Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49818
Title: | การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดมรรคมีองค์แปดและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมสำหรับเยาวชนกลุ่มเสี่ยง |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF A NON-FORMAL EDUCATION PROGRAM BASED ON THE CONCEPTS OF THE NOBLE EIGHTFOLD PATH AND NEO-HUMANIST TO ENHANCE MORAL INTELLIGENCE FOR AT-RISK JUVENILES |
Authors: | อภิรดี ผลประเสริฐ |
Advisors: | วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา ภัทรพล มหาขันธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Worarat.A@Chula.ac.th,aeworarat@yahoo.com akkaroo@gmail.com |
Subjects: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน มรรค 8 Non-formal education Eightfold path |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดมรรคมีองค์แปดและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมสำหรับเยาวชนกลุ่มเสี่ยง 3) ศึกษาผล ปัจจัยและเงื่อนไขของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นไปใช้ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการในการป้องกันปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดจากเยาวชนกลุ่มเสี่ยง โดยการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ 1) การศึกษาความต้องการในการเรียนรู้จากกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนอาชีวศึกษาระดับปวช. ในสถาบันการอาชีวศึกษากลุ่มเสี่ยง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 21 แห่ง รวม 394 คน 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดมรรคมีองค์แปดและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมสำหรับเยาวชนกลุ่มเสี่ยง 3) ศึกษาผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนอาชีวศึกษากลุ่มเสี่ยงระดับ ปวช. จำนวน 30 คน ในสถาบันการอาชีวศึกษากลุ่มเสี่ยงแห่งหนึ่ง แล้ววิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขของการนำโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นไปใช้ จากข้อมูลการสัมภาษณ์นักเรียนกลุ่มทดลอง และวิทยาร่วม 4) ศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการในการป้องกันปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดจากเยาวชนกลุ่มเสี่ยง โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 7 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาความต้องการในการเรียนรู้เยาวชนกลุ่มเสี่ยง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมในระดับมาก และมีความต้องการเรียนรู้ตามลำดับดังนี้ 1) ด้านความเป็นธรรม2) ด้านความเคารพ 3) ด้านการควบคุมตนเอง 4) ด้านความอดทน 5) ด้านความรู้สึกผิดชอบชั่วดี 6) ด้านความเมตตา และ 7) ด้านการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น 2. องค์ประกอบของการพัฒนาโปรแกรมมี 8 องค์ประกอบ คือ 1) วัตถุประสงค์ 2) ผู้สอน 3) ผู้เรียน 4) เนื้อหาสาระ 5) กิจกรรมการเรียนรู้ 6) สื่อการเรียนรู้ 7) การวัดและประเมินผล 8) การสะท้อนกลับ 3. ผลการทดลองของโปรแกรม พบว่าเยาวชนกลุ่มเสี่ยงมีคะแนนความฉลาดทางจริยธรรมก่อนและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมความฉลาดทางจริยธรรม และปัจจัยและเงื่อนไขประกอบด้วย ด้านปัจจัยได้แก่ 1) ครูผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) เนื้อหาสาระ 4)กิจกรรมการเรียนรู้ คือ กระบวนการ “ParRRRa” 5) สื่อการเรียนรู้ 6) บรรยากาศในการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของห้องเรียน และด้านเงื่อนไข ได้แก่ 1) ระยะเวลาในการเรียนรู้ 2) การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติและฝึกฝน 3) การเสริมแรงให้แรงจูงใจและการสร้างแรงบันดาลใจผู้เรียน 4) การประเมินผลและการสะท้อนกลับ 4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการในการป้องกันปัญหาความรุนแรงที่จะเกิดจากเยาวชนกลุ่มเสี่ยงมีดังนี้ 1) ด้านนโยบาย 3 ข้อ ได้แก่ สถานศึกษาอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครที่มีเยาวชนกลุ่มเสี่ยงควร (1) ปฏิบัติต่อเยาวชนกลุ่มเสี่ยงด้วยความเมตตา เข้าใจ จริงใจ และเป็นธรรม (2) มีการดำเนินการเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดจากเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษาด้วยความเป็นธรรม (3) จัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการลดความรุนแรง ด้วยแนวคิดสุนทรียภาพ และแนวคิดความฉลาดทางจริยธรรม 2) ด้านมาตรการ 13 ข้อ อาทิ (1) สร้างครูฮีโร่ทั้งชายและหญิงในสถานศึกษา (2) มีคณะกรรมการสอบสวนที่มีความเป็นธรรม (3) มีการบูรณาการและพัฒนาหลักสูตรทุกระดับการศึกษาเพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางจริยธรรม |
Other Abstract: | This quasi-experimental research aimed to: 1) study learning needs to enhance Moral Intelligence (MI) for at-risk juvenile; 2) develop non-formal education program based on the concepts of Noble Eightfold Path and Neo-humanist to enhance Moral Intelligence for at-risk juvenile; 3) study the relevant factors and conditions affecting the developed program; 4) study recommended policies and preventive measures to reduce violent problems caused by at-risk juvenile. The research was divided into 4 phases: 1) assessment of learning needs of 394 vocational students from 14 at-risk state and private institutions under Office of the Vocational Education Commission and Office of the Private Education Commission Supervision, Ministry of Education; 2) development of a non-formal education program based on learning needs; 3) program implementation was applied to 30 vocational students from an at-risk vocational institution, and analysis of data obtained from interviewing the experiment group and the facilitators for relevant factors and conditions affecting the developed program; 4) analysis of data obtained from interviewing seven experts for recommended policies and preventive measures to reduce violent problems caused by at-risk juvenile. The findings of the research were as follows: 1. The learning needs of at-risk juvenile to enhance Moral Intelligence were at high level and identified in 7 areas in the following orders: 1) fairness, 2) respect, 3) self-control, 4) tolerance, 5) conscience, 6) kindness, and 7) empathy. 2. There were eight components for the developed program: 1) objectives, 2) instructors, 3) learners, 4) content, 5) learning activities, 6) learning media, 7) measurement and evaluation, and 8) reflection. 3. After the experiment, the results showed the experimental group scored significantly higher than before the experiment at the significance level of 0.05 in knowledge and behaviors. In addition, six factors were included in the program implementation: 1) instructors, 2) learners, 3) content, 4) learning activities (Process of “ParRRRa”), 5) learning media, 6) learning atmosphere and classroom environment. Four conditions were: 1) learning period of time, 2) hands-on learning and practice, 3) learner’s motivation and inspiration, and 4) evaluation and reflection 4. Three recommended policies and thirteen preventive measures recommendations for the vocational institutions in Bangkok were: 1) Three policies: (1) treat at-risk juvenile with kindness, understanding, sincerity, and fairness; (2) manage violent crisis caused by at-risk juvenile with fairness (3) provide learning activities affecting violent reduction by concepts using of Moral Intelligence; 2) thirteen preventive measures, such as (1) promote Heroes of Teachers in institutes (2) promote committee with fairness to judge the cases caused by at-risk juvenile; (3) integrate Moral Intelligence in curriculum development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การศึกษานอกระบบโรงเรียน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49818 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1219 |
DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1219 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5284295227.pdf | 5.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.