Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33137
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มาลินี อาชายุทธการ | - |
dc.contributor.author | จิณห์จุฑา สุวรรณ์คัมภีระ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) | - |
dc.date.accessioned | 2013-07-16T07:22:35Z | - |
dc.date.available | 2013-07-16T07:22:35Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33137 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ รำดีดไห : การวิเคราะห์นาฏยศิลป์ไทยพื้นบ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา พัฒนาการ ของการรำดีดไห วิเคราะห์นาฏยลักษณ์ของการรำดีดไห โดยดำเนินการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ เอกสาร ทำการสัมภาษณ์ และศึกษาฝึกปฏิบัติท่ารำด้วยตัวเองจากการศึกษาพบว่าวัฒนธรรมด้านวงดนตรีของอีสานเหนือที่ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศลาว พบว่ามีการผสมผสานกันระหว่างเครื่องดนตรีที่เกิดจากภูมิปัญญาและดนตรีที่นิยมเล่นในท้องถิ่นดังมีปรากฏในปัจจุบันคือ วงโปงลาง การรำดีดไหเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2528 มีการเปลี่ยนแปลงนักดีดไหในวงโปงลางจากผู้ชายมาเป็นผู้หญิง โดยนางนิยา เชิดชู (รังเสนา) ขณะนั้นเป็นนักศึกษาชั้นสูงปีที่ 2วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์คิดการรำดีดไหขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ชม เนื่องจาก มีการแสดงของสองสถาบัน คือ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด และวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์แสดงเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมอีสาน (จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) การใช้ผู้หญิงดีดไหในครั้งนั้น ทำให้มีผลงานโดดเด่นจนได้รับความนิยมแพร่หลาย ต่อมาพัฒนาการของเครื่องดนตรีคือ พิณโปร่งและพิณเบสถูกนำมาใช้ในการบรรเลงได้เป็นอย่างดี ความสำคัญในการใช้เสียงของไหจึงหมดลง การออกท่าทางในการรำดีดไหก็มิได้ถูกจำกัดในเรื่องของเสียง นางไหร่ายรำออกลีลาได้ทุกช่วงตลอดการแสดง ยิ่งเป็นที่น่าสนใจมากขึ้นกลายเป็นตัวชูโรงของวงโปงลางเรื่อยมา นาฏยลักษณ์ของการรำดีดไหคือการรำที่ไม่ถูกวางกฎเกณฑ์ด้านองค์ประกอบการแสดง แต่ยังคงไว้ซึ่งโครงสร้างการแสดงเป็นหลัก ผู้แสดงจะต้องมุ่งเน้นการแสดงลีลาที่มีการใช้สะโพกโดยมีพื้นฐานการแสดงนาฏยศิลป์ไทยและนาฏยศิลป์ไทยพื้นบ้านอีสาน มีความเข้าใจจังหวะ และโครงสร้างของเพลง ตลอดจนสามารถคิดท่าทางการแสดงขึ้นมาโดยฉับพลัน( Improvisation ) ให้สอดคล้องกลมกลืนไปกับองค์ประกอบอื่น สร้างความแปลกใหม่ และโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว การใช้มือมีการจีบ สลับกับตั้งวง การกระดิกหรือพรมนิ้ว การไขว้มือดีด และยกไหในลักษณะต่างๆ การใช้ขาและเท้าปรากฏการทรุดเข่า การย่ำเท้า การย่อยืดเตะเท้าที่มีความสัมพันธ์กับสะโพกและศีรษะ การใช้ตัวโดยลงน้ำหนักไปที่ช่วงขาเพื่อความมั่นคงในการแอ่นหลัง การเอียง และการบิดลำตัว โอกาสในการใช้ท่ารำจะใช้ระหว่างการเปลี่ยนจังหวะหรือคลายความเมื่อยหล้าหรือการเคลื่อนที่และการใช้พื้นที่เวทีเช่นการเดินขึ้นลง การเดินวนรอบไห การรำเข้ากับนายเกราะ หมอแคนที่มาเกี้ยว รำประกอบวงโปงลางที่เป็นวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน ส่วนเครื่องแต่งกายใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ไหนิยมนำมาตกแต่งด้วยผ้าที่ประดิษฐ์ให้คล้ายกับดอกไม้ หรือพ่นสีให้มีลวดลาย โครงสร้างของการรำดีดไหกลายเป็นนาฏยลักษณ์ที่ปรากฏให้นักนาฏยประดิษฐ์นำไปสร้างสรรค์ การแสดงรำดีดไหในรูปแบบของนาฏยศิลป์ไทยพื้นบ้านอีสาน และนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยที่หลากหลายในปัจจุบัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of the research is to study the background, the development and to analyze the essence of Ram Deed Hai. The methods used include studying from books and documents, interviewing and self-dance practicing. It was found that the musical band culture in the North Isan influenced by Laos is the combination between the musical instruments made by folk wisdom and the popular traditional music as nowadays we call Pong Lang band. Ram Deed Hai first appeared in 1985. Afterwards, it has been changed from using a male jar player to a female jar player. Niya (Cherdchu) Rangsena, a second year high level student of Kalasin College of Dramatic Arts at that time, invented the performance of Ram Deed Hai in order to attract the audience. Two institutes that sent the performance in the event promoting Isan culture (held by the Tourism Authority of Thailand) were Roi-Et College of Dramatic Arts and Kalasin College of Dramatic Arts. As all performers were females, this outstanding piece was then widely appreciated. Later, the musical instruments have been developed to include the acoustic lute and the bass lute which produced the fine melody. The role of the jar’s sound then was reduced so the jar players didn’t need to stick their posture to the melody production. This made Nang Hai (female jar player) can move freely in many postures and made the show more interesting. Nang Hai became the leading role of the band from then on. The essence of Ram Deed Hai is the dance with non-regulation of dramatic elements but maintaining the main dramatic structure. The performers have to focus on the hip movement based on Thai classical dance and Thai Isan folk dance. They also have to understand the rhythm and the musical structure as well as invent the improvisational movement according to other elements. The performers should produce the creativity and the identity in their postures such as Jeeb alternating with Tangwong, beckoning or sprinkling fingers, crossing hands playing jars and lifting jars in many postures. For legs and feet movement, it includes lowering the knees, dragging the feet, lowering and stretching the legs while kicking the feet in accordance with the hip and head movement, releasing the weight to the legs to stably support the postures of leaning back, slanting and twisting the body. The performers can change their posture and reduce pains and aches during the change of rhythm by moving thoroughly the stage such as walking up and down, walking around the jars, dancing with the musicians (Nai Kro and Mo Kan) who are flirting with them, and dancing accompanied by Pong Lang, Isan folk band. For the costume, they use traditional materials. The jars are mostly decorated with the fabrics similarly to the flowers or painted into many coloring designs. The structure of Ram Deed Hai became the essence for the choreographer to further create the performance of Ram Deed Hai in Thai Isan folk dance and various Thai contemporary dance styles in the present. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.476 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การรำ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) | en_US |
dc.subject | นาฏศิลป์ -- ไทย | en_US |
dc.subject | รำดีดไห | en_US |
dc.subject | โปงลาง | en_US |
dc.subject | Dance -- Thailand, Northeastern | en_US |
dc.subject | Ram - Deed - Hai | en_US |
dc.title | รำดีดไห : การวิเคราะห์นาฏยศิลป์ไทยพื้นบ้านอีสาน | en_US |
dc.title.alternative | Ram - Deed - Hai : the analyze of Thai Isan folk dance | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Malinee.A@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.476 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chinchutha_su.pdf | 14.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.