Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55337
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อารยะ ศรีกัลยาณบุตร | - |
dc.contributor.author | ปวินท์ บุนนาค | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2017-10-30T04:35:36Z | - |
dc.date.available | 2017-10-30T04:35:36Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55337 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | เมื่อโลกเกิดปัญหาสภาวะความเสื่อมโทรมทางธรรมชาติ จึงเกิดแนวคิดการอนุรักษ์และทำนุบำรุงทรัพยากรโลกให้คงไว้ซึ่งความสมบูรณ์ รวมไปถึงธุรกิจการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเล็งเห็นความสำคัญของปัญหา ส่งผลถึงความนิยมในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และมีความประสงค์ที่จะท่องเที่ยว โดยไม่ให้เกิดผลกระทบด้านลบกับทรัพยากรทางธรรมชาติและวิถีชีวิตคนในท้องถิ่น มุ่งเน้นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนและเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับนักท่องเที่ยวให้รู้จักรับผิดชอบในการรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติในระยะยาว อันเป็นที่มาของแนวคิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ในด้านการออกแบบ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ นักออกแบบไม่สามารถสื่อสารทฤษฎีการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนผ่านงานออกแบบให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสร้างมาตรฐานการออกแบบเอกลักษณ์องค์กรและการออกแบบเว็บไซต์ โดยใช้วิธีการวิจัยในเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามหลายขั้นตอนและการสัมภาษณ์ กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญและทรงคุณวุฒิ จากนั้นนำมาประมวลผลเป็นแนวทางสร้างรูปแบบมาตรฐานออกงานออกแบบเรขศิลป์ด้านการออกแบบเอกลักษณ์องค์กรและการออกแบบเว็บไซต์ ที่สามารถสื่อสารแนวคิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้อย่างมีเอกลักษณ์ สำหรับเขตพัฒนาการท่องเที่ยวทั้ง 8 เขตในประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว พ.ศ. 2558-2560 ที่กำหนดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผลการวิจัยพบว่าสามารถหารูปแบบมาตรฐานงานออกแบบอัตลักษณ์องค์กรและเว็บไซต์ โดยสามารถระบุทั้งองค์ประกอบและหลักการออกแบบเรขศิลป์ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสื่อสารแนวคิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้ นอกจากนี้ พบว่าเมื่อนำจุดเด่นของเขตพื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวแต่ละเขตใน 8 เขตมาเป็นตัวแปรเพิ่ม จะสามารถระบุองค์ประกอบและหลักการออกแบบเรขศิลป์จากคำตอบในส่วนแรกที่มีความเหมาะสมและแตกต่างกันสำหรับแต่ละเขตได้ ซึ่งทำให้สามารถสรุปเป็นรูปแบบมาตรฐานงานออกแบบอัตลักษณ์องค์กรและเว็บไซต์สำหรับแต่ละเขต อันจะสื่อสารแนวคิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและสื่อสารเอกลักษณ์เฉพาะเขตได้อีกด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | The startling evidences of environmental deteriorations have prompted the public to become more aware of ecosystem preservation and protection. The ideology and practice has been propagated to tourism. In short, “Eco-Tourism” in a steadfastly rising travel trend that lessens carbon footprints, champions local cultures and generates direct incomes towards communities. The practice triggers profound touristic responsibilities on a conscious level as dictated and proven by the sustainable tourism theory. From the design aspect, effective design tools and strategies to communicate and perpetuate the sustainable tourism theory prove problematic and stagnant. This research identifies present-day constricted, static designs as obstacles for eco-tourism design development and aesthetic realizations. The objective of this research is to create a more diversified, progressive design standard for corporate identity designs and web designs in the field of eco-tourism. This research utilizes textual and design analysis as well as observational fieldworks and professional interviews. The method of quantitative research uses questionnaires in various stages. The qualified experts from various fields are selected. The answers are evaluated, examined and calculated to create the design standard for corporate identity designs and web designs that communicate sustainable tourism theory effectively in unique and creative way for the eight developing tourism clusters in Thailand, based on Ministry of Tourism and Sport Division of Thailand’s Thailand Tourism Strategic Plan of Year 2015- 2017. The findings are the standard design of corporate identity and web designs—which include graphic design elements and principles—that can be adapted onto the design process to achieve a complete design communication for the sustainable tourism theory. Furthermore, when incorporated the unique characteristics of each of the eight developing tourism clusters, the findings show the more specific graphic design elements and principles that reflect each different cluster, resulting in a specific design standard for each cluster. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1109 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.title | การพัฒนารูปแบบมาตรฐานงานออกแบบเพื่อสื่อสารทฤษฎีการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน | - |
dc.title.alternative | THE DEVELOPMENT OF STANDARD DESIGN TO COMMUNICATE SUSTAINABLE TOURISM THEORY | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ศิลปกรรมศาสตร์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Araya.S@chula.ac.th,araya.chula@yahoo.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1109 | - |
Appears in Collections: | Fine Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5586810035.pdf | 47.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.