Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49615
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | เนตินันทน์ ศาสนนันทน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2016-10-10T09:54:09Z | - |
dc.date.available | 2016-10-10T09:54:09Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49615 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่มีบทบัญญัติให้จัดตั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญขึ้นมาเป็นครั้งแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การใช้อำนาจรัฐเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และเมื่อได้จัดตั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญขึ้นมาแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ยังได้กำหนดให้มีการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญด้วย โดยรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรผู้มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ดังที่ปรากฏไว้ในมาตรา 266 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติยังเกิดปัญหาหลายประการ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติมาตรา 266 เอง โดยเฉพาะปัญหาการไม่มีนิยามของคำว่า “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” และคำว่า “ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่” ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังที่ปรากฏในมาตรา 214 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาบางประการยังไม่เหมาะสมและขัดต่อหลักกฎหมายมหาชนด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงทำการศึกษาเปรียบเทียบเขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ระหว่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงพบว่าบทบัญญัติมาตรา 214 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 แก้ปัญหาไม่ถูกต้องนัก และขัดต่อหลักกฎหมายมหาชน ผู้เขียนจึงได้มีข้อเสนอ ดังนี้ ควรกำหนดให้องค์กรศาล และองค์กรอื่นของรัฐ หรือกลุ่มบุคคล อยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยความขัดแย้งระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ควรกำหนดให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่ให้ความเห็นในกรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ควรยกเลิกการระบุว่า รัฐสภา คณะรัฐมนตรี เป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ และไม่ควรกำหนดรายชื่อองค์กรตามรัฐธรรมนูญชัดเจน ควรกำหนดให้สิทธิประธานรัฐสภา สามารถเสนอเรื่องขึ้นสู่ศาลรัฐธรรมนูญได้ หากเห็นว่ามีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ | en_US |
dc.description.abstractalternative | Constitutional Organs were established in Thailand for the first time by the Constitution B.E. 2540. The objective of the Constitutional Organs is to effectively monitor the use of state power. The Constitution B.E. 2540 also established the jurisdiction of the Constitutional Court on the adjudication on the competence disputes of the Constitutional Organs which stated in Article 266 .However, there are problems occurred relating to provision of article 266 especially, legal problems on sources of the Constitutional Organs and duties which led to the efforts to resolve mentioned problems which stated in article 214 of the Constitution B.E. 2550. This Thesis studied on the conditions and then compared the conditions of the Constitution B.E. 2540 with the Constitution B.E. 2550. From the study, the author found that the efforts to resolve mentioned problems is not suitable and still has the impact on the principles of public law. The author ,thus, proposes the resolution. First of all, stipulate that “courts, government agencies and group of people” are subject to the adjudication on the competence disputes. Second, establish the organization for interpretation of Constitutional Organs duties. Third, the Constitutional Organs should have not been determined explicitly. Lastly, the President of the National Assembly should be entitled to submit the matter to the Constitutional Court if he realizes that the disputes occurred. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1558 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | รัฐธรรมนูญ -- ไทย | en_US |
dc.subject | รัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ | en_US |
dc.subject | ศาลรัฐธรรมนูญ | en_US |
dc.subject | Constitutional -- Thailand | en_US |
dc.subject | Constitutional courts | en_US |
dc.title | เขตอำนาจศาลรัฐธรรมนุญที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนุญ : ศึกษาเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 | en_US |
dc.title.alternative | jurisdiction of the constitutional court on the adjudication on the competence disputes of constitutional organs : a comparative study of constitution of the kingdom of thailand, B.E. 2550 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Kriengkrai.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1558 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
netinan_sa.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.