Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5377
Title: | อิทธิพลของอัตราการป้อนและความเร็วรอบของชิ้นงานในแต่ละขั้นตอนย่อย ของการเจียระไนทรงกระบอก (แบบยันศูนย์) ที่มีผลต่อความหยาบผิว |
Other Titles: | Influence of feed rate and work spindle speed in each step of cylindrical grinding process (on center) on the surface roughness |
Authors: | สุรสิทธิ์ ทองทวีชัยกิจ |
Advisors: | ปารเมศ ชุติมา สมชาย พวงเพิกศึก |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Parames.C@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การเจียระไนและการขัด เครื่องมือกล -- การควบคุมเชิงตัวเลข |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาอิทธิพลของสภาวะการตัดในแต่ละขั้นตอนย่อย สำหรับกระบวนการเจียระไนทรงกระบอก (แบบยันศูนย์) ที่มีผลต่อความหยาบผิว (ในที่นี้ คือ ความหยาบผิวเฉลี่ย (Ra)) โดยอาศัยหลักการออกแบบการทดลองทางสถิติ ซึ่งเมื่อทดลองและวิเคราะห์ความแปรปรวนแล้ว พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความหยาบผิวเฉลี่ย คือ อัตราการป้อนล้อหินเจียระไนเข้าหาชิ้นงานในช่วงการเจียระไนละเอียดพิเศษ (D), เวลาหยุดนิ่งหลังการเจียระไนในช่วงการเจียระไนละเอียดพิเศษ (E) และอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัยทั้งสอง (DE) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โดย E มีอิทธิพลสูงที่สุดจากค่า F0 = 29.76 เมื่อใช้ค่า E ในระดับต่ำ หรือใช้เวลาหยุดนิ่งหลังการเจียระไนในช่วงการเจียระไนละเอียดพิเศษนานขึ้น ส่งผลให้ได้ค่าความหยาบผิวเฉลี่ยต่ำลง และ D มีผลกระทบต่อร่องรอยการตัดของผิวสุดท้ายก่อนช่วงเวลาหยุดนิ่ง หลังการเจียระไนในช่วงการเจียระไนละเอียดพิเศษ นั้นคือ หากอัตราการป้อนล้อหินเจียระไนเข้าหาชิ้นงาน ในช่วงการเจียระไนละเอียดพิเศษมีค่าสูง หรือป้อนหนัก (เร็ว) จะทำให้ร่องรอยของการตัด ซึ่งเกิดจากเม็ดขัดมีลักษณะลึก (หรือมียอดสูง) หากเวลาหยุดนิ่งหลังการเจียระไนในช่วงการเจียระไนละเอียดพิเศษไม่นานพอที่จะให้เม็ดขัดเม็ดอื่นๆ เข้ามากำจัดยอดของรอยตัด ส่งผลให้ผิวของชิ้นงานมีลักษณะหยาบ หรือมีค่าความหยาบผิวสูง จากผลการวิจัย เมื่อควบคุมเพียงแต่อัตราการป้อนล้อหินเจียระไนเข้าหาชิ้นงาน ในช่วงการเจียระไนละเอียดพิเศษและเวลาหยุดนิ่งหลังการเจียระไน ในช่วงการเจียระไนละเอียดพิเศษ ให้มีค่าที่เหมาะสม นั้นคือ 0.699 เส้นผ่าศูนย์กลางมิลลิเมตรต่อนาที และ 2.8326 วินาที ตามลำดับ สามารถลดเวลาในการเจียระไนสำหรับชิ้นงานตัวอย่างลงได้ถึง 31.58 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบค่าที่ได้จากการทดลองกับค่าที่ได้จากสมการถดถอย พบว่า มีความถูกต้องถึง 95.24 เปอร์เซ็นต์ |
Other Abstract: | Focused on the effect of cutting condition on surface roughness (roughness average (Ra)) in each step of cylindrical grinding process (on center). After the experiment and analysis of variance, it is found that the parameters which affect on roughness average are micro grinding feed rate (D), feed stop after micro grinding (E) and interaction between the both (DE) at 0.05 level of significance. As F0 = 29.76, It is found that E has greatest effect, when use low level of E (E = -1) or when use longer feed stop after micro grinding. Which contribute to lower Ra. Also, D has effect on Ra as well. D affects lay of finished surface before feed stop after micro grinding. Therefore, if D were high or fast, it would cause deep lay, which is resulted from abrasivel. If E is not long enough for other abrasive to clean top of lay. This leads rough surface or on the other words, high Ra. The result of experiment indicates that when controlling the micro grainding feed rate and the feed stop after micro grinding at appropriate level, the grinding time of specimens can be reduced to 31.58 percent. Consequently, comparing between results from the experiment and those from regression equation, there is about 95.24% accuracy |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5377 |
ISBN: | 9743327584 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
surasit.pdf | 4.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.