Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49824
Title: | นาฏยลักษณ์ของนางโขน |
Other Titles: | Performances of female characters in the Khon masked drama |
Authors: | พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ |
Advisors: | ผุสดี หลิมสกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | bundit@hotmail.com,sg.bundit@gmail.com |
Subjects: | โขน ศิลปะการแสดง สตรีในศิลปะการแสดง Khon (Dance drama) Performing arts Women in the performing arts |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่อง “นาฏยลักษณ์ของนางโขน” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นาฏยลักษณ์ของตัวนางในการแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ โดยมุ่งเน้นบทบาทนางโขนที่เป็นตัวเอกของเรื่องและของตอน รวมทั้งวิเคราะห์บริบททางสังคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับนาฏยลักษณ์ของตัวนางโขน โดยใช้แนวคิดเรื่องสตรีตามคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ของอินเดีย และทฤษฎีนาฏยศาสตร์ของพระภรตมุนี มาเป็นหลักในการวิเคราะห์เพื่อแสวงหานาฏยลักษณ์ของนางโขน ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีดำเนินการวิจัยหลักได้แก่ การค้นคว้าข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การเข้าร่วมสัมมนา และการอภิปรายเกี่ยวกับการแสดงโขน ที่จัดโดยกรมศิลปากรและหน่วยงานอื่นๆ การเข้ารับชมและการถ่ายทอดบทบาทนางโขนจากศิลปินต้นแบบ จากนั้นได้วิเคราะห์นาฏยลักษณ์ของนางโขนรวมทั้งนางโขนในบริบททางสังคมเป็นรูปเล่มวิทยานิพนธ์ และเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ในรูปแบบของบทความวิจัยในวารสารระดับชาติ/นานาชาติ ผลการวิจัยพบว่า นางโขน หมายถึงบทบาทของเพศหญิงในการแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ของไทย ซึ่งได้อิทธิพลมาจากบทบาทของสตรีในรามายณะของอินเดีย แบ่งตามชาติกำเนิดได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ นางฟ้า นางมนุษย์ นางอมนุษย์ นางยักษ์ และนางลูกครึ่ง เมื่อพิจารณาจากปัจจัยจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ รูปพรรณสัณฐาน บุคลิกภาพ ลีลาท่ารำ การแสดงอารมณ์ และพลังในการแสดง พบว่า สามารถแบ่งนาฏยลักษณ์ของนางโขนออกได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มนางโขนที่รำแบบนางมนุษย์ กลุ่มนางโขนที่รำแบบ นางมนุษย์และนางยักษ์ และกลุ่มนางโขนที่รำแบบนางมนุษย์และสัตว์ ซึ่งแต่ละกลุ่มใช้แม่ท่าและท่ารำทางด้านนาฏยศิลป์ไทยตามบทบาทในการดำเนินเรื่อง นาฏยลักษณ์ของนางโขนในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากนางละคร ด้วยเหตุแห่งการใช้ผู้หญิงแสดงบทบาทนางโขนแทนผู้ชายแบบดั้งเดิม รวมทั้งมีการบรรจุบทร้องและท่ารำตามแบบแผนละครเข้ามาผสมผสาน ทำให้นาฏยลักษณ์ของนางโขนมีความแตกต่างไปจากการแสดงโขนแบบโบราณ บริบททางสังคมที่ส่งอิทธิพลต่อการแสดงบทบาทนางโขนที่ชัดเจนที่สุดคือ จารีตประเพณีแห่งราชสำนักไทย เนื่องจากการแสดงโขนเป็นหนึ่งในเครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ ซึ่งส่งอิทธิพลในด้านแบบแผนการแสดงที่เกี่ยวข้องกับบทบาทนางโขน ในด้านสัญลักษณ์แทนคุณธรรมจริยธรรม บทบาทนางโขนตัวสำคัญเป็นเครื่องสะท้อนความดี – ความชั่ว และคุณธรรมจริยธรรมที่ต้องการจะส่งสารให้ผู้ชมโขนได้ตระหนักผ่านสุนทรียรสในขณะชมการแสดงโขนไปพร้อมกัน |
Other Abstract: | The objectives of the present thesis, entitled “Performances of Female Characters in The Khon Masked Drama”, are to examine the dance characteristics of the female characters in the Khon performance of Ramayana focusing on the leading female characters of the epic and its specific episodes, and to analyze the social contexts influencing their dance characteristics. The Manudharmasastra’s views on the position of women and the dance theories of India were used to identify the dance characteristics of the Khon female characters. The principal research techniques employed were: documentary research, interview, participation in seminars and discussions on Khon performance which were organized by the Department of Fine Arts and other organizations, watching Khon performance, and learning to perform the dances of female Khon characters from a master dance artist. The dance characteristics of female Khon characters were then analyzed in their social contexts, compiled into a thesis to be disseminated as research articles in national/international journals. หะ from by the Department of Fine Arts and other organizations, watching Khon performance, and learning of Khon female charac The research found that Nang Khon or the female characters in the Khon performance of the Thai Ramayana, which are influenced by the female roles in the Indian Ramayana, can be classified by their birth into five categories of female angels, female humans, female non-humans, giantess and half-breed females. When considered from the five dance factors of appearance, personality, dance gestures, expression of emotions and energy, the dance characteristics of female Khon characters can be divided into three groups: those who use the dance gestures for female humans, those who use the dance gestures for giantess, and those who use the dance gestures for female humans and animals. Each of these groups adopts the principal and standard dance gestures of Thai dance performance that are appropriate to their specific roles. The dance characteristics of present-day Female Khon characters are significantly influenced by the female characters of Lakorn performance following the fact that the male dancers who used to perform the female roles in the past were replaced by real female dancers. The inclusion of Lakorn-style of singing and dancing into today’s Khon performance has also contributed to the changing dance characteristics of female Khon characters. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49824 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.620 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.620 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5286827535.pdf | 17.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.