Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43660
Title: | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงความเชื่อหลังความตายของครูโนรา |
Other Titles: | THE CREATION OF DANCE TO REFLECT THE BELIEVES IN LIFE AFTER DEATH OF NORA ANCESTOR |
Authors: | วรากร เพ็ญศรีนุกูร |
Advisors: | นราพงษ์ จรัสศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | lekkaran@hotmail.com |
Subjects: | โนรา นาฏศิลป์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต Nora (Thai dance drama) Dramatic arts |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงความเชื่อหลังความตายของครูโนรา” เป็นการวิจัยแบบสร้างสรรค์ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ และหาแนวคิดในการสร้างงานการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงความเชื่อหลังความตายของครูโนรา ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก 1) เอกสาร 2) การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย 3) สื่อสารสนเทศอื่นๆ 5) การสำรวจข้อมูลภาคสนาม 6) เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน จากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และนำเสนอเป็นผลงานวิจัย โดยการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนธันวาคม 2555 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในด้านศิลปะการแสดง รวมถึงนิสิต นักศึกษาโดยเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์แบบสร้างสรรค์ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำแรงบันดาลใจจากความเชื่อหลังความตายของครูโนรา ในประเด็นของความกตัญญู ความรัก ความผูกพันธ์ของคนในครอบครัว ข้อมูลทั้งหมดนี้ได้นำมาวิเคราะห์ เพื่อตอบคำถามในงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ครั้งนี้คือ ได้ผลงานการแสดงนาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงความเชื่อหลังความตายของครูโนรา ตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ จากการสร้างสรรค์ทำให้ได้รูปแบบนาฏยศิลป์อธิบายได้ตามองค์ประกอบทางด้านนาฏยศิลป์ที่ประกอบไปด้วย บทการแสดงที่สะท้อนถึงความเชื่อ ลีลาการแสดงแบบโนรา นาฏยศิลป์สมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ เครื่องแต่งกาย ดนตรีที่เป็นทั้งแบบอนุรักษ์และสร้างสรรค์ พื้นที่การแสดงที่ใช้สิ่งก่อสร้างที่เป็นวัสดุท้องถิ่นจากธรรมชาติ แสงที่ใช้สีน้อย อุปกรณ์ประกอบการแสดงที่ใช้เพื่อสร้างความสมจริงของการประกอบพิธีกรรม นักแสดงที่มีพื้นฐานทางด้านการแสดงนาฏยศิลป์ไทยและนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ส่วนแนวคิดของ “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงความเชื่อหลังความตายของครูโนรา" นั้นจะให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ ซึ่งเรียงลำดับตามความสำคัญก่อนหลัง คือ การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการแสดง การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ การใช้ความหลากหลายของรูปแบบการแสดง การใช้ทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์ และทัศนศิลป์ การใช้ทฤษฎีทางด้านการสื่อสารการแสดง การสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม การใช้สัญลักษณ์ เพื่อสื่อสารในการแสดง โดยที่งานสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ชิ้นนี้ได้เป็นตัวอย่างของสื่อที่จะแสดงถึงการสร้างความเข้าใจของคนในวัฒนธรรมที่หลากหลายต่อไป |
Other Abstract: | This thesis is entitled “The Creation of Dance to Reflect the Believes in Life After Death of Nora Ancestor”. It was inspired by the native Southern Thailand Nora Dance Guru’s belief in the Spirits. This is based on the creative practice-based research in which the researcher enquired on the result of the presentation on “The Creation of Dance to Reflect the Believes in Life After Death of Nora Ancestor” research and its underlying creative concept. This leads the author to an in-depth study of the Nora performance, the traditional Thai choreographic arts, the creative choreographic performance, and the collection and analysis of the opinions of the renowned experts related to the subject of this dissertation. In this creative practice-based research, the author used the six creative research tools, namely: documentary data survey, operational experiments in choreographic arts, experts’ interviews, the standards on qualification of the national artist, other archives and media, and evaluation of the viewers’ opinion survey and performance assessment related to the subject. The data was collected between January, 2011 to December, 2012 both domestically and abroad. All collected data was analyzed and the outcome provided the answer to this research enquiry, which included the performance presented, and the underlying concept for the creation of “The Creation of Dance to Reflect the Believes in Life After Death of Nora Ancestor”. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ศิลปกรรมศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43660 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1121 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1121 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5286818935.pdf | 12.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.