Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43557
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรสนอง วงศ์สิงห์ทองen_US
dc.contributor.authorปรัชญ์ หาญกล้าen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:39:20Z
dc.date.available2015-06-24T06:39:20Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43557
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์ตราสินค้าและออกแบบเครื่องแต่งกายโดยใช้วัตถุดิบหลักจากผ้าทอมือของอำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นสินค้าที่มีความทันสมัยและสามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวันโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainable Design) ในการออกแบบ และเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้เลือกใช้และสามารถแข่งขันกับตลาดสินค้าเครื่องแต่งกายสำเร็จรูปในปัจจุบันได้ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยคือ หาหลักการสำคัญของการออกแบบอย่างยั่งยืนจากข้อมูลทุติยภูมิคือ เอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและจากผลงานออกแบบที่ใช้แนวคิดเดียวกัน หาอัตลักษณ์ของผ้าทอมือในอำเภอเวียงเชียงรุ้งจากวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น รวมไปถึงการกำหนดกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ตลาดของผลิตภัณฑ์และวิเคราะห์แนวโน้มแฟชั่นในฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาวปี ค.ศ.2014 เพื่อหาแนวคิดและแรงบันดาลใจในการออกแบบ โดยสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ (1) กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายของงานวิจัยคือกลุ่มสตรีที่มีอายุระหว่าง 33-45 ปี ผลิตภัณฑ์ของงานวิจัยอยู่ในกลุ่มตลาดสินค้าระดับปานกลางค่อนข้างสูง โดยมีแนวทางในการออกแบบเครื่องแต่งกายของงานวิจัยที่สอดคล้องกับแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แง่ด้วยกันคือ ความยั่งยืนในแง่ของสิ่งแวดล้อม คือ การใช้สีย้อมธรรมชาติ การใช้เส้นใยจากธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนตลอดหมดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ความยั่งยืนในแง่ของงานพื้นถิ่น คือ การใช้ผ้าทอมือในชุมชน ที่ได้มีการพัฒนาการใช้สี การแทรกเส้นด้ายพุ่งเพื่อสร้างพื้นผิวใหม่ ๆ ที่ทันสมัยขึ้น และความยั่งยืนในแง่ของการใช้งาน คือ เครื่องแต่งกายที่มีรูปแบบที่มีความคลาสสิค สวมใส่ได้ทุกยุคสมัย สอดคล้องกับแนวโน้มแฟชั่นที่จะเกิดขึ้น และสามารถนำไปสวมใส่กับผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อเพิ่มโอกาสการใช้งานได้ เป็นต้น (2) เครื่องแต่งกายของงานวิจัยมีลักษณะเด่นจำเพาะคือ มีรูปแบบที่มีกลิ่นอายของความเป็นไทยพื้นถิ่น เช่น ลายผ้า หรือ ลักษณะของรายละเอียดบนเสื้อผ้า เป็นต้น เป็นเครื่องแต่งกายที่ใช้เส้นใยธรรมชาติที่มีรูปแบบลำลองทางการและลำลองปาร์ตี้ ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มตลาดสินค้าที่เน้นการใช้เส้นใยธรรมชาติเหมือนกันที่เน้นเครื่องแต่งกายแบบลำลองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคในกลุ่มตลาดสินค้าเดียวกันen_US
dc.description.abstractalternativeThis research objective is to design and develop womenswears from local Thai hand woven textiles of amphoe Wiangchiangrung, Chiangrai to be more fashionable and wearable in everyday life by using sustainable design theory. The research method involves (1) a review of sustainable design main idea; (2) a definition of Wiangchiangrung, Chiangrai hand woven textiles identity; (3) a definition of customer profile and market of products and fashion trend season fall-winter 2014. In this research, the meaning of sustainable design is defined in three ways; (1) sustain in environment which is a reduction of waste from production and the use of natural dyes for fabrics; (2) sustain in local Thai arts; and (3) sustain in usability in term of good product, fashionable and classic clothes. The result reveals the product identity of a local Thai costume details, such as fabric pattern, and a more formal and party design which is different from other brands. It makes of the natural fibers, but appear to be more casual design.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1007-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการออกแบบแฟชั่น
dc.subjectโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
dc.subjectFashion design
dc.titleการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีเพื่อพัฒนางานพื้นถิ่นให้เป็นสินค้าระดับชาติโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาผ้าทอมือ อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงรายen_US
dc.title.alternativeWOMENSWEAR DESIGN TO DEVELOP LOCAL WORK INTO NATIONAL PRODUCT BY USING SUSTAINABLE DESIGN THEORY: A CASE STUDY OF HANDWOVEN TEXTILE AMPHOE WIANGCHIANGRUNG, CHIANGRAIen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนฤมิตศิลป์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpornsanong.v@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1007-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586715135.pdf10.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.