Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51609
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนุกูล โรจนสุขสมบูรณ์-
dc.contributor.authorเจษฎา เนตรพลับ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialปัตตานี-
dc.date.accessioned2017-02-01T04:41:37Z-
dc.date.available2017-02-01T04:41:37Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/51609-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องการแสดงสิละคณะพิกุลทอง จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ พัฒนาองค์ประกอบการแสดง และวิธีการแสดงสิละของคณะพิกุลทอง จังหวัดปัตตานี โดยศึกษาจากเอกสารการสัมภาษณ์ การสังเกตจากการแสดง ภาพวีดีทัศน์ และการฝึกหัดจากผู้เชี่ยวชาญการแสดงสิละ การศึกษาพบว่า สิละเป็นการแสดงอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม เดิมเป็นศิลปะป้องกันตัว ซึ่งนำท่าทางจากธรรมชาติ 4 ประเภท ได้แก่ ท่าธรรมชาติของมนุษย์ ท่าธรรมชาติของสัตว์ ท่าใช้อาวุธพื้นเมือง และท่าที่ได้แนวคิดมาจากดอกไม้ในอุดมคติ มาดัดแปลงเป็นท่าทางในการต่อสู้ สิละแพร่หลายในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสสลาม สิงคโปร์ และจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล และสงขลา สิละเป็นศิลปะป้องกันตัว เป็นศิลปะการแสดง เป็นกีฬาเพื่อนันทนาการ และเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมพื้นบ้าน คณะสิละพิกุลทองก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2526 โดยสืบทอดการแสดงมาจากสิละของเจ้าเมืองรามัน (ยะลา) ปัจจุบันมีผู้แสดงทั้งชายและหญิงแสดงร่วมกันจำนวน 19 คน มีอายุระหว่าง 14 – 93 ปี ผู้แสดงส่วนใหญ่เริ่มฝึกหัดระหว่างอายุ 9 – 15 ปี และฝึกอยู่ประมาณ 100 วัน การแสดงมีวัตถุปรสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อความบันเทงและเพื่อพิธีกรรม เพื่อความบันเทิงมี 3 ขั้นตอน และเพื่อพิธีกรรมมี 6 ขั้นตอน เพื่อพิธีกรรมมี 3 วัตถุประสงค์ คือ เพื่อไหว้บรรพบุรุษ เพื่อครอบครูสิละ และเพื่อแก้บนรักษาไข้ สถานที่แสดงมี 3 แบบ คือ เวทีติดดิน เวทียกพื้น และเวทีในโรงพิธี ซึ่งมีขนาดกว้าง 5 เมตร และรั้วสูง 1 เมตร เครื่องดนตรีประกอบด้วยกลองแขกคู่ ปี่ซูนา และฆ้อง เพลงที่ใช้ในการแสดง คือ เพลสรหม่าแขก การแสดงสิละของคณะพิกุลทองมี 2 แบบ คือ สิละมือเปล่า และสิละกริช ประกอบด้วย กระบวนท่ารำเดี่ยว และกระบวนทารำคู่ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน คือ 1. รำเดี่ยวไหว้ครู มี 2 แบบ คือ รำไหว้ครุ 2 ทิศและรำไหว้ครู 4 ทิศ ผู้แสดงผลัดกันรำทีละคน 2. รำดูเชิง มี 2 กระบวนๆ ละ 3 เที่ยว ผู้แสดงรำพร้อมกันเป็นวงกลมเวียนขวา หันหน้าเข้าหากัน และยืนตรงกันหรือเหลื่อมกัน 3. รำต่อสู้ มี 3 กระบวน คือ ท่าแทง ท่าฟัน และท่าจับ กระบวนละ 2 เที่ยว ผู้แสพงรำเป็นวงกลมเวียนขวา หันหน้าเข้าหากัน และยืนตรงกันหรืเหลื่อมกัน 4.ร่ำคู่ไหว้ครูจบการแสดง มี 1 กระบวน ผู้แสดงรำพร้อมกัน 2 ทิศ การแสดงสิละเป็นส่วนหนึ่งของวิธีชีวิตของคนไทยในภาคใต้ตอนล่างตลอดมา จึงควรมีการอนุรักษ์และส่งเสริมเพื่อให้สิละเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติสืบไปen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims at studying the historical development, performing elements and performance of Silat by Pikoon Thong Troupe in Pattani province. Research methodology includes documentary, interviewing, observant of live performance, videos and training with Silat dance experts. The study finds that Silat in a kind of Thai Muslim performance. It was originally a martial art form. It dance pattern derived from human and animal nature movements folk weapon fighting movements and symbolic movements depicting mythical flower. Silat is popular in Indonesia, Malaysia, the Philippines, Brunei Darussalam, Singapore and in Pattani, Naratiwat, Yala, Stoon and Songkhla provinces of Thailand. Silat is a martial arts, a dance, a sport and part of folk ritual. Silat Pikoon Thong Troupe was established in 1983. It’s style derived from the Silat of the Majistrate of Raman District (Yala). The trope today comprise 19 male and female dancers age 14-93 years old. Most dancers started their practice at the age of 9-15 year old. The practice last for about 100 days. Silat performance has 2 objectives, for entertainment and for ritual. The former has 3 dance part and the latter has 6 dance sequence. Ritual Slat’s objectives are for ancestor worship, paying homage to gurus, and for thanks giving. Slat stage is either a ground floor, and elevated stage or stage in the hall for ritual performance. Silat ensemble includes a pair of two side drums, an oboe and a large gong. Sramah tune is performed throughout the performance. Silat dance of Pikoon Thong Troupe is divided into 2 types, Silat with bare hands and Silat with Kris performed by one and two dancers. Both dance types are divided into 4 parts: 1. Paying homage to gurus in 2 and 4 directions, 2. Challenging the rival, 3. fighting scene and 4. Conclusion with paying respect to the gurus. Silat has been a part of Thai life in the South for a long time. It should be preserve as one of their precious culture.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.565-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศิลปะการแสดง -- ไทย -- ปัตตานีen_US
dc.subjectการรำ--แง่ศาสนาen_US
dc.titleการแสดงสิละคณะพิกุลทอง จังหวัดปัตตานีen_US
dc.title.alternativeSeni Silat performance of Pikoon Thong troupe in Pattani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAnukoon.R@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.565-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
jetsada_ne_front.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
jetsada_ne_ch1.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
jetsada_ne_ch2.pdf11.2 MBAdobe PDFView/Open
jetsada_ne_ch3.pdf4.56 MBAdobe PDFView/Open
jetsada_ne_ch4.pdf23.61 MBAdobe PDFView/Open
jetsada_ne_ch5.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
jetsada_ne_back.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.