Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50429
Title: การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากแนวคิดการแบ่งภาคของพระนารายณ์
Other Titles: THE CREATION OF DANCE FROM CONCEPT UPON NARAYANA’S REINCARNATIONS
Authors: วรรณวิภา มัธยมนันท์
Advisors: นราพงษ์ จรัสศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Naraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์จากแนวคิดการแบ่งภาคของพระนารายณ์ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัยเชิงสร้างสรรค์และการวิจัยเชิงคุณภาพจากความรู้สหสาขาวิชา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก เอกสาร ตำรา การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสื่อสารสนเทศ การสำรวจข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์ เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทดลอง แก้ไขและสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์จากแนวคิดการแบ่งภาคของพระนารายณ์ เสนอการแบ่งภาคทั้ง 3 แบบของพระนารายณ์ คือ อวตาร (Avatara) อาเวศ (Avesa) และ อังสะ (Amsa) ผสมผสานบทวรรณกรรมเรื่องลิลิตนารายณ์สิบปาง ถ่ายทอดในรูปแบบการแสดงนาฏยร่วมสมัย และการใช้สัญลักษณ์ สามารถจำแนกองค์ประกอบการแสดง 8 ประการ คือ 1) บทการแสดง สร้างสรรค์บทการแสดงขึ้นใหม่ตามแนวคิดการแบ่งภาค 2) ใช้นักแสดงที่มีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ 3) ลีลา นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 4) เสียง ใช้เครื่องดนตรีไทยประกอบการแสดง 5) อุปกรณ์การแสดง นำเสนอผ่านแนวคิดมินิมอลลิซึม (Minimalism) ที่เน้นการใช้สัญลักษณ์ และความเป็นเอกภาพ 6) เครื่องแต่งกาย ใช้แนวคิดมินิมอลลิซึม (Minimalism) 7) พื้นที่การแสดง ใช้โถงกว้าง 8) แสง ใช้แนวคิดทฤษฎีของสีมาช่วยในการถ่ายทอดเรื่องราว แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์มี 6 ประการ คือ 1) แนวคิดการแบ่งภาคของพระนารายณ์ 2) แนวคิดการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์บนพื้นฐานของวรรณกรรมลิลิตนารายณ์สิบปาง 3) แนวคิดการใช้สัญลักษณ์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 4) แนวความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงนาฏยศิลป์ 5) แนวคิดการใช้ทฤษฎีทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ 6) แนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม การวิจัยเชิงสร้างสรรค์ครั้งนี้ จึงเป็นการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อพัฒนาผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ร่วมกับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับศาสตร์แขนงอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นสื่อทางความคิดเกี่ยวกับวรรณกรรมลิลิตนารายณ์สิบปาง อีกทั้งเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ต่อไป
Other Abstract: The objective of this dissertation is to study the style and the thought of dancing creativity from Narayana’s Reincarnations Concept by conducting creative and qualitative research methodologies which are 1) Documentary research 2) Expert interview 3) Media information 4) Field survey 5) Observation 6) Standard of dancing arts role model. The findings were analyzed, synthesized, and summarized. As a result, the creation of dance from concept upon Narayana’s Reincarnations, presented all of the three Narayana’s Reincarnations: Avatara, Avesa, and Amsa. Combined with the literature “The 10 Postures of Narayana Rhyme”, the dance was performed as a modern dance and symbolic dancing performance. The details of the performance consisted of 1) Performance script composition, which was re-created from the belief in Narayana’s reincarnations 2) Role of actors/actresses 3) Dancing design, which was of modern dance 4) Sound and music by Thai classical music instruments 5) Prop design with minimalism concept, which was of unity and symbols 6) Costume design with minimalism concept. 7) Spacing design 8) Lighting design which used color theory for the storytelling Moreover, there were six creative concepts: 1) The stories of Narayana’s Reincarnations 2) The creative dance based on the literature “The 10 Postures of Narayana Rhyme” 3) Symbols of Dance 4) The creativeness of the performance 5) Conduction of fine and applied arts theories 6) Cultural diversity. Thus, this creative research was to collect the knowledge in order to improve the dancing performance which, together with the cognitive exchange with other disciplines, would help communicate the context of “The 10 Postures of Narayana” and would become the ideal for creating the further dancing performances.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50429
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686816035.pdf15.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.