Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44545
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิษณุ คนองชัยยศen_US
dc.contributor.authorศุภศศิ รอดขวัญen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:47Z-
dc.date.available2015-08-21T09:29:47Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44545-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้วัตถุสามมิติถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทำให้จำนวนวัตถุสามมิติเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการค้นคืนวัตถุสามมิติเกิดขึ้น ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวส่วนใหญ่ต้องการพัฒนาด้านความเร็วและความแม่นยำในการค้นคืน อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ผ่านมาโดยมากจะไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงท่าทางของวัตถุและมักให้ความสำคัญกับการค้นคืนวัตถุสามมิติแบบโดยรวม ทำให้ไม่สามารถค้นคืนวัตถุสามมิติโดยใช้เพียงส่วนย่อยบางส่วนของวัตถุสามมิติในการค้นคืนได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงนำเสนออัลกอริทึมสำหรับการค้นคืนวัตถุสามมิติโดยขึ้นกับการค้นคืนวัตถุสามมิติแบบบางส่วนที่รองรับการเปลี่ยนแปลงท่าทางของวัตถุสามมิติซึ่งประกอบไปด้วยการเปลี่ยนแปลงท่าทาง การหมุน การเลื่อนตำแหน่ง และการย่อหรือขยายขนาด โดยอัลกอริทึมที่นำเสนอนี้ใช้เรปกราฟตามระยะทางจีออเดสิกเฉลี่ยในการแบ่งส่วนย่อยของวัตถุสามมิติ อีกทั้งยังทำให้อัลกอริทึมที่นำเสนอรองรับการเปลี่ยนแปลงท่าทางของวัตถุสามมิติ และส่วนย่อยแต่ละส่วนถูกอธิบายด้วยตัวอธิบายรูปร่างโพสออบลิเวียสแบบเฉลี่ยเพื่อลดเวลาในการค้นคืน โดยการเปรียบเทียบความเหมือนของวัตถุสามมิติจะเป็นการเปรียบเทียบความเหมือนระหว่างส่วนย่อยของคู่วัตถุสามมิติผ่านการหากราฟย่อยสามัญระหว่างกราฟที่ใหญ่ที่สุด การทดสอบอัลกอริทึมจะทำการทดสอบบนฐานข้อมูลวัตถุสามมิติจำนวน 30 ประเภท แต่ละประเภทประกอบไปด้วยวัตถุสามมิติที่มีท่าทางหลากหลายจำนวน 20 ชิ้น จากผลการทดสอบ อัลกอริทึมที่นำเสนอสามารถค้นคืนวัตถุสามมิติประเภทที่มีความซับซ้อนซึ่งหมายถึงมีรยางค์มากได้ดีและยังสามารถรองรับการค้นคืนวัตถุสามมิติที่มีท่าทางที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซึ่งอัลกอรึทึมที่นำเสนอนั้นมีค่าความแม่นเฉลี่ยเท่ากับ 0.447en_US
dc.description.abstractalternativeIn recently, 3D has been being used in many area which affects to the number of 3D models. From all of the above there is an increasing need for a retrieval method to find the right object. However retrieval method in the past not support transformation of 3D object and high computing time. In this research, the algorithm for shape retrieval on a collection of 3D model is proposed. Our algorithm uses a reeb graph to represent structural properties and to decompose 3D model into subparts. Moreover, the surface of each subpart is described by a Fast Pose Oblivious Shape Signature .We measure the similarity between 3D models based on the Approximate Maximum Common Sub graph which has a capability of topology preservation. We use a collection of 3D models, which can be classified into 30 categories and each category consists of 20 models, for testing algorithm. The number of vertices of the testing 3D models is within 10000-20000. From the experimental result, Our algorithm is efficient and fast for retrieving on a collection of 3D model and also supports the 3D model that have different transformation for retrieval on different transformation. Moreover, our algorithm is suitable for the complex 3D Models and 3D Models that have clear appendages. The average precision of our method is 0.447.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการค้นคืนวัตถุสามมิติแบบบางส่วนโดยใช้เรปกราฟและฟังก์ชันเส้นผ่าศูนย์กลางรูปร่างen_US
dc.title.alternativeTHREE DIMENSIONAL OBJECT PATIAL RETRIEVAL USING REEB GRAPH AND SHAPE DIAMETER FUNCTIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPizzanu.K@Chula.ac.th,kpizzanu@gmail.com,Pizzanu.K@Chula.ac.then_US
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570502021.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.