ยะ น่าจะมีพัฒนาการมาจากเครื่องดนตรีตระกูลวีณา และพิณน้ำเต้า ของอินเดีย ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศต่างๆ ในแถบเอเชีย โดยสันนิษฐานจากหลักฐานที่พบทางประวัติศาสตร์ เช่นประติมากรรม ภาพสลักนูนต่ำ ในศาสนสถานต่างๆ พิณเปี๊ยะเป็นเครื่องดนตรีโบราณล้านนา โดยมีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ล้านนา จากหลักฐานจารึกทางประวัติ ศาสตร์ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ จารึกใบลาน วรรณกรรม และจิตรกรรม ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 และได้พัฒนารูปแบบจากพิณน้ำเต้าสายเดียว มาเป็นพิณเปี๊ยะ 2 สาย จนถึง 7 สาย จากการวิเคราะห์ระเบียบวิธีการบรรเลงพิณเปี๊ยะ 2 สายของครูรักเกียรต ปัญญายศ พบว่าครูให้ความสำคัญเริ่มจากการจับพิณเปี๊ยะ ท่าในการบรรเลงพิณเปี๊ยะ การเทียบเสียงโดยให้ความสำคัญกับสัดส่วนและศักยภาพของเครื่องดนตรี ไม้ดีดตัดให้มีลักษณะตรงและเจาะเป็นรูสำหรับร้อยเชือกเพื่อผูกติดกับบริเวณตรงกลางของนิ้วนาง ไม่ใช้เพลงที่มีโน้ตติดกันเป็นทางเก็บมากๆ เพราะว่าจะทำให้ไม่มีช่วงที่ทำให้เกิดเสียงตงวาวต่างๆได ครูใช้ระเบียบวิธีการบรรเลงทั่วไปมาเป็นหลัก คือ (1) การป๊อก (2) การปาน (3) การป๊อกและปาน (4)การไหล(5) การจก (6) การอุ่มไข (7) การเต็ก และ(8) การรูดสาย ส่วนระเบียบวิธีการบรรเลงที่เป็นลักษณะเฉพาะของครูที่พบในเพลงสาวไหมและเพลงเปี๊ยะนั้น พบว่าครูเน้นการอุ่มไขเพื่อให้เกิดเสียง “ตงวาว” การป๊อกปานและอุ่มไข ที่มีความสัมพันธ์กัน ใช้กลวิธีการเปิดปิดกะลาที่แนบอยู่บริเวณเนินอก บรรเลงโดยใช้จังหวะสามัญที่เกิดจากตัวเราเป็นสำคัญ ถ่ายทอดเรื่องราวของบทเพลงด้วยอารมณ์ แสดงความเป็นตัวตนและความรู้สึกในการบรรเลงตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา |
Other Abstract: | The objective of this research was to study the performance methods of Pin Piah Song Sai by Kru Rakkiet Panyayot. The qualitative research methodology was applied for gathering data, as well as, interviewing Kru (teacher) and Pin Piah producers were applied during November 2007 to November 2008. The research result found that Pin Piah was developed from the musical instrument in Veena Family and from Pin Namtao of India which influenced many music cultures in Asia. The assumption was from historical evidences such as sculptures, and low relief at religious places. Pin Piah was an ancient Lanna musical instrument which related to Lanna history. According to the historically inscribed evidence, Chiangmai local legend, inscribed palm leaf, literature, and painting, there was no clear evidence indicating century time of origination, It was assumed that Pin Piah was likely occured during Buddhist Era between the 21st – 22nd and it was developed from Pin Namtao Sai Diew to Pin Piah Song Sai and to Pin Piah Jet Sai. According to the analysis of the performance methods of Pin Piah Song Sai by Kru Rakkiet Panyayot, Kru has focused on Pin Piah holding, Pin Piah playing posture, sound comparing by focusing on proportion and potential of the musical instrument. The pick was cut in straight shape and making a hold for threading the rope and tying such rope with the ring finger. Kru did not use the song having contiguous notes because there was no room for creating Tong Wow Sound. Kru used general performance methods as a principle method which included (1) Pok, (2) Pan, (3) Pok and Pan, (4) Lai, (5) Jok, (6) Uomkai, (7) Tek, and (8) Rood Sai. As for the specific performance methods which were found in Sao Mai Song and Piah Song, Kru focused on Uomkai method in order to create “Tong Wow Sound”. The relation of Pok Pan and Uomkai methods was performed by opening and closing coconut shell attached on the chest and by using ordinary rhythm occurring by player. The story of the song was disseminated with emotion indicating the identity and performance feeling according to the teaching principle of Buddhism. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31440 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1138 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1138 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Teerapong_ch.pdf | 3.82 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.