Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49723
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ผุสดี หลิมสกุล | |
dc.contributor.advisor | ไพโรจน์ ทองคำสุก | |
dc.contributor.author | ธีรภัทร์ ทองนิ่ม | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2016-11-07T08:52:18Z | |
dc.date.available | 2016-11-07T08:52:18Z | |
dc.date.issued | 2556 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49723 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่อง “แบบแผนและกลวิธีการพากย์ - เจรจาโขนของกรมศิลปากร” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์แบบแผนวิธีการพากย์-เจรจาโขน ตลอดจนศึกษากลวิธีในการพากย์ - เจรจาโขนของกรมศิลปากรที่สืบทอดจากกรมมหรสพในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน โดยพิจารณาวิเคราะห์จากบทโขน วิดิทัศน์บันทึกการแสดงโขน สัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน และประสบการณ์ตรงของผู้วิจัย ทั้งนี้ผู้วิจัยแบ่งการศึกษาและวิเคราะห์ออกเป็น ๒ ส่วน คือ แบบแผนการพากย์ - เจรจาโขน และ กลวิธีการพากย์ - เจรจาโขน โดยใช้ทฤษฎีและแนวคิดทางด้านคีตศิลป์ และสังคีตศิลป์ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงที่สัมพันธ์กัน ผลการศึกษาพบว่า ประเภทของการพากย์มิได้แบ่งตามเนื้อหาบทพากย์ที่ได้แบ่งไว้แต่เดิม แต่แบ่งตามทำนองในการพากย์ คือ ทำนองปกติ หรือ พากย์เดินทำนอง ทำนองเพลงชมดง ในหรือพากย์ชมดง และทำนองเพลงโอ้ปี่ใน หรือ พากย์โอ้ สำหรับการเจรจานั้น มี ๒ ประเภท คือ เจรจาด้น และเจรจากระทู้ ใช้ทำนองในการเจรจา ๓ ทำนอง คือ เจรจาทำนองบรรยาย หรือ เจรจาเดินทำนอง เจรจาทำนองพูด และ เจรจากวนมุข กลวิธีในการเจรจานั้นจำเป็นต้องใส่อารมณ์ตามบริบท และอารมณ์ของตัวโขนที่แสดงในขณะนั้น เพื่อสร้างอรรถรสให้กับผู้ชม ทั้งการพากย์และการเจรจาโขนนับเป็น “หัวใจสำคัญของการแสดงโขน” ซึ่งแสดงถึงปรีชาญาณของ ผู้พากย์-เจรจาโขนได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ ผู้พากย์-เจรจาเป็นผู้มีความรู้ทางด้านคีตศิลป์ สังคีตศิลป์ ภาษาศาสตร์ วรรณคดี อีกทั้งเป็นผู้สร้างบทโขน เป็นผู้ควบคุมการแสดง ทั้งยังแสดงถึงทักษะองค์ความรู้ผ่านการพากย์ - เจรจาโขน และเป็นผู้มีปฏิภาณไหวพริบ รวมถึงกระบวนการถ่ายทอดของครูพากย์ – เจรจาโขนของกรมศิลปากร นอกจากนี้แล้วยังแสดงให้เห็นว่า ผู้พากย์-เจรจาโขนเป็นบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งต่อการแสดงโขนทั้งก่อนการแสดง ขณะแสดง และหลังการแสดง | en_US |
dc.description.abstractalternative | This thesis, titled “The Styles and Techniques of the Department of Fine Arts’ Khon Narratives and Dialogues”, aims to analyze the styles and techniques of Khon narratives and dialogues that have been passed down from the time of the Department of Entertainment (Krom Mohorasop) in the reign of King Rama VI to the present-day staff of the Department of Fine Arts. The analysis was based on the narrative scripts and video tapes of Khon performance, interviews with the Department’s staff and the researcher’s direct experiences. The research data and analysis were divided into two sections: Khon narrative and dialogue styles and Khon narrative and dialogue techniques. Theories and concepts in the two related disciplines of music art and singing provided the framework for this thesis. The research findings are: Khon narration styles are not classified by the script content, as in the old days, but by the narrative rhythms which consist of Thamnong Pokkati or Park Dern Thamnong, Pleng Chom Dong Nai or Park Chom Dong, and O Peenai or Park O rhythms. There are two categories of dialogue, Jeraja Don and Jeraja Kratoo, and three dialogue rhythms – Jeraja Thamnong Banyai or Jeraja Dern Thamnaong, Jeraja Thamnong Pood and Jeraja Kuan Mook. The key to successful narration and dialoguing is the inclusion of appropriate expression of the performer’s emotion in the right context during the performance. The art of Khon narratives and dialogues is the “Heart of Khon Performance” which clearly reflects the intelligence and skills of the narration and dialoguing artists who must be knowledgeable in singing, music, linguistics, and literature. They are also the script writer and director of Khon performance. Their wisdom and wit are reflected in their scripts and narration. These artists are the product of the dynamic training process provided by the masters of Khon narration and dialogue in the Department of Fine Arts. This research has shown that Khon narration and dialoguing artists play crucial role in all phases of Khon performance –before, during, and after the performance. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1580 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โขน | en_US |
dc.subject | ละคร -- ไทย | en_US |
dc.subject | Khon (Dance drama) | en_US |
dc.subject | Theater -- Thailand | en_US |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.title | แบบแผนและกลวิธีในการพากย์-เจรจาโขนของกรมศิลปากร | en_US |
dc.title.alternative | The styles and techniques of the Department Of Fine Arts’ Khon Narratives and dialogues | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | นาฏยศิลป์ไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | bunditlim@hotmail.com | |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2013.1580 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
theeraphut_to.pdf | 7.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.