Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49826
Title: | นาฏยลักษณ์ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ |
Other Titles: | THE CHARACTERISTICS OF CLASSICAL DANCE DEPICTED IN TRIBHUMI PAINTING BOOKS FROM AYUDHAYA TO RATTANAKOSIN PERIODS |
Authors: | วรกมล วงษ์สถาปนาเลิศ |
Advisors: | วิชชุตา วุธาทิตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vijjuta.V@Chula.ac.th,Vijjuta@yahoo.com |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่องนาฏยลักษณ์ในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา นาฏยลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในสมุดภาพไตรภูมิตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พัฒนาการของนาฏยศิลป์ไทย และเปรียบเทียบความแตกต่างในแต่ละยุคสมัย และศึกษาวิเคราะห์ความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันระหว่างนาฏยศิลป์ไทยกับบริบททางศาสนา สังคม และวัฒนธรรม โดยได้ตั้งสมมุติฐานงานวิจัยว่านาฏยลักษณ์ที่ปรากฏในสมุดภาพไตรภูมิมีความแตกต่างกันไปตามยุคสมัย และปรากฏท่ารำที่สูญหายไปรวมถึงท่ารำที่ไม่พบว่ามีการบันทึกในภาพตำราฟ้อนรำแม่บทมาก่อน นาฏยลักษณ์ และนาฏยศิลป์ไทยมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาทางพุทธศาสนาเรื่องไตรภูมิตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีขอบเขตศึกษาเฉพาะนาฏยลักษณ์ที่ปรากฏในสมุดภาพไตรภูมิ ที่บ่งบอกถึงลักษณะของนาฏยศิลป์ไทยอย่างชัดเจน จำนวน 12 เล่ม ที่อยู่ในหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี จากการศึกษาสมุดภาพไตรภูมิทั้ง 12 เล่ม เป็นสมัยอยุธยาจำนวน 5 เล่ม ปรากฏภาพนาฏยลักษณ์ในสมัยอยุธยาจำนวน 136 ภาพ สมัยธนบุรีจำนวน 2 เล่ม ปรากฏภาพนาฏยลักษณ์จำนวน 68 ภาพ และสมัยรัตนโกสินทร์จำนวน 5 เล่ม ปรากฏภาพนาฏยลักษณ์จำนวน 40 ภาพ จำนวนภาพที่แสดงนาฏยลักษณ์ปรากฏอยู่ในส่วนที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสวรรค์ชั้นต่าง ๆ พุทธประวัติ ป่าหิมพานต์ และทศชาติชาดก ซึ่งเป็นชั้นกามภูมิ ไม่ปรากฏภาพนาฏยลักษณ์ในชั้นนิพพาน อรูปพรหม และชั้นที่เป็นนรก งานนาฏยศิลป์ไปปรากฏในงานจิตรกรรมส่วนใหญ่นิยมสื่อออกมาเพื่อเป็นพุทธบูชา หรือเพื่อพระมหากษัตริย์ ทำให้ ไม่นิยมนำภาพนาฏยลักษณ์มาใช้สื่อในภพภูมินรก ท่าที่พบมากที่สุดคือท่าเทพพนม อาจใช้เป็นสื่อเพื่อแสดงความเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และท่าเหาะเป็นการแสดงอิทธิฤทธิ์ว่าสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ เป็นการเดินทางของเหล่าเทพเทวดาทั้งหลาย นอกจากนั้นยังพบท่าเฉิดฉิน ท่าตระเวนเวหา ท่ากลางอัมพร ท่าบัวชูฝัก ปรากฏให้เห็นเป็นจำนวนมากเช่นกัน สันนิษฐานว่าท่าเหล่านี้สามารถเข้าใจความหมายของการแสดงท่าออกมาได้อย่างชัดเจน เป็นท่าที่แสดงให้เห็นถึงความสวยงาม ความยินดี ความรื่นเริง ดังนั้นจึงพบนาฏยลักษณ์เหล่านี้มากเช่นกัน และปรากฏภาพท่ารำที่สูญหายไปรวมถึงท่ารำที่ไม่พบว่ามีการบันทึกในภาพตำราฟ้อนรำแม่บทมาก่อนจำนวน 13 ท่า นาฏยลักษณ์ที่ปรากฏมีโครงสร้างของท่ารำ ลำตัว การใช้มือ เท้าแบบนาฏยศิลป์ไทยอย่างชัดเจน ลักษณะมือเป็นการตั้งวงไม่ปรากฏว่ามีการใช้มือจีบ รูปแบบการจัดวางภาพ และเนื้อหาเรื่องราวมีความเหมือนกันทุกยุคสมัย แต่ลักษณะระดับของการใช้มือ และเท้า ขนาดรูปร่าง เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ประกอบการแสดงมีความแตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย |
Other Abstract: | This qualitative research entitled ‘the Characteristics of Classical Dance Depicted in Tribhumi Painting Books from the Ayudhaya to the Rattanakosin Periods” aims to compare the characteristics of classical dance in different eras and examine the relationships between classical dance and religious, social, and cultural contexts. The hypotheses were that the characteristics of Tribhumi painting books differed depending on historical periods, that old dance postures disappeared and new ones not recorded in previous instructional materials or included in basic dance postures emerged, and that Thai classical dance from the past till the present was related to the contents of Tribhumi in Buddhism. The scope of the study was the classical dance depicted in twelve Tribhumi painting books kept at the National Library of Thailand, Wasukri Pier. The research results were as follows. First, the twelve painting books comprised five from the Ayudhaya period, two from the Thonburi period, and five from the Rattanakosin period. The Ayudhaya painting books contained 136 images depicting classical dance, while the Thonburi painting books contained 68 and 40 for the Rattankosin painting books. Second, the depictions of classical dance were identified in realms related to the Sensuous Plane, such as several levels of Heaven, the Himavanta, and the Ten Jataka, including in the biography of Lord Buddha. On the other hand, classical dance was not depicted in such realms as Nibbana, the Incorporeal Plane, preta, and asura, thereby leading to its performance only for Buddhist worship or as homage to kings. Third, the most frequently found dance posture was ‘thep phanom’ – a posture demonstrating angels’ travel with their magical ability to fly which represented respect to Lord Buddha and holy spirits. Other dance postures commonly found in Tribumi painting books were ‘cherdchin’ (expression of beauty), ‘trawen weha’ (sky scouring), ‘klang amphon’ (middle of the sky), and ‘bua chu fak’ (rising lotus). The popularity of such postures is likely attributable to their clear presentation of beauty, pleasure, and joy. Fourth, thirteen dance postures were found to disappear or emerge. Fifth, the dance postures depicted in Tribhumi painting books involve the use of the body, the hands and the feet. Rolling and flinging the wrists to form a perpendicular hand posture were common, whereas the hand posture involving pressing the index finger against the thumb with the other fingers spread upward was not found. Finally, in Tribhumi painting books across the three periods, resemblances were identified in terms of the composition of images and contents but not in terms of the use of hands and feet, body size, costume, and props |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49826 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5286830335.pdf | 12.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.