Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43657
Title: | การออกแบบเครื่องแต่งกายโดยใช้แบคทีเรียเซลลูโลสชีวภาพที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อข้าว |
Other Titles: | CREATION OF CONCEPTUAL FASHION GARMENTS FROM BACTERIAL CELLULOSE TEXTILE |
Authors: | กฤษณ์ เย็นสุดใจ |
Advisors: | พรสนอง วงศ์สิงห์ทอง อารยะ ศรีกัลยาณบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pornsanong.v@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การออกแบบแฟชั่น วัสดุทางการแพทย์ สิ่งทอ Fashion design Biomedical materials |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | นักทฤษฏีอนุรักษ์ธรรมชาติได้เสนอแนวคิดความสูญเสียเป็นศูนย์(Zero-Waste) ในการออกแบบเพื่อยับยั้งกระบวน การสร้างของเสียในการผลิต เป้าหมายของการวิจัยฉบับนี้เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายโอต์กือตูร์ (Haute Couture) โดยการใช้แผ่นเซลลูโลสชีวภาพ ซึ่งเป็นวัสดุชีวภาพทางการแพทย์และความงาม ให้เป็นวัสดุทางเลือกใหม่สำหรับนักออกแบบแฟชั่น วิธีการวิจัยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกใช้ วิธีเชิงทดลอง เพื่อสร้างแผ่นเซลลูโลสจากข้าว ให้มี ขนาด สี และการตกแต่งลวดลาย โดยอาศัยคณะผู้เชี่ยวชาญทางการออกแบบเสื้อผ้าเป็นผู้ตัดสินว่าแผ่นเซลลูโลสที่เป็นผลการทดลอง มีความเหมาะสมกับการขึ้นรูปเสื้อผ้าในแง่ใด ส่วนที่สองเป็น การออกแบบและพัฒนาเสื้อผ้าโอต์กือตูร์ ตามสไตล์อาวองต์-การ์ด แล้วนำมาออกแสดงนิทรรศการแฟชั่น เพื่อวัดความพึงพอใจด้านสไตล์ และวัสดุทางเลือกใหม่ ผลการวิจัย ได้แสดงให้เห็นว่า การออกแบบและพัฒนาเครื่องแต่งกายโดยใช้แบคทีเรียเซลลูโลสชีวภาพ ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อข้าว ไม่ได้เป็นเพียง ประกายของนวัตกรรมวัสดุสิ่งทอ แต่ยังเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการประยุกต์แนวคิดความสูญเสียเป็นสูญ เพื่อกรุยทางไปสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต |
Other Abstract: | Environmentalists have long been suggested that a zero-waste principle might as well be applied to textile production. An objective of the research was to demonstrate that bacterial biological cellulose, commonly used in the cosmetic and medical industry, can be designed and developed into an alternative textile for high fashion (Haute Couture) in response to such principle. Its method was divided into two parts. The first part focused mainly on the experiments of such fabric to find appropriate methods for surface scale, color, and decoration. Different fashion experts were asked to testify about the appropriate strategies and processes that should be used at the different stages of the production. Second part were the design and development the haute couture; testing the limitations for an avant-garde style. The developed avant-garde fashion was exhibited to the enthusiastic fashion consumers for evaluation. The new alternative material was highly appreciated by most visitors to the exhibition. It is, therefore, possible to achieve new fashion aesthetics through zero –waste production. Bacterial biological cellulose from rice tissue culture for non woven fashion industry offers not only aesthetics, but also can be a major breakthrough for ethical fashion in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ศิลปกรรมศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43657 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1118 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1118 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5286801135.pdf | 4.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.