Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50946
Title: | การออกแบบอัตลักษณ์โดยใช้สัญญะภาพสัตว์ เพื่อสื่อสารแบรนด์ อาร์คิไทป์ |
Other Titles: | THE IDENTITY DESIGN BY USING ANIMAL SEMIOTIC TO COMMUNICATE BRAND ARCHETYPE |
Authors: | ฆนาพงษ์ ภุมรินทร์ |
Advisors: | อารยะ ศรีกัลยาณบุตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Araya.S@chula.ac.th,araya.chula@yahoo.com |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความหมายของสัตว์ชนิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบอัตลักษณ์ (Identity Design) ที่สามารถสื่อสารแบรนด์ อาร์คิไทป์ (Brand Archetype) ได้ ดำเนินวิธีการวิจัยโดย 1) หากลุ่มเป้าหมายที่ให้ความสนใจ หรือให้ความสำคัญกับเรื่องแบรนด์ จากงานวิจัย และบทความอ้างอิงต่างๆ 2) ค้นหารายชื่อสัตว์ชนิดต่างๆ และทำการวิจัยว่ามีทั้งหมดกี่ชนิดที่กลุ่มเป้าหมายรู้จัก โดยการสอบถามกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน ซึ่งในแต่ละกลุ่มต้องมีผู้ที่รู้จักสัตว์ชนิดนั้น 3 คนขึ้นไป และคัดเลือกเฉพาะคำตอบที่ตรงกันทั้ง 2 กลุ่มมาใช้ในขั้นตอนต่อไป 3) ศึกษาทฤษฎีแบรนด์ อาร์คิไทป์ และศึกษาแนวโน้มของรูปแบบตราสัญลักษณ์ (Logo Trend) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ จัดกลุ่มสัตว์ของสัตว์ และรูปแบบตราสัญลักษณ์ว่ามีความหมาย หรือมีลักษณะตรงกับอาร์คิไทป์ใด และนำผลสรุปกลับไปวิจัย โดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อคัดเลือกสัตว์ และรูปแบบของตราสัญลักษณ์ที่สามารถสื่อสารอาร์คิไทป์นั้นๆ สรุปผลการหากลุ่มเป้าหมาย พบว่ากลุ่มเป้าหมายเจนเนอเรชั่น วาย (Generation Y) คือกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมกับงานวิจัยชิ้นนี้ และได้อาร์คิไทป์ที่แตกต่างกัน 14 อาร์คิไทป์ ได้แก่ วีรบุรุษ นักปราชญ์ ผู้วิเศษ จอมเจ้าเล่ห์ นักค้นหา ผู้ช่วยเหลือ มารดา นักรัก ผู้ไร้เดียงสา เพื่อนสนิท ราชา ผู้สันโดษ ขบถ และผู้สร้าง โดยมีสัตว์ที่เป็นตัวแทนของแต่ละอาร์คิไทป์ทั้งหมด 56 ชนิด และมีรูปแบบตราสัญลักษณ์ที่มีลักษณะตรงกับอาร์คิไทป์ต่างๆ จำนวน 49 รูปแบบ ซึ่งจะนำไปเป็นแนวทางในการออกแบบขั้นต่อไป |
Other Abstract: | This research aimed to analyse the meanings of animals, for the purpose of an identity design which could be used to communicate the brand archetypes. The methods were: 1) seeking interested or brand-orientated target groups from previous researches and cited articles; 2) searching for animal names, and studying the types known by the target groups – by inquiring 2 target groups of 5 participants, at least 3 participants in each group must recognize an animal, then only matched answers from both groups were selected; 3) studying brand archetype theory and logo trends, the experts categorising and matching the animal groups and logo trends to the archetypes, the results were explored via 2 5-participant focus group discussions to select animals and logo trends which could communicate the brand archetypes. The results indicated that the Generation Y target group was the suitable group for this research. There were 14 different archetypes – the hero, the sage, the magician, the trickster, the seeker, the helper, the mother, the lover, the innocent, the companion, the king, the loner, the rebel, and the creator. There were 56 animals which represented each archetype. Also these were 49 logo trends which matched with these archetypes - these will be used for further design. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นฤมิตศิลป์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50946 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5686603635.pdf | 10.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.