Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41444
Title: | การพัฒนาวิธีการตรวจเนื้อสุกรปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารโดยวิธี loop-mediated isothermal amplification |
Other Titles: | Development of porcine detection in food products by Loop-Mediated isothermal amplification method |
Authors: | พรพิมล มะหะหมัด |
Advisors: | นันทรี ชัยชนะวงศาโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ได้ทำการพัฒนาการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเนื้อสุกรในผลิตภัณฑ์อาหารด้วยวิธี Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) และวิธี LAMP-Dot Blotting โดยการออกแบบไพรเมอร์ 4 เส้นคือ Forward Inner Primer (FIP), Backward Inner Primer (BIP), Outer Primer F3 และ Outer Primer B3 ที่จำเพาะยีน cytochrome b และเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอสุกรด้วยวิธี LAMP พบว่าสภาวะที่เหมาะสมสำหรับปฏิกิริยาคือที่ 60 องศาเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง การทดสอบความจำเพาะของ LAMP และ LAMP-Dot Blotting ไม่เกิดปฏิกิริยาข้ามกลุ่มกับ เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อเป็ด เนื้อแพะ เนื้อแกะ เนื้อปลาซาลมอน เนื้อกุ้ง เนื้อหอยแครง เนื้อหอยลาย เนื้อหอยนางรม เนื้อปลาหมึก เนื้อปู เนื้อนกกระจอกเทศ เนื้อสุนัข และเนื้อกบ มีความไวที่ขีดจำกัดต่ำสุดของดีเอ็นเอสุกร 1 นาโนกรัม ซึ่งเท่ากับวิธี PCR แต่น้อยกว่าวิธี Real-Time PCR 10 เท่า สำหรับเนื้อสุกรผสมเนื้อไก่และเนื้อสุกรผสมเนื้อวัวนั้นมีขีดจำกัดต่ำสุดที่ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งน้อยกว่าวิธี PCR และ Real-Time PCR 100 เท่า และ 1000 เท่า ตามลำดับ ยกเว้น เนื้อสุกรผสมเนื้อวัวที่ทดสอบด้วย LAMP-Dot Blotting จะมีความไวกว่าวิธี LAMP 5 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าวิธี LAMP นั้นสามารถตรวจวิเคราะห์เนื้อสุกรที่ผ่านความร้อนที่ 0-120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาทีได้ การวิเคราะห์การปนเปื้อนเนื้อสุกรด้วยเทคนิค LAMP กับผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์จำนวน 100 ตัวอย่างและตรวจสอบผลผลิตด้วยวิธีแยกขนาดด้วยกระแสไฟฟ้าบนวุ้นอะกาโรส ไซเบอร์กรีนวันสังเกตผลด้วยตาเปล่าภายใต้แสงไฟธรรมดา และภายใต้แสงยูวี และเทคนิค Dot blot hybridization เปรียบเทียบกับวิธี Real-Time PCR ที่เป็น Gold Standard ในการศึกษาครั้งนี้ การปนเปื้อนจากเนื้อสุกร 27, 13, 17, 24 ตัวอย่างตามลำดับ และการเปรียบเทียบวิธีการตรวจสอบผลผลิต LAMP ทั้ง 4 วิธีพบว่าการตรวจสอบผลผลิตด้วยไซเบอร์กรีนภายใต้แสงยูวีเป็นวิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากมีความรวดเร็ว ความจำเพาะ และความไวสูงกว่าวิธีอื่น ส่วนวิธี LAMP Dot-Blotting ที่พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจเนื้อสุกรปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร ในภาคสนาม และห้องปฏิบัติการทั่วไป เนื่องจากมีความสะดวก และไม่ต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ |
Other Abstract: | Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) and LAMP-Dot Blotting methods were developed for porcine in food products. A set of four primers which were Forward Inner Primer (FIP), Backward Inner Primer (BIP), Outer Primer F3 and Outer Primer B3 were designed specifically to recognize the cytochrome b gene. The reaction conditions were optimized to amplify porcine DNA by incubation at 60 ℃, for 1 hour. No cross amplification was detected with chicken, beef, duck, sheep, goat, salmon, shrimp, blood cockle, surf clam, oyster, squid, crab, ostrich, canine and frog. The detection limit of porcine DNA was 1 ng as same as the PCR method but 10 times reduction in Real-Time PCR method. The detection limit of pork in chicken and pork in beef were 10% which decreased 100 and 1,000 time in PCR and Real-Time PCR, respectively. Exceptionally, pork in beef, LAMP-Dot Blotting assay was 5 times more sensitive than LAMP method. Moreover, heated pork at 0-120 ℃ for 30 min could be detected with LAMP reaction. Porcine contamination was examined in 100 meat products using LAMP method and visualized by electrophoresis, SYBR Green I under natural light, SYBR Green I under UV light and dot blot hybridization in comparison to Real-time PCR, the gold standard in this study. The number of contaminated meat samples which examined by each methods were 27, 13, 17 and 24, respectively. From 4 methods, evaluation of LAMP product using SYBR Green I under UV is the best method because it is the most rapid, specific and sensitive method. However, LAMP Dot-Blotting which developed in this study, is the alternative method for detection of porcine in food products in the fields and general laboratories. Because, it is a convenience method with no need of special equipment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41444 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.619 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.619 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | All - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornpimol_ma_front.pdf | 3.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpimol_ma_ch1.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpimol_ma_ch2.pdf | 6.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpimol_ma_ch3.pdf | 4.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpimol_ma_ch4.pdf | 8.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpimol_ma_ch5.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pornpimol_ma_back.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.