Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50172
Title: การสร้างสรรค์ศิลปะด้วยแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมการผลิตลวดลายบนรถบัสทัศนาจร
Other Titles: Creativity of art based on the inspiration from production culture in Thailand tourist coaches
Authors: พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ
Advisors: กมล เผ่าสวัสดิ์
เกษม เพ็ญภินันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kamol.Ph@Chula.ac.th,Kamoldoxza@gmail.com
Kasem.P@Chula.ac.th,monsieurkasem@yahoo.com
Subjects: การสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ)
กราฟิกอาร์ต
New media art
Creation (Literary, artistic, etc.)
Graphic arts
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงสร้างหลักของงานวิจัยในครั้งนี้ภายใต้วัตถุประสงค์ ว่าด้วยเรื่องการศึกษา วัฒนธรรมการผลิตลวดลายข้างรถบัสทัศนาจร และการศึกษากระบวนการผลิตเกม หรือศิลปะ นิวมีเดีย การศึกษาวัฒนธรรมการผลิตลวดลายข้างรถบัสทัศนาจรนั้นมีส่วนสัมพันธ์ กับบทบาท ประชากรศึกษา 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการ หรือเจ้าของรถบัสเช่า กลุ่มช่างเพ้นท์ และกลุ่มผู้ใช้บริการ ผ่านเครื่องมือที่พัฒนามาจากแนวคิด ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ โดยนำมาสังเคราะห์สู่การศึกษากลไกและการผลิตเกม ในรูปแบบงานศิลปะ ที่ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด ให้ผู้ชมมีส่วนร่วม ให้เกิดการเรียนรู้ เข้าใจ ความงามที่เป็นต้นแบบจากงานผลิตลาย ที่มีอยู่จริงตาม ท้องถนน ความเข้าใจเรื่องรสนิยม การประกอบสร้างอัตลักษณ์ ที่ล้วนแล้วแต่ให้ความหมาย มากกว่าความเข้าใจจากตัวลายที่ปรากฏทางสายตาตามท้องถนน สู่ประเด็นแนวคิดแบบวัฒนธรรม ทางสายตา และสัญวิทยา การสร้างสรรค์ศิลปะนิวมีเดีย จากการศึกษาวัฒนธรรมเชิงการผลิตและกระบวนการผลิต “ศิลปะลวดลายข้างรถบัสทัศนาจรไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ผู้ชมงานสามารถสร้างสรรค์ ลวดลายรถบัสทัศนาจรได้ด้วยตนเอง ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในผลงานสร้างสรรค์กับศิลปิน เปรียบ เสมือนเจ้าของรถบัสที่ควบคุมผลงานการผลิตลวดลายที่ได้ปรากฏทั่วไปตามท้องถนน โดยตัว แนวคิดทางศิลปะนี้ถูกสังเคราะห์มาจากแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยม ผ่านงานศิลปะ ป๊อปอาร์ท แนวคิดอัตลักษณ์ รสนิยม-ชนชั้น ที่ทำให้เน้นชัดเจนในวัฒนธรรมทางสายตา สิ่งเหล่านี้ได้นำมาถูกถ่ายทอดผ่านกลไกของเกม ที่ใช้เป็นสื่อกลางในผลงานการสร้างสรรค์ศิลป ะในครั้งนี้ โดยผู้วิจัยสร้างสรรค์เครื่องมือในเกมที่ยังคงแสดงรูปลักษณ์ของรถบัสจากกลุ่ม ผู้ประกอบ การที่เป็นแรงบันดาลใจในงานวิจัย โดยมีผู้ชมกลายเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานจากเกมให้ปรากฏ คล้ายคลึงและสามารถแสดงถึงรสนิยม วัฒนธรรมประชานิยม เป็นสำคัญ
Other Abstract: The structure of this research is based on the objectives relating to the study of the production culture of the pattern on tourist coaches and the study of game production or new media art. The study of the production culture of the pattern on tourist coaches is in conjunction with the roles of 3 population groups, including entrepreneurs or the coach owners, painters, and clients. The tools for the study were developed from theories of Social sciences and Humanities. Those theories were synthesized and applied to the study of the mechanisms and game production in form of art work. The researcher has audiences take part in the game so as to make them learn and understand the aesthetics which is originated from the real patterns found in everyday life. The understanding of the tastes and the construction of identity, which can convey the meaning more than the understanding of the pattern, leads to the concept of visual culture and semiology. The creation of new media art from studying of production culture and production processes of ‘the art of the pattern on tourist coaches’ is to aim for encouraging the audiences, as the participants, to join the artist for creating the pattern on tourist coach by themselves. This is compared as the coach owners who control the production process of the pattern on tourist coaches found in daily life. This art concept was derived from the concept of popular culture presented via pop art, together with the concept of identity and taste – social class, all of which emphasize the visual culture. All these are conveyed by game mechanisms used as the medium of this art work. The researcher created tools in the game to represent the figure of the tourist coach which was an inspiration of this research. The audiences were allowed to take part as the creators of art, and that could mainly represent their taste and popular culture.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50172
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.613
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.613
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5386809335.pdf10.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.