Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45636
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราพงษ์ จรัสศรีen_US
dc.contributor.authorดาริณี ชำนาญหมอen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:03:51Z-
dc.date.available2015-09-17T04:03:51Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45636-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่อง “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อผู้หญิงกับการยุติความรุนแรง” นี้ เป็นการวิจัยสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและแนวคิดในการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์เพื่อผู้หญิงกับการยุติความรุนแรง ภายใต้มุมมองที่ว่าผู้หญิงมีสิทธิเรียกร้องหรือต่อสู้เพื่อปกป้องตนเองจากความรุนแรง ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย สื่อสารสนเทศ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การสัมมนา เกณฑ์มาตรฐานศิลปินและประสบการณ์ของผู้วิจัย รวมถึงการศึกษาแนวความคิดในการสร้างผลงานนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ของ นราพงษ์ จรัสศรี จากนั้นจึงทำการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล สรุปผล และนำเสนอเป็นผลงานวิจัย โดยเก็บข้อมูลในช่วง เดือนมกราคม 2556 ถึงเดือนธันวาคม 2557 ได้ผลงานการแสดงนาฏยศิลป์สร้างสรรค์เพื่อผู้หญิงกับการยุติความรุนแรง ซึ่งอธิบายตามองค์ประกอบทางด้านนาฏยศิลป์ ดังนี้ บทการแสดง แบ่งตามองค์ประกอบที่สำคัญทางนาฏยศิลป์ คือ ลีลา เครื่องแต่งกาย และเสียงประกอบการแสดง ลีลา ใช้เทคนิคที่โดดเด่นของ อิสดอรา ดันแคน มาร์ธา แกรแฮม ดอริส ฮัมเฟรย์และท่าทางในชีวิตประจำวันมาสร้างสรรค์ใหม่ เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์ประกอบการแสดง เน้นความเรียบง่าย ลดทอนจากความจริงเหลือเพียงโครงสร้างหรือสัญลักษณ์ที่สำคัญเท่านั้น เสียงประกอบการแสดง สร้างสรรค์จากภายในความคิดคำนึงและกิจกรรมในชีวิตประจำวันของผู้หญิง นักแสดงสามารถสื่อสารอารมณ์ของการแสดงสู่ผู้ชมได้ การจัดแสงไม่ใช้สีสันมากจนลดความสำคัญของลีลาการเคลื่อนไหว และการออกแบบพื้นที่ที่จัดแสดงให้เป็นส่วนหนึ่งตามสถานการณ์ที่เกิดในบทการแสดง ส่วนแนวคิดของการสร้างสรรค์นั้น เรียงลำดับตามความสำคัญได้ดังนี้ แนวคิดสตรีนิยม แนวคิดความเสมอภาคทางเพศ แนวคิดด้านสัญญะ การใช้ทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์และทัศนศิลป์ การใช้ความหลากหลายของรูปแบบการแสดง การบูรณาการความหลากหลายทางวัฒนธรรม การคำนึงถึงการสื่อสารทางการแสดง การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อสังคมen_US
dc.description.abstractalternativeThis creative research aims to find out a form and an idea for dance creation to stop violence to women, from a woman’s perspective with the idea that women all have the right to protect themselves from violence. The data were collected between January 2013 to December 2014. The data were collected from documents, interviews, media, field studies, seminars, the standards on qualifications of national artists, the researcher’s experience, and Professor Naraphong Charassi’s ideas on creative dance productions. The data were analyzed, synthesized, summarized and presented. The final production could be explained by dance elements. The first element is the script which is comprised of three significant features: movements, costume and sound. The movements are a mix of the techniques of Isadora Duncan, Martha Graham and Doris Humphrey and everyday movement. The second element is costume and props which emphasize simplicity, showing only the significant structures and symbols. The next element is sound which creates from women’s thoughts and daily routines. Another one is lighting which was designed not to be too colorful to hinder the significance of the movements. Another element is the design of the scene which attempted to create the actual scene according to the script. And the last element is the concepts of the production which are respectively listed according to the significance: feminism, equal rights, symbolism, theories of dance and visual arts, the variety of the performances, the integration of cultural diversity, communication, creativity and creative dance for society.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1024-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสตรีนิยมในศิลปกรรม
dc.subjectความรุนแรงต่อสตรี
dc.subjectการเต้นรำ
dc.subjectการออกแบบท่าเต้น
dc.subjectFeminism in art
dc.subjectWomen -- Violence against
dc.subjectDance
dc.subjectChoreography
dc.titleการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เพื่อผู้หญิงกับการยุติความรุนแรงen_US
dc.title.alternativeTHE DANCE CREATION TO STOP VIOLENCE ON WOMENen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNaraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1024-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586803735.pdf13.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.