Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43335
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขำคม พรประสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorภัทระ คมขำen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:18Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:18Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43335
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการประพันธ์เพลงเรื่องปู่จานครน่านประพันธ์ขึ้นโดยการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและทำการเก็บข้อมูลภาคสนามในจังหวัดน่านเรื่องความเชื่อ พิธีกรรม การสร้างและระเบียบวิธีการบรรเลงกลองปู่จาในจังหวัดน่านเป็นระยะเวลา ๑๕ เดือนโดยใช้กรอบแนวคิดทางทฤษฎีเพื่อทำความเข้าใจโลกทัศน์ของชาวเมืองน่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะสงฆ์และฆราวาสผู้บรรเลงกลองปูจา จากการเก็บข้อมูลภาคสนามแบบมีส่วนร่วม และการศึกษาวิธีการตีกลองปูจากับบุคคลข้อมูลที่สำคัญในจังหวัดน่านคือเจ้าญาณ สองเมืองแก่นและการสัมภาษณ์พระสงฆ์ทั้งหมด ๙ รูป รูปแบบทำนองกลองปูจาเมืองน่านแสดงให้เห็นการเชื่อมโยงวิถีชีวิตกับทำนองดนตรีที่ปรากฏในจังหวะกลองปูจา โดยเฉพาะกุศโลบายทางธรรมเตือนใจผู้ฟังให้ได้พิจารณาการปรุงแต่งของรูป รส กลิ่น และเสียง แบบแผนของท่วงทำนองกลองปูจากุศโลบายทางพุทธศาสนาจึงเป็นต้นแบบการร้อยเรียงบทเพลงแบบซ่อนเงื่อนไว้ในเพลงเรื่องปูจานครน่านอย่างแยบยล จากนั้นผู้ประพันธ์จึงได้ทำการขยายทำนองและฉันทลักษณ์ของทำนองกลองปูจาเมืองน่านตามหลักการประพันธ์เพลงเรื่องตามขนบของราชสำนัก เพลงเรื่องปูจานครน่านประกอบด้วยเพลงช้า เพลงสองไม้ เพลงเร็ว เพลงลา กระบวนเพลงทั้งหมดนี้เป็นโครงสร้างสำคัญของเพลงเรื่องประเภทเพลงช้าที่ใช้บรรเลงในงานพิธีกรรมมงคล การบรรเลงเพื่อพิธีสงฆ์ เพลงช้าแสดงความนอบน้อมและความศักดิ์สิทธิ์ โครงสร้างดังกล่าวเป็นโครงสร้างตามขนบดุริยางคศิลป์ไทยโดยใช้กลวิธีการประพันธ์ตามขนบ คือ โอด พัน การตัดทอน ลูกเท่า การใช้คู่กระด้าง การใช้คู่เสนาะ การใช้คู่กึ่งกระด้าง สำนวนเฉพาะสำหรับมือฆ้องของเพลงเรื่อง ส่วนลักษณะพิเศษในเพลงเรื่องปูจานครน่านคือการประพันธ์บทเพลงช้าและหน้าทับขึ้นใหม่และได้เผยแพร่สู่สาธารณะชนโดยเป็นที่ยอมรับของศิลปินสล่าผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัดน่านอีกทั้งยังใช้บรรเลงประกอบพิธีกรรมพระกฐินพระราชทานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.description.abstractalternativePleng Ruang Puja Nakon Nan was composed by way of employing an ethnographic research accompanied with a fieldwork of fifteen months in Nan province. The study aims to understand perceptions of Nan musicians including their beliefs, rituals, and performance practices of Puja drums. Master Yan Songmuangkean served as a key informant as well as nine monks who were highly respected in Nan for their Puja drumming. According to interviews with Puja drummers, their perceptions of worldviews were revealed: their culture’s organization of time and their concentration of rhythmic structure were related to their worldview of Buddhist concepts. The Buddhist worldview was transferred to drumming patterns as a teaching strategy to Buddhist laymen to be reminded of mankind’s illusion (sight, hearing, taste, smell, and touch). The new composition, Pleng Ruang Puja Nakon Nan, decoded this concept of Buddhist reality that was encoded in Puja drumming patterns found in Nan province. The traditional form of Pleng Ruang comprises of pleng cha prob kai, pleng song mai, pleng raew song mai, and pleng la. All of these four sections are of great importance to the foundation of pleng ruang structure. The occasion of pleng ruang is to accompany auspicious events as well as Buddhist rituals. It expresses gentleness, humbleness, and sacredness. The compositional techniques used in this composition included oad, pan, tadton, lugtao, consonant intervals, dissonant intervals, and semi-dissonant intervals, and melodic idioms that are only characteristic of pleng ruang. An innovation invested in this composition is a newly composed drumming pattern for pleng cha section which was previously accompanied by probkai patterns.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.783-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการแต่งเพลง
dc.subjectพุทธศาสนากับวัฒนธรรม
dc.subjectComposition (Music)
dc.subjectBuddhism and culture
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการประพันธ์เพลงช้าเรื่องปูจานครน่านen_US
dc.title.alternativeThai Classical Music Composition: Pleng Ruang Puja Nakon Nanen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpkumkom@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.783-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5386810935.pdf14.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.