Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52392
Title: | พิธีไหว้ครูดนตรีไทยวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี |
Other Titles: | WAI KRU RITE IN THAI CLASSICAL MUSIC AT LOPBURI COLLEGE OF DRAMATIC ARTS |
Authors: | วราภรณ์ จุ้ยวงษ์ |
Advisors: | บุษกร บิณฑสันต์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Bussakorn.S@Chula.ac.th,bsumrongthong@yahoo.com |
Subjects: | พิธีไหว้ครู ดนตรีไทย |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา บริบทที่เกี่ยวข้องในการจัดพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ขั้นตอนการจัดพิธีไหว้ครูและการบรรเลงของวงปี่พาทย์ประกอบในพิธีไหว้ครูของวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า พิธีไหว้ครูดนตรีไทยวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี เริ่มจัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2526 มีอาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้ประกอบพิธีเป็นท่านแรกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526-2532 ได้มีการผลัดเปลี่ยนผู้ประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีไทยและผู้ช่วยประกอบพิธีในแต่ละปีซึ่งเป็นบุคคลที่มีคุณวุฒิและคุณสมบัติจากวิทยาลัยนาฏศิลปและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ที่ได้รับมอบโองการไหว้ครูจากอาจารย์มนตรี ตราโมท รวม 8 ท่าน ในด้านบริบทที่เกี่ยวข้องพบว่าบริเวณที่ใช้ในการจัดพิธีในปัจจุบัน คือ หอประชุมวิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี พร้อมทั้งมีการตั้งเครื่องบูชากลางแจ้งสำหรับบูชาเทวดาผู้ดูแลเขตพระราชฐานชั้นนอกของวังนารายณ์ตามความเชื่อในท้องถิ่น แบบแผนในการสืบทอดและขั้นตอนการประกอบพิธีไหว้ครูในปัจจุบันยังคงรักษารูปแบบตามที่ผู้ประกอบพิธีได้รับมอบจากอาจารย์มนตรี ตราโมท ทุกประการ พิธีไหว้ครูดนตรีไทยเริ่มขึ้นในช่วงเย็นวันพุธ มีการบรรเลงถวายมือของศิษย์เก่าจากสำนักการสังคีตและสถาบันต่าง ๆ มาร่วมบรรเลงถวายมือเพื่อบูชาพระคุณของครูและเช้าวันพฤหัสบดีภายหลังจากการทำพิธีไหว้ครูสามัญ วงดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีเป็นวงปี่พาทย์พิธีที่บรรเลงโดยนักดนตรีซึ่งเป็นบุคลากรภายในสังกัดที่มีอาวุโสและได้ครอบเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ (เต็มองค์) ทั้งผู้ประกอบพิธี ผู้ช่วยประกอบพิธี ผู้บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ และผู้เข้าร่วมพิธีจะต้องมีการเตรียมเครื่องบูชา ขันกำนล และเตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจเพื่อความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและผู้อื่นโดยสมบูรณ์ |
Other Abstract: | This research aims to study the history and context of the organization of the Wai Kru rite in Thai classical music, its different stages of organization and the performing method of the Pipat orchestra to accompany the Wai Kru rite of Lopburi College of Dramatic Arts. The research methodology was qualitative, consisting of searching for and collecting information. The study found that the Wai Kru rite in Thai Classical music at Lopburi College of Dramatic Arts was first organized in 1983, with Ajarn Montri Tramote performing the rite. He continued performing the rite until 1989. After that, the performers of the Wai Kru rite and the assistants were changed every year but all of them, eight persons in all, were qualified figures, both in terms of their academic qualifications and their personal attributes, from the College of Performing Arts and the Bundhit Phatthanasilp Institute, who had been taught about Wai Kru recitation by Ajarn Montri Tramote. In terms of its context, it was discovered that the current venue for the Wai Kru rite is the auditorium of Lopburi College of Dramatic Arts. In accordance with local belief, an outdoor set of offerings was placed in homage to the guardian deities of the outer court of Narai Palace. Currently, the format and the stages of the rite have meticulously continued to follow what the performers were taught by Ajarn Montri Tramote. The rite begins on Wednesday afternoon, with sacrificial musical performances by the alumni of the Office of Music and of other institutions as an act of respect to music teachers. This is repeated on Thursday morning after the general Wai Kru ceremony. The orchestra playing at the rite is the Pipat orchestra, consists of senior personnel of the College who have undergone and been blessed with the Na Phat Ong Phra Piraph music (at full length). The performers of the rite, the assistants and the players of the Na Path music must prepare sacrificial offerings and a bowl containing the fee to be paid to the music master and they must prepare themselves to be physically and spiritually ready to bring good fortune upon themselves and others. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ดุริยางค์ไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/52392 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.359 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2016.359 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5786736535.pdf | 17.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.