Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51170
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมล เผ่าสวัสดิ์en_US
dc.contributor.advisorพรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์en_US
dc.contributor.authorนพรัตน์ กุมภะen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์en_US
dc.coverage.spatialไทย
dc.date.accessioned2016-12-02T06:01:20Z
dc.date.available2016-12-02T06:01:20Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51170
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวีดีโออาร์ต: เรื่องเล่าจากลายผ้าชาติพันธุ์ไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานวีดีโออาร์ตที่สื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างลายผ้า ความเชื่อ การนับถือผีบรรพบุรุษและพิธีกรรมหลังความตายซึ่งยังคงมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่และการรักษาอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ผู้วิจัยใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพโดยทำการเก็บข้อมูลภาคสนาม ณ บ้านไผ่หูช้าง ตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมเป็นระยะเวลา 36 เดือนทำการสัมภาษณ์หมอพิธี ครูสอนภาษาไทยทรงดำ ผู้เฒ่า ผู้นำชุมชนและสมาชิกของบ้านไผ่หูช้าง รวมทั้งใช้วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์ (Participant as Observer) ในพิธีเสนเรือน พิธีป้าดตง พิธีศพ และพิธีเชิญผีขึ้นเรือน และนำข้อมูลการวิเคราะห์เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์วีดีโออาร์ต ทดลองฉายและปรับปรุงทั้งหมด 4 ครั้งโดยผู้ทรงคุณวุฒิและชุมชนชาวไทยทรงดำ จากการศึกษาพบว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำเชื่อถือเรื่องพญาแถนและการนับถือผีบรรพบุรุษอย่างเคร่งครัด มีความเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายจึงประกอบพิธีกรรมหลังความตายโดยใช้ลายผ้าและวัตถุทางวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นเพื่อส่งดวงวิญญาณผู้ล่วงลับให้ได้เดินทางกลับสู่เมืองแถนตามความหวัง ลายผ้าและเครื่องเซ่นปรากฏในการจัดพิธีกรรมทุกครั้งด้วยความหมายที่ซับซ้อนและหลากหลายจากการตีความของสมาชิกในชุมชน ผู้วิจัยทำความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ของลายผ้าและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมหลังความตายโดยศึกษาการใช้เสื้อฮีที่มีลวดลายดอกแปด วิธีการสวมใส่ในพิธีหลังความตายต้องกลับเสื้อด้านในออกข้างนอกเพื่อแสดงลายดอกแปดอันหมายถึงแถนแปดองค์ที่ปกปักรักษาผู้สวมใส่ รวมทั้งเสื้อต๊ก เสื้อก้อมและการนุ่งส้วง วัตถุทางวัฒนธรรมเชิงสัญลักษณ์ในพิธีกรรมของชาวทรงดำเพื่อเป็นการตีความหมายในการสร้างสรรค์ผลงานวีดีอาร์ต ผู้วิจัยใช้ทฤษฎีจินตภาพเพื่อออกแบบผลงานสร้างสรรค์โดยแบ่งโครงสร้างออกเป็น 3 ส่วนคือ ความกลัว ความหวังและความสุขซึ่งมีความยาวทั้งสิ้น 10 นาทีเพื่อนำเสนอสภาวะของผู้ล่วงลับที่มีความกังวลว่าดวงวิญญาณไม่ได้กลับสู่เมืองแถนและสภาวะทับซ้อนของโลกอดีต ปัจจุบันและอนาคต โดยออกแบบสภาวะเหนือจริงของจิตวิญญาณที่กระตุ้นจินตนาการของผู้ชมให้เข้าถึงการตระหนักรู้เกี่ยวกับการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ผ่านพิธีกรรมหลังความตายของชาวไทยทรงดำen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed to study the process of making video art by studying the relationship between textiles and material culture of Thai Song Dam ethnic group and its beliefs of animism, ancestral worships, and rituals after death as a key collective memory to maintain the existence and identity of Thai Song Dam people. Qualitative research methods were employed to collect data at Ban Phai Hu Chang, Ban Phai Hu Chang, Bang Len, Nakhon Pathom province. The concept of fearing that the soul will not be able to return to “Maung Than” (paradise) after death and the hope for the soul to return to Maung Than successfully was investigated by observing three major rituals performed in the community namely pad thong, sen ruang, and cheon phi khun raun. The findings show that the relationship between cultural objects being offered in the rituals and the meanings of textiles are repetitive, complexly interpretive, and collectively communal. Relatives of the dead person wore specific types of black clothes with embroidery of lai pad pattern. By wearing the shirt inside-out, the relatives reveal the pattern stitched inside symbolizing the powerful and benevolent protection of the eight “Than”. The video art contains a three-part structure: fear, hope, and happiness. Imagination Theory was employed in the format of black and white screen edited to the length of ten minutes. It implies the animistic beliefs that sustain the Thai Song Dam community as a collective recognition of past, present, and future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.610-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิดีโออาร์ต
dc.subjectกลุ่มชาติพันธุ์ -- ไทย -- นครปฐม
dc.subjectผ้า
dc.subjectวัฒนธรรมในศิลปกรรม
dc.subjectVideo art
dc.subjectEthnic groups -- Thailand -- Nakorn Pathom
dc.subjectTextile fabrics
dc.subjectCulture in art
dc.titleวิดีโออาร์ต : เรื่องเล่าจากลายผ้า ชาติพันธุ์ไทยทรงดำ จังหวัดนครปฐมen_US
dc.title.alternativeVideo art : narratives from Thai Song Dam ethnic group in Nakhon Pathom Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKamol.Ph@Chula.ac.th,Kamoldoxza@gmail.comen_US
dc.email.advisorPornprapit.P@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.610-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5386802935.pdf10.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.