Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45637
Title: นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา
Other Titles: THE DANCE FROM CONCEPT OF TRILAKSANA IN BUDDHISM
Authors: ธรากร จันทนะสาโร
Advisors: นราพงษ์ จรัสศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Naraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.com
Subjects: ธรรมะ
ศิลปกรรมพุทธศาสนา
นาฏศิลป์ไทย
Dharma (Buddhism)
Dramatic arts, Thai
Buddhist art
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ และเพื่อค้นหาแนวคิดในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ถือเป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบสหสาขาวิชาจากแนวคิดพระพุทธศาสนา ปรัชญาวิทยา สัญญาณวิทยา และศิลปกรรมศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบเกณฑ์มาตรฐานศิลปิน แบบวิเคราะห์จากเอกสารและตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับงานนาฏยศิลป์ และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์การแสดง และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในด้านการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์เป็นการนำเรื่องราวของหลักสัจธรรมไตรลักษณ์ทางพระพุทธศาสนามาสร้างสรรค์เป็นงานพุทธศิลป์ลักษณะหนึ่ง โดยเป็นการแสดงสาระสำคัญของอนิจจตา (การเกิดขึ้น) ทุกขตา (การตั้งอยู่) และอนัตตา (การดับไป) สามารถจำแนกตามองค์ประกอบการแสดงนาฏยศิลป์ได้ 8 ประการคือ 1) บทการแสดง สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ภายใต้ลักษณะและความหมายของไตรลักษณ์ 2) นักแสดง มีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ การสื่อสารอารมณ์และความหมาย 3) ลีลา นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) เสียง ใช้เสียงที่บรรเลงจากเครื่องดนตรีที่สร้างบรรยากาศและความรู้สึกของสมาธิหรือการเข้าฌาน 5) อุปกรณ์การแสดง นำเสนอผ่านแนวคิดมินิมอลลิสม์ (minimalism) ที่เน้นการใช้สัญลักษณ์ ความเรียบง่าย ประหยัด และเข้าใจง่าย คือ ดอกบัวและเทียนไข 6) พื้นที่การแสดง ได้สลายรูปแบบการแสดงดั้งเดิมที่ต้องแสดงในโรงละครเท่านั้น โดยจัดแสดงในพื้นที่แบบเปิดในลักษณะอื่น 7) แสง ใช้แนวคิดทฤษฎีของสีมาช่วยในการถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้สึก และลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ และ 8) เครื่องแต่งกาย ใช้การออกแบบบนพื้นฐานแนวคิดมินิมอลลิสม์ (minimalism) ไม่มุ่งเน้นการแบ่งแยกเพศสภาพและมีความเป็นเอกภาพ นอกจากนี้แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ได้ให้ความสำคัญใน 7 ประเด็นคือ 1) การคำนึงถึงปรัชญาทางพระพุทธศาสนา 2) การคำนึงถึงความเรียบง่ายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 3) การคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 4) การคำนึงถึงสัญลักษณ์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 5) การคำนึงถึงทฤษฎีด้านนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และทัศนศิลป์ 6) การคำนึงถึงการสะท้อนสภาพสังคมโดยใช้นาฏยศิลป์ และ 7) การคำนึงถึงการแสดงที่สร้างสรรค์เพื่อเยาวชน ดังนั้นผลการวิจัยทั้งหมดนี้จึงมีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ ผู้วิจัยได้จัดนิทรรศการผลงานนาฏยศิลป์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาคม มีผู้เข้าชมผลงานทั้งสิ้น 249 คน เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา นิสิตและนักศึกษาทางด้านนาฏยศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏยศิลป์ นาฏยศิลปิน อาจารย์สอนนาฏยศิลป์ในระดับมหาวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ผลจากการประชาพิจารณ์และจากแบบสอบถามสรุปได้ว่า การนำแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนามาใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานนาฏยศิลป์มีความแปลกใหม่และเกิดความท้าทาย ทั้งต่อตัวผู้สร้างงานและผู้ชม และผู้เข้าร่วมชมการแสดงยอมรับรูปแบบและการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์ในครั้งนี้ เห็นว่าเป็นองค์ความรู้ที่ควรเผยแพร่และมีคุณค่าต่อพุทธศาสนิกชนทุกระดับ
Other Abstract: The objective of this dissertation is to create dance works and to explore dance creation concept. This research has been regarded as creative research and qualitative research applying the method of interdisciplinary research sciences from Buddhism, Philosophy, Semiology, and Fine and Applied Arts. Research tools include standard criteria of artists, analysis from documents and textbooks, electronic media that are related to dance, and in-depth interviews with specialists. Data will be analyzed, synthesized, supported dance, and summarized respectively. Findings shown that the creation of dance work has been the creation of the story for the Buddhism truth principal of Trilaksana (three characteristics of existence) as a Buddhistic Art in another style. It has been an expression of the essence of Anicca (impermanence), Dukkha (stress and conflict), and Anatta (non-self) The 8 performance elements can be classified including 1) script being newly created under style and meaning of three characteristics of existence, 2) performer with abilities of dance, meaning and emotional communication, 3) choreography being presented through postmodern dance format, 4) music through the use of melody producing voice from musical instrument that crates climate and emotion of concentration or contemplation, 5) properties being presented through minimalism concept with emphasis on the use of symbol, simplicity, saving, easy comprehension which are lotus and candle, 6) performance area through disintegration of original performance style that must be performed in theater only to be showed in open area in other forms, 7) light design using Theory of Color as an aid in transmitting story, emotion and chronology, and 8) attire design using minimalism concept-based design without focus on sexuality separation and with unity. Moreover, dance creation concept focuses on 7 aspects which are 1) consideration on Buddhism philosophy, 2) consideration on simplicity in accordance with postmodern dance, 3) consideration on creative thinking in dance performance, 4) consideration on symbol in dance performance, 5) consideration on dance theory, music, and visual arts, 6) consideration on reflection of society using dance; and 7) consideration on creative performance for youths. Therefore, this entire research has been consistent and in line with the objective in all respects. Researcher has arranged dance exhibition to gain public feedback. Audiences include 249 dance secondary-level students, undergraduates, dance specialists, dance artists, dance teachers in university and secondary school, and public. Findings from public criticism and questionnaires had shown that application of Trilaksana in Buddhism concept as a part of dance is unique and challenging for both exhibitors and audiences. Audiences also perceived that this creative dance is the knowledge worth sharing to all Buddhists.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45637
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1025
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1025
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586807235.pdf25.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.