Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50136
Title: | นาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยโพสต์โมเดอร์นดานซ์ (Post – Modern Dance) ชุดอ้างว้าง โดย นราพงษ์ จรัสศรี |
Other Titles: | Post –modern dance in the ‘Loneliness’ Thai contemporary dance series by Naraphong Charassri |
Authors: | ภคพร หอมนาน |
Advisors: | วิชชุตา วุธาทิตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vijjuta.V@Chula.ac.th,Vijjuta@yahoo.com |
Subjects: | ศิลปะการแสดง -- ไทย ศิลปกรรมร่วมสมัย นาฏศิลป์ไทย Performing arts -- Thailand Dramatic arts, Thai |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์แนวความคิด รูปแบบของลีลาการแสดง องค์ประกอบการแสดง ตลอดจนการบริหารจัดการ ของการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในรูปแบบโพสต์โมเดอร์นดานซ์ (Post – Modern Dance) ชุดอ้างว้าง และศึกษาเพื่อนำมาวิเคราะห์ความสำคัญของการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในรูปแบบโพสต์โมเดอร์นดานซ์ ชุดอ้างว้างโดย นราพงษ์ จรัสศรี ที่ส่งผลต่อบริบททางสังคม การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีดำเนินการวิจัยที่หลากหลาย ได้แก่ ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ และเว็บไซต์ต่างๆ รวมทั้งศึกษาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคลากรในการจัดงาน If...International Performing Arts Festival เทศกาลศิลปะ โดยรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์และดำเนินการจัดทำเป็นรูปเล่ม งานวิจัยในระดับต่อไป ผลการศึกษาจากการดำเนินการดังกล่าวพบว่ารูปแบบของการแสดงประกอบด้วย นักแสดงเครื่องแต่งกาย เพลงประกอบการแสดง ฉาก สถานที่ที่ใช้ในการแสดง อุปกรณ์ประกอบการแสดงการแต่งหน้าทำผม การฝึกซ้อม รวมถึงแนวคิดของการออกแบบลีลาและการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นแนวคิดของการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในรูปแบบนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในรูปแบบโพสต์โมเดอร์นดานซ์ ชุดอ้างว้าง ศิลปินต้องการที่สื่อให้เห็นถึงความอ้างว้าง ความเหงาของมนุษย์ที่ประสบกับสภาวะดังกล่าวของแต่ละเชื้อชาติ โดยนำเสนอผ่านการแสดงในรูปแบบโพสต์โมเดอร์นดานซ์ ศิลปินได้หยิบยก นำอุปกรณ์ต่างๆอาทิ ม่านสีขาว สุนัข ไม้พาย เป็นต้น นำมาใช้ในการแสดงเพื่อสื่อในเชิงสัญญาลักษณ์ของความเหงาโดยนราพงษ์ จรัสศรี ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกการแสดงในรูปแบบนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย และเล็งเห็นถึงประโยชน์ทางด้านการศึกษาในวงการนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในอนาคต ทั้งนี้ความสำคัญของการแสดงนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัยในรูปแบบโพสต์โมเดอร์นดานซ์ ชุดอ้างว้างที่ส่งผลต่อบริบททางสังคม อาทิ ทางด้านสังคมและสิทธิของผู้สูงอายุ การศึกษา เศรษฐกิจ และผู้ชมการแสดงอันเป็นประโยชน์ต่อนิสิต นักศึกษา และประชาชนบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจทางด้านนาฏยศิลป์ไทยร่วมสมัย เพื่อเป็นการต่อยอดทางด้านความคิด การออกแบบ และก่อให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิภาพต่อไปตามลำดับ |
Other Abstract: | The objectives of this thesis are to study and analyze about concept, movement, element of performance and management of Thai performing arts in the form of Post-Modern Dance: Loneliness and to analyze the important of Thai contemporary dance in form of Post-Modern Dance: Loneliness affecting to social context by Dr. Narapong Jarassri. Various research methodologies are applied, including secondary data from books, journals, websites, and field study which includes in-depth interview with participants in the event If...International Performing Arts Festival. Relevant data are gathered for analysis and report. Findings show that performance consists of actors, costumes, music, background, location, props, makeup, rehearsal, dance design and Everyday Movement. This portrays the concept of contemporary Thai performing arts in form of Post – Modern Dance: Loneliness. The artist want to convey the loneliness and desolation of human who suffer with this conditions of each nationality by performing arts in form of Post – Modern Dance that artist uses performance devices such as white curtains, dog and paddle and the new performance created by Narapong Jarassri, renowned as pioneer of contemporary Thai performing arts, who anticipates the benefits of its originality in contemporary Thai performing arts education in the future. The relevance of Post – Modern Dance Loneliness influences social contexts such as social, rights of the elderly, education, economic and audiences. It supports students and public who are interested in contemporary Thai performing arts, thus promoting idea generation, and performance design in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นาฏยศิลป์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50136 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.596 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.596 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5786604335.pdf | 5.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.