Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42339
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นันทรี ชัยชนะวงศาโรจน์ | - |
dc.contributor.advisor | เอกรินทร์ สายฟ้า | - |
dc.contributor.author | สุเมธ อมรยิ่งเจริญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2014-05-14T11:59:10Z | - |
dc.date.available | 2014-05-14T11:59:10Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42339 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en_US |
dc.description.abstract | ได้ทำการทดสอบหาความเข้มข้นที่น้อยที่สุดในการยับยั้งการเจริญ(MIC) ของเชื้อ H. pylori กับสมุนไพรไทยที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร 9 ชนิด คือ กระชายดำ, กระเทียม, กล้วย, ขมิ้นชัน, ตระไคร้, ใบบัวบก, ฟ้าทะลายโจร, ว่านหางจระเข้ และ ลำต้นโหระพา พบว่า ขมิ้นชัน และกระชายดำ มีค่า MIC เท่ากับ 32 และ 64 µg/ml ตามลำดับ ส่วนสมุนไพรชนิดอื่นๆมีค่า MIC > 512 µg/ml จากนั้นทำการสกัดสมุนไพรกระชายดำออกเป็น 4 ชนิด คือ น้ำมันหอมระเหยจากกระชายดำ, สารสกัดเฮกเซนจากกระชายดำ, สารสกัดเอทิลอะซิเตดจากกระชายดำ และสารสกัดเมทานอลจากกระชายดำ ได้ปริมาณ(%yield)เท่ากับ 0.129%, 0.046, 0.721% และ 1.277% ตามลำดับ นำไปทดสอบหาค่า MIC พบว่า สารสกัดเอทิลอะซิเตดจากกระชายดำ มีค่า MIC เท่ากับ 32 µg/ml,สารสกัดเฮกเซนจากกระชายดำ และสารสกัดเมทานอลจากกระชายดำ มีค่า MIC เท่ากับ 64 µg/ml และน้ำมันหอมระเหยจากกระชายดำ มีค่า MIC > 512 µg/ml นำสารสกัดเอทิลอะซิเตดจากกระชายดำมาทำการทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเกาะติด และบุกรุกเซลล์เยื่อบุ HEp-2 ของเชื้อ H. pylori ด้วยวิธี Gentamicin internalization assay พบว่าความสามารถในการลดการบุกรุกเซลล์เยื่อบุ HEp-2 ของเชื้อ H. pylori ขึ้นกับเวลา, ความเข้มข้นของสารสกัด และสายพันธุ์ของเชื้อ H. pylori พบว่าที่เวลามาก และที่ความเข้มข้นของสารสกัดเอทิลอะซิเตดจากกระชายดำที่มากขึ้น สารสกัดเอทิลอะซิเตดจากกระชายดำสามารถลดการบุกรุกเซลล์ได้มากขึ้น และสารสกัดเอทิลอะซิเตดจากกระชายดำมีผลในการลดการบุกรุกเซลล์HEp-2 ของเชื้อ H. pylori สายพันธุ์ที่มียีน cagA ได้ดีกว่าสายพันธุ์ที่ไม่มียีน cagA ในการศึกษาผลต่อการแสดงออกของยีน alpA และ babA ซึ่งเป็นยีนที่มีความสำคัญในการเกาะติด และบุกรุกเซลล์ ด้วยวิธี RT-PCR พบว่าสารสกัดเอทิลอะซิเตดจากกระชายดำไม่มีผลต่อการแสดงออกของยีน alpA และ babA ดังนั้น กระชายดำจึงเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ในการรักษา และป้องกันการติดเชื้อ H. pylori | en_US |
dc.description.abstractalternative | As certain Thai medicinal herbs had been used to treat gastric diseases, their minimum inhibitory concentrations (MIC) against Helicobacter pylori were examined with 9 Thai herbs including Kaempferia parviflora, Allium sativum, Musa sapientum, Curcuma longa, Cymbopogon citratus, Centella asiatica, Andrographis paniculata, Aloe vera and Ocimum basilicum . Curcuma longa and Kaempferia parviflora had MIC of 32 µg/ml and 64 µg/ml, respectively. Other herbs had MIC > 512 µg/ml. Kaempferia parviflora was subsequently extracted in 4 parts composing of volatile oil, hexane extract, ethylacetate extract and methanol extract. They resulted in yield of 0.129%, 0.046%, 0.721% and 1.277%, respectively. Ethylacetate extract had a MIC of 32 µg/ml. Hexane and methanol extracts had similar MIC of 64 µg/ml. Volatile oil had a MIC > 512 µg/ml. The effect of Kaempferia parviflora's ethylacetate extract on adhesion and internalization of H. pylori to HEp-2 cells by Gentamicin internalization assay was conducted. It was found that Kaempferia parviflora's ethylacetate extract could decrease internalization of H. pylori to HEp-2 cells. The anti-internalization activity was dependent on time of incubation, concentration of extract and strains of H. pylori. The longer incubation time and higher concentration of Kaempferia parviflora's ethylacetate extract were inversely proportional to the degree of internalization. Furthermore, Kaempferia parviflora's ethylacetate extract could inhibit the invasion of HEp-2 cells by H. pylori strains harboring cagA gene more effectively than strains without cagA gene. We found no effect of Kaempferia parviflora's ethylacetate extract on the expression of the two important genes involving in adhesion and invasion, alpA and babA. Thus, Kaempferia parviflora is one of the effective herbs for potential prevention and treatment of H. pylori infection. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | ฤทธิ์ของกระชายดำในการลดการเกาะติดและบุกรุกเซลล์เยื่อบุ HEp-2 ของเชื้อ Helicobacter pylori | en_US |
dc.title.alternative | The effects of Kaempferia Parviflora on anti-adherence and anti-internalization activity of Helicobacter Pylori to HEp-2 cells | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ชีวเคมีคลินิกและอณูทางการแพทย์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | All - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sumet_Am.pdf | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.