Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46101
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนิดา ปรีชาวงษ์ | en_US |
dc.contributor.advisor | ชนกพร จิตปัญญา | en_US |
dc.contributor.author | อวยพร สวัสดี | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:22:14Z | |
dc.date.available | 2015-09-18T04:22:14Z | |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46101 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยแบบสหสัมพันธ์ ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ อาการปวด คุณภาพการนอนหลับ การทำหน้าที่ด้านร่างกาย ภาวะโภชนาการ ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคมกับความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้แนวคิดความเหนื่อยล้าของไปเปอร์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 140 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยในครั้งแรก อย่างน้อย 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 ปี อายุระหว่าง 18 - 59 ปี ที่เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่ง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการเจ็บป่วย แบบประเมินอาการปวด แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินความเหนื่อยล้า เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .61,.64 .84, .92 และ .94 ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีคะแนนเฉลี่ยความเหนื่อยล้าเท่ากับ 4.03 (SD = 1.43) โดยพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.7 รายงานความเหนื่อยล้า 2. เพศ อายุ และการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 3. อาการปวด คุณภาพการนอนหลับ อาการซึมเศร้า มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ( r =.35, r = .53, r = .56 ) ส่วนการทำหน้าที่ด้านร่างกาย และภาวะโภชนาการมีความสัมพันธ์ทางลบกับความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ( r =-.26, r = -.49) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this descriptive correlation study was to investigate fatigue in poststroke patients and to study the relationships among gender, age, pain, sleep quality, physical function, nutrition status, depression, anxiety, social support, and fatigue in poststroke patients.The conceptual framework was based on the Piper’s Integrated Fatigue Model. A Convenient sample of 140 poststroke patients was recruited from the neurology outpatient departments in three tertiary hospitals. All participants responded to a set of six questionnaires: demographic characteristics questionnaire, the Pain scale, the Pittsburgh Sleep Quality Index, the Hospital Anxiety Depression Scale, the Social Support Questionnaire and the Fatigue Severity Scale. All instruments were tested for content validity by 5 experts, and their reliability were .61, .64, .84, .92, and .94 respectively. Frequency, percentage, mean standard deviation and pearson 's product correlation were used in data analysis. The study findings can be summarized as follows: 1. The average Fatigue Severity Scale score for the sample of poststroke patients was 4.03 +/- 1.43. About fifty six percent of the sample reported fatigue. 2. Gender, age, social support were not significantly correlated with fatigue in poststroke patients. 3. Pain, sleep quality, depression and anxiety were significantly correlated with fatigue in poststroke patients(r =.35, r = .53, r = .56; r = .46; p-value <0 .01) Physical function and nutrition status were negatively correlated with fatigue (r =-.26, r = -.49; p-value <0 .01) | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.826 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย | |
dc.subject | โรคหลอดเลือดสมอง | |
dc.subject | ความล้า | |
dc.subject | การนอนหลับ | |
dc.subject | Cerebrovascular disease -- Patients | |
dc.subject | Cerebrovascular disease | |
dc.subject | Fatigue | |
dc.subject | Sleep | |
dc.title | ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง | en_US |
dc.title.alternative | FACTORS ASSSOCIATED WITH FATIGUE IN POST- STROKE PATIENTS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sunida.P@Chula.ac.th,psunida.cu@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | Chanokporn.J@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.826 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5577209536.pdf | 5.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.