Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5490
Title: การใช้ภาพประกอบโฆษณาสินค้าสะดวกซื้อ สำหรับกลุ่มชายรักร่วมเพศทางสื่อนิตยสาร
Other Titles: The use of illustration in advertising convenience goods for homosexual males in magazines
Authors: ปริญญา เฟื่องจันทร์
Advisors: อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: รักร่วมเพศชาย
วารสาร -- ภาพประกอบ
โฆษณาทางวารสาร
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหา "รหัส" ของกลุ่มชายรักร่วมเพศ และแนวทางของการใช้รหัสในภาพประกอบโฆษณาสินค้าสะดวกซื้อ สำหรับกลุ่มชายรักร่วมเพศทางสื่อนิตยสาร ซึ่งรหัสในที่นี้หมายถึง ภาพของสิ่งที่แสดงถึง "ความเป็นชายรักร่วมเพศ" ซึ่งสิ่งนั้นมีความหมายโดยนัยแฝงและเป็นที่รู้กันในกลุ่มชายรักร่วมเพศ โดยวิจัยด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) ซึ่งได้คัดเลือกผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มที่เป็นกลุ่มชายรักร่วมเพศ อายุ 20-35 ปี ที่มีการศึกษาระดับตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ 6 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รหัสของกลุ่มรักร่วมเพศที่ได้จากการสนทนากลุ่ม สามารถจัดหมวดหมู่ของการใช้รหัสได้ในองค์ประกอบของภาพประกอบโฆษณา ซึ่งมี 9 หมวดคือ 1. สถานที่นอกโรงถ่ายทำภาพ และ/หรือในโรงถ่ายทำภาพ 2. วัตถุประกอบภาพ 3. วัตถุประกอบภาพ ที่ใช้สำหรับนักแสดงถือหรือวางใกล้ๆ 4. นักแสดงชาย 5. นักแสดงหญิง 6. สัตว์ที่ใช้แสดงในภาพ 7. เสื้อผ้า เครื่องประดับ รองเท้าสำหรับนักแสดง 8. ออกแบบทรงผมนักแสดง 9. แต่งหน้านักแสดง 2) แนวทางของการใช้รหัสในภาพประกอบโฆษณาสินค้าสะดวกซื้อ สำหรับกลุ่มชายรักร่วมเพศทางสื่อนิตยสาร จึงมีแนวทางการใช้รหัสได้ 2 แนวทางคือ 1. รหัสเพียงรหัสเดียว ก็สามารถใช้สื่อสารกับกลุ่มชายรักร่วมเพศได้ 2. รหัสเดียวไม่สามารถสื่อสารได้ ต้องใช้ประกอบกับรหัสอื่น ซึ่งอยู่ในหมวดเดียวกันหรือหมวดอื่นก็ได้ โดยต้องมีอย่างน้อย 2 รหัส
Other Abstract: To seek the "code" of homosexual males and the guidelines to enhance the use of illustration in advertising the convenience goods for homosexual males through magazine. In this regard, "the code" means picture of object that could imply homosexual males. This code has implicit meaning that is known among this group of people. The method used in this research includes focus group interview that selected the respondents who are homosexual between 20-30 years old, having higher or equal to bachelor degree educational background, living in Bangkok. These people are divided into 2 groups and there are 6 people in each group. The outcome of this study 1) The codes, that are obtained from focus group interviews among homosexual males and can be used in advertising, are categorized into 9 categories : 1. Location and/or Studio 2. Props 3. Hand props 4. Actor 5. Actress 6. Live stock 7. Costume 8. Hair design 9. Make up 2) The guideline of how to use the code in advertising illustration for convenience goods for homosexual males in magazines can be divided into 2 methods : 1. Using one single code in communication among homosexual males. 2. Using the combination of codes (at least 2) in communication among homosexual males. The codes can be from the same or different categories.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นฤมิตศิลป์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5490
ISBN: 9741725035
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parinya.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.