Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44277
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิชชุตา วุธาทิตย์ | - |
dc.contributor.author | บัณฑิต เข็มทอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-08-14T07:38:56Z | - |
dc.date.available | 2015-08-14T07:38:56Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44277 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยเรื่อง บทบาทหนุมานลงสรงในการแสดงโขน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาองค์ประกอบหลักและแนวทางในการประดิษฐ์ท่ารำ และบทบาทการแสดงชุดหนุมานลงสรง ซึ่งเป็นการรำเดี่ยวเพื่ออวดฝีมือของผู้แสดง นับว่าเป็นกระบวนท่ารำที่ต้องใช้ทักษะความสามารถในการรำเป็นอย่างสูง ผู้วิจัยได้รับการถ่ายทอดกระบวนท่ารำจากอาจารย์ประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์-โขนลิง) ปี พ.ศ. 2551 จากผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแสดงรำลงสรงเป็นการแสดงการอาบน้ำแต่งกายของตัวละครที่เป็นกษัตริย์ หรือเชื้อพระวงศ์ โดยมีจุดประสงค์ในการลงสรงแตกต่างกันไป เช่น การอาบน้ำตอนเช้าตื่นนอน การอาบน้ำก่อนเข้านอน การอาบน้ำก่อนออกเดินทาง การอาบน้ำก่อนขึ้นเฝ้าเจ้านายหรือกษัตริย์ การอาบน้ำเพื่อเข้าประกอบพิธีกรรม การอาบน้ำก่อนเข้าหานางอันเป็นที่รัก และการอาบน้ำก่อนออกไปทำศึกสงคราม การแสดงรำลงสรง แสดงให้เห็นถึงสุนทรียะในด้านต่าง ๆ เช่น บทร้อง เครื่องแต่งกาย กระบวนท่ารำ และทักษะความสามารถในการถ่ายทอดกระบวนท่ารำของผู้แสดง กระบวนท่ารำลงสรงนั้น จะเป็นลักษณะ การรำตีบทถึงการอาบน้ำ การแต่งกาย และการสวมใส่เครื่องประดับ แบ่งขั้นตอนการแสดงออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นตอนการลงสรง 2. ขั้นตอนการทรงสุคนธ์ 3. ขั้นตอนการทรงเครื่อง ในการแสดงรำลงสรงนี้อาจมีไม่ครบทั้ง 3 ขั้นตอนก็ได้ แต่จะต้องมีขั้นตอนการทรงเครื่อง เพราะเป็นหัวใจหลักของการรำลงสรงเพื่อแสดงถึงความสวยงามของเครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับที่สวมใส่ หนุมานลงสรง เป็นการแสดงเกี่ยวกับการอาบน้ำและการแต่งกายของหนุมาน ในขณะที่ดำรงตำแหน่งมหาอุปราชกรุงลงกา ซึ่งปรากฏกระบวนท่ารำในขั้นตอนที่ 2 และ 3 เครื่องแต่งกายในการแสดงจะแต่งกายยืนเครื่องยักษ์สีเขียวขลิบแดง สวมมงกุฎยอดเดินหน เพลงที่ใช้ขับร้องประกอบการแสดงใช้เพลงลงสรงโทน และใช้วงดนตรีปี่พาทย์ไม้แข็งบรรเลงประกอบการแสดง ลักษณะกระบวนท่ารำเป็นการรำตีบท โครงสร้างกระบวนท่ารำมีลักษณะการผสมผสานระหว่างท่ารำของโขนลิงและท่ารำของละครเข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ทักษะ ความรู้ความสามารถของผู้ประดิษฐ์ท่ารำ นอกจากนี้การแสดงชุดหนุมานลงสรง ยังสื่อให้เห็นถึงบริบทของสังคมไทยที่มีความเชื่อในเรื่องของอาบน้ำก่อนทำการใด ๆ เพื่อเป็นการรักษาความสะอาดของร่างกายและเป็นการเสริมสร้างสง่าราศีและสิริมงคลให้กับตนเองด้วย | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of research into the role of Hanuman’s bathing in a masked play is to study factors, principles and guidelines for invention of dancing postures as well as the acting role for Hanuman’s bathing which reflects solo dancing so as to show the dancer’s flair and such dancing procedures thus need very high skills. The dancing procedures have been passed on to the researcher by Mr. Prasit Pinkaew, a national artist in the field of Art of Acting (Thai classical dance-monkey masked play ) for the year 2008. From the research, it is found that the format of a bathing dance reflects bathing and dressing by a dancer playing as a king or a royal family member with such different bathing purposes as bathing before travelling, bathing before visiting highly-esteemed people or a king, bathing before performance of rites, and bathing before going into a war. A bathing dance shows beauty of various aspects such as lyrics, costumes, dancing procedures and dancer’s skills in carrying out dancing procedures. Bathing dance procedures feature bathing, dressing and wearing of ornaments. A show is divided into 3 parts that are 1. bathing 2. putting on perfumes 3. dressing. A bathing dance show may not include completely all these 3 parts but must not lack the part of dressing as that is the main part of a bathing dance that shows beauty of costumes and ornaments worn. Hanuman’s bathing is a show focussing on Hanuman’s way of bathing and dressing while he was occupying a post of grand viceroy of Lanka City. Dancing procedures pertaining to parts 2 and 3 feature a costume of a demon, in green hemmed in red, wearing a Yod Dern Hon Crown, the supporting song for the dance show is Long Song Tone while a Phi Phat ensemble also joins the show and dancing procedures feature Tee Bot Dancing. The structure of dancing procedures is based on synchronization of dancing postures for monkeys and those of dramas that show intelligence, skill, knowledge and ability of the inventor of dancing postures. Moreover, the Hanuman’s bathing show reflects a Thai social belief in bathing before performing any activity so as to keep bodies clean and enhance grace and prosperity for such persons. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.31 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โขน | en_US |
dc.subject | การรำ -- ไทย | en_US |
dc.subject | ศิลปะการแสดง | en_US |
dc.subject | Khon (Dance drama) | en_US |
dc.subject | Dance -- Thailand | en_US |
dc.subject | Performing arts | en_US |
dc.title | บทบาทหนุมานลงสรงในการแสดงโขน | en_US |
dc.title.alternative | The role of hanuman bathing in the masked play | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Vijjuta.V@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.31 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bundit_kh.pdf | 13.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.