Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41581
Title: | ความสัมพันธ์ของกระสวนทำนองของเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายปี่ชวา : กรณีศึกษาเพลงเรื่องชมสมุทร |
Other Titles: | The relationships of melodic patterns for kraung sai pii chawa ensemble : A case study of phleng raueng chom samuth |
Authors: | นัทธพงศ์ สุกุมาลย์ |
Advisors: | ขำคม พรประสิทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ของกระสวนทำนองของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายในวงเครื่องสายปี่ชวา กรณีศึกษาเพลงเรื่องชมสมุทร” มุ่งหาความสัมพันธ์ของกระสวนทำนองของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นสำคัญ เพลงเรื่องชมสมุทรอัตราจังหวะสองชั้น เป็นเพลงเรื่องเฉพาะสำคัญของวงเครื่องสายปี่ชวา ถ่ายทอดโดยครูหนูดำ สืบมาทางพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เพลงเรื่องชุดนี้มีเพลงบางเพลงที่มีลักษณะการดำเนินที่แตกต่างไปจากเพลงอื่น ๆ ในดนตรีไทย คือ เพลงเกาะและเพลงระกำ โดยทั้ง 2 เพลงนี่ดำเนินทำนองเกิดและขาด ทำให้จังหวะหน้าทับคร่อมไม่สามารถบรรเลงได้ ต้องบรรเลงหน้าทับด้วยวิธีการพิเศษคือการตีคลอก อันเป็นวิธีการบรรเลงหน้าทับที่ต้องบรรเลงให้พอดีกับการดำเนินทำนองที่เกินและขาดมา ซึ่งการดำเนินทำนองดังกล่าวนี้ เป็นเจตนาอันแน่วแน่ของครูหนูดำผู้ประพันธุ์ ถึงขนาดสาปแช่งผู้ที่คิดเปลี่ยนแปลงให้มีอันเป็นไป ผลจากการวิจับพบว่าการดำเนินทำนองของจะเข้ และซอด้วง เป็นเครื่องดนตรีที่ดำเนินทำนองใกล้เคียงสอดสัมพันธ์กับทำนองหลักมากที่สุด ส่วนในทางซออู้นั้นการดำเนินทำนองเป็นลักษณะสำนวนที่ซับซ้อนโลดโผน ท่วงทำนองออกจากห่างไปจากทำนองหลัก แต่ยังคงสัมพันธ์กันกับทำนองหลัก โดยสังเกตจากเสียงตกและทิศทางของกระสวนทำนองที่ดำเนินทำนองไปในแนวเดียวกัน ทั้งนี้การดำเนินทำนองทั้ง 3 เครื่อง พบความสัมพันธ์ในเรื่องสำนวนกลอนอีกด้วย ลักษณะเด่นที่พบจากการวิเคราะห์เพลงเรื่องชมสมุทรอัตราจังหวัดชั้นนี้ พบการดำเนินทำนองในกลุ่มปัญจมูลที่ต่างกันถึง 3 กลุ่มได้แก่ ม ผ ซ X ท ด X กลุ่มเสียง ท ด ร X ฟ ซ X ด ร X และ กลุ่มเสียง ด ร ม X ซ ล X นอกจากนี้พบการดำเนินทำนองที่เกินจังหวะในเพลงเกาะและการดำเนินทำนองที่ขาดในเพลงระกำ ทำให้ต้องบรรเลงหน้าทับด้วยวิธีการพิเศษ ลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เองถือเป็นลักษณะเด่นที่พบ ในเพลงเรื่องชมสมุทรอัตราจังหวะสองชั้น |
Other Abstract: | Pleng Raueng Chom Samuth (Modere tempo) is the significant Pleng Raueng of Kraung Sai Pii Chawa Ensemble which was relayed to Krun Nu Dum and was inherited by Phraya Prasan Duriyasubt (Plakg Prasansubt). This Pleng Raueng has difference of melodic movements from other songs in Thai Music are Pleng Klog and Pleng Rakum played by lack and excess of moving melody wnich made Na Thab could not play as usual. It has been played by special method suitable with the lack and excess of moving melody. The moving melody is composer’s steady intension to curse one who would change the songs. This research “The Relationships of Melodic pattens for Kraung Sai Pii Chawa Ensemble : A Case Study of Pleng Chom Samuth” aims to study the relationships of melodic pattens of Thai stringed instruments. According to the result of the study, found that the moving melody of Jake and Saw-Dung, musical instruments, played relatively with main theme, while the moving melody of Saw-Au is complicated and acrobatic. Its moving melody is different from main theme but still relates with main theme observed from down beat and direction of melodic pattens which was play in the same way. Playing of the moving melody of three musical instruments, we found the relationships about music idiom. The specialty was found from analysis of Pleng Raueng Chom Samuth (Modere tempo). We found the moving melody in Pentatonic scale which is different in three scales such as E F G X B C X scale, B C D X F G X scale, F G A X C D X scale. In addition to finding the excess of moving melody in Pleng Klog, and lack of moving melody in the Pleng Racum which make Na Thub to play in special method. Characteristics are specialties which were found in Pleng Raueng Chom Samuth (Medere tempo) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41581 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1074 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1074 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nattapong_su_front.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattapong_su_ch1.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattapong_su_ch2.pdf | 2.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattapong_su_ch3.pdf | 6.95 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattapong_su_ch4.pdf | 11.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattapong_su_ch5.pdf | 968.68 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nattapong_su_back.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.