Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50426
Title: | การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ผ่านพัฒนาการด้านปรัชญาในเรื่องพระมหาชนก |
Other Titles: | THE CREATION OF DANCE VIA PHILOSOPHICAL DEVELOPMENT OF MAHAJANAKA STORY |
Authors: | คมชวัชร์ พสูริจันทร์แดง |
Advisors: | นราพงษ์ จรัสศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Naraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.com |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์เรื่อง “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ผ่านพัฒนาการด้านปรัชญาในเรื่องพระมหาชนก” เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ อันมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวคิด ไปจนถึงรูปแบบในการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณคดีชาดก และบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ 9 เรื่อง พระมหาชนก ทั้งนี้ยังได้มุ่งเน้นในการนำหลักปรัชญาที่สำคัญจากวรรณคดีดังกล่าว คือ ปรัชญาแห่งความเพียร ปรัชญาแห่งการศึกษา มาเป็นแนวคิดหลัก พร้อมด้วยข้อมูลที่ได้สืบค้นในอีกหลายส่วน เช่น ข้อมูลเชิงเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจำแนกออกเป็นองค์ประกอบทางนาฏยศิลป์ทั้ง 8 ประเด็น ได้แก่ 1) บทในการแสดงสร้างสรรค์ขึ้นจากหลักปรัชญาในเรื่องพระมหาชนก 2) นักแสดงที่มีทักษะความสามารถทางนาฏยศิลป์ 3) ลีลาที่นำเสนอผ่านนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ (post-modern dance) 4) ดนตรีในการแสดงที่สร้างสรรค์บรรเลงขึ้นใหม่จากเชลโล่ (Cello) และเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic music) 5) การไม่เน้นใช้อุปกรณ์การแสดงเพื่อให้นักแสดงเป็นหลักในการสื่อสาร สัญลักษณ์ต่าง ๆ ทางปรัชญา ผ่านแนวคิดมินิมอลลิสม์ (Minimalism) 6) พื้นที่การแสดงที่ไม่จำกัดเฉพาะโรงละคร โดยสามารถแสดงได้ในพื้นที่แบบอื่น ๆ 7) แสง ในการแสดงที่บ่งบอกเรื่องราวและอารมณ์ในแบบต่าง ๆ โดยใช้ทฤษฎีของสีในการสร้างบรรยากาศ และ 8) เครื่องแต่งกายที่ดูเรียบง่าย อำนวยความสะดวกต่อการเคลื่อนไหวของนักแสดง นอกจากนี้ยังได้ให้ความสำคัญใน 7 ประเด็น คือ 1) การคำนึงถึงปรัชญาทางวรรณคดีชาดก และบทพระราชนิพนธ์ เรื่องพระมหาชนก 2) ความเรียบง่ายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 3) ความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 4) การใช้สัญลักษณ์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 5) การคำนึงถึงทฤษฎีทางนาฏยศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และสถาปัตยกรรม 6) การคำนึงถึงการสะท้อนถึงสภาพสังคมในปัจจุบันโดยใช้นาฏยศิลป์ และ 7) การคำนึงถึงการแสดงที่สื่อสารเพื่อคนรุ่นใหม่ จากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นถึงปรัชญาอันทรงคุณค่าที่ได้แฝงไว้ในเรื่องพระมหาชนก ซึ่งจะมีความแตกต่างจากรูปแบบของการแสดงพระมหาชนกที่ปรากฏหลายครั้งที่ผ่านมาในประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นการบูรณาการและเผยแพร่นาฏยศิลป์กับปรัชญาจากวรรณคดีชาดกไปพร้อม ๆ กัน และได้รูปแบบการสื่อสารทางนาฏยศิลป์แนวใหม่ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคมในอนาคต |
Other Abstract: | The objective of this creative research, THE DANCE CREATION VIA PHILOSOPHICAL DEVELOPMENT OF MAHAJANAKA, is to figure and analyze the philosophical school of thoughts and to project the ideas through creative dance. The scope of the research is emphasizing on the philosophy derived from MAHAJANAKA, the literature composed by His Majesty the King Bhumibol Adulyadej. Those philosophy are PERSEVERANCE and EDUCATION. In term of performance work piece, there are 8 elements: 1) the performance scripts are derived from philosophical ideas of MAHAJANAKA 2) skillful performers, 3) Post modern dance form is utilized, 4) the music is a new arrangement piece played by Cello and electronic music devices, 5) no any kind of props in the performance , 6) there is no limitation on the venue of performance stages 7) color of lighting is used to emphasize the mood of the scene 8) costume must be simple to free the movement of the performers. In addition, there are another 7 issues taken into consideration: 1) the philosophical thoughts of MAHAJANAKA are well conveyed to the audience, 2) the simplicity of the Post Modern dance form is applied, 3) the performance style must be creative, 4) performance symbols are used, 5) all facets of performance arts must be considered; dance form, audio, visual, and architectural structure, 6) the performance must mirror the situation of todays society, 7) the performance must be easily understanding by the new generation. This new innovation of performance arts will bring about the value and better comprehension of the core philosophy of the literature, MAHAJANAKA. This dance piece is new and totally different from the other versions ever performed in Thailand. This advanced development of performance arts will be served as a communication tool that will help to convey the idea of fable literature to the society. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | ศิลปกรรมศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50426 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5686803835.pdf | 16.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.