Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44235
Title: | กลวิธีการบรรเลงจเปยฏองเวงของครูจุม แสงจันทร์ |
Other Titles: | Chapei Dang Veng performance techniques of Kru Jum Changchan |
Authors: | อรอุมา เวชกร |
Advisors: | ขำคม พรประสิทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kumkom.P@Chula.ac.th |
Subjects: | จุม แสงจันทร์ -- การแสดง เจรียง พิณ -- การแสดง จเปยฏองเวง -- การแสดง Jum Changchan -- Performances Lute -- Performance |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยเรื่อง กลวิธีการบรรเลงจเปยฎองเวงของครูจุม แสงจันทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและประวัติชีวิตครูจุม แสงจันทร์ ศึกษากลวิธีการบรรเลงและบทเพลงจเปยฎองเวง วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทางเจรียงกับการดำเนินทำนองจเปยฎองเวง โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลภาคสนาม เป็นเวลา ๑๒ เดือน ผลการศึกษาพบว่าบริบทของเจรียงปรากฏทั้งหมด ๘ ประเภท คือ เจรียงซันตูจ เจรียงนอรแก้ว เจรียงปังนา เจรียงกันตรอบกัย เจรียงตรัว เจรียงจเปยฎองเวง เจรียงจรวง เจรียงเบริน และพบว่าจเปยฎองเวง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ใช้บรรเลงรวมวงและการบรรเลงเดี่ยว การตั้งเสียงของจเปยฎองเวงในการรวมวง ยึดเสียงตามปี่อ้อ สายเอกและสายทุ้ม ระดับเสียงห่างกัน ๔ เสียง และสำหรับการบรรเลงเดี่ยวผู้บรรเลงสามารถปรับให้เสียงสูงหรือเสียงต่ำก็ได้ตามความต้องการของผู้บรรเลง ครูจุม แสงจันทร์ เป็นนักดีดจเปยฎองเวงที่มีชื่อเสียงที่สุด มีผลงานการบันทึกเสียงเจรียงจเปยฎองเวง และเจรียงตรัว เคยได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง การประกวดเจรียงเดี่ยว และรางวัลชนะเลิศ การประกวด ตรัว ครูจุม แสงจันทร์ มีโอกาสเจรียงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและอีกครั้งหนึ่งเจรียงถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ปัจจุบันครูจุม แสงจันทร์ ประกอบอาชีพนักเจรียงและทำสวน การศึกษากลวิธีการบรรเลงจเปยฎองเวง ปรากฏกลวิธีสำหรับการบรรเลงทั้งหมด ๗ วิธี คือ กลวิธีการดีดขึ้น กลวิธีการดีดลง กลวิธีการกรอ กลวิธีการสะบัด กลวิธีการกล้ำเสียง กลวิธีการกดสาย และกลวิธีการดีดสองสายพร้อมกัน การวิเคราะห์สำนวนเพลงที่ใช้สำหรับการเจรียงทั้งหมด ๔ เพลงได้แก่ เพลงพัดเจือยเจีย ใช้เจรียงสำหรับดำเนินเรื่องราวและประกอบการเล่านิทาน มีลักษณะการดำเนินทำนองเก็บ เพลงพัดเจือยกราย ใช้เจรียงสำหรับชมธรรมชาติมีลักษณะการดำเนินทำนองเก็บ ทำนองกระสวนจังหวะซ้ำ มีลูกตกซ้ำติดต่อกัน และมีการปิดวรรคเพลงสำนวนเดียวกัน เพลงซโรเม ใช้เจรียงสำหรับบทแสดงความรู้สึกผิดหวัง เสียใจ มีลักษณะการดำเนินทำนองเก็บที่มีโน้ตซ้ำกันสลับไปมา เพลงบ็อทโศก ใช้เจรียงสำหรับบทแสดงความโศกเศร้าสูญเสียคนที่รัก มีลักษณะการดำเนินทำนองเก็บที่มีโน้ตซ้ำกันสลับไปมา และมีการบรรเลงซ้ำทำนองเดิม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทางเจรียงกับการดำเนินทำนองจเปยฎองเวงของครูจุม แสงจันทร์ ปรากฏการดำเนินทำนองร้อง ๘ รูปแบบ และปรากฏระเบียบวิธีการบรรเลง ๓ ช่วงได้แก่ ช่วงต้น ช่วงดำเนินเรื่องและช่วงจบบรรเลง ความสัมพันธ์ระหว่างทางเจรียงกับการดำเนินทำนองจเปยฎองเวง ได้แก่ การใช้เสียงร้องในกลุ่มเสียงของการดำเนินทำนองของจเปยฎองเวงอยู่ภายในขอบเขต ๔ เสียง การใช้เสียงลูกตกและเสียงเอื้อนมีการใช้เสียงที่เป็นเสียงของนมที่ ๔ นับจากเสียงทางต่ำ มาเป็นหลักในการร้องของทุกเพลง |
Other Abstract: | This research is entitled of CHAPEI DANG VENG PERFORMANCE TECHNIQUES OF KRU JUM CHANGCHAN. It aims to study Kru JUM’s biography, Chapei dang veng performance techniques and songs, and to analyze the relation between Jareang and Chapei dang veng melodies by field data collection for twelve months. The result shows that there are eight kinds of Jareang ; Jareangsuntood, Jareang norakaew, Jareangpangna, Jareangguntropkai, Jareangtrua, Jareangjaruang, Jareangbrun, and Jareang Chapei dang veng. The Chapei dang veng is a long neck plucked lute. The tuning of Chapei dang veng in a band is tuned to a Pii-auh. The strings are tuned to four pitch levels of high-pitched and bass strings. Kru Jum Changchan is one of the most famous Chapei dang veng players. In Addition, Kru Jum Changchan had a great opportunity to present a Jareang show for His Majesty King Bhumipol and for HRH Princess Srirasm, Nowadays Kru Jum is still the Jareang players and also a gardener. The study of Chapei dang veng performance techniques shows that there are seven methods ; up-bow, down-bow, grinding, flicking, sound combining, string pressing, and both string plucking together. From the analyzing of the melodies of four songs; Patjuayjia, Patjuagrai, Saromay, and Botsok The analysis of the relation of Jareang and Chapei dang veng performance techniques of Kru Jum Changchan indicates that there are eight melodic patterns and three processes; the beginning, the raising, and the end. In conclusion, the relation of Jareang and Chapei dang veng performance techniques of Kru Jum Changchan is to sing in group the Chapei dang veng melody within four tunes is played in drop and utter tunes with the sound of the fourth fret from low-tune as the basic in every song. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44235 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Onuma_ve.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.