Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55571
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนราพงษ์ จรัสศรี-
dc.contributor.authorสรร ถวัลย์วงศ์ศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2017-10-30T04:39:59Z-
dc.date.available2017-10-30T04:39:59Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/55571-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากแนวคิดความหลากหลายทางเพศ” เป็นการบูรณาการความรู้และแนวคิด ความหลากหลายทางเพศ สัญญะวิทยา ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และศิลปกรรมศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และค้นหาแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์ผลงาน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย และ เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ ทดลอง สร้างสรรค์ ปรับปรุงแก้ไข จัดแสดงผลงานนิทรรศการ และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากแนวคิดความหลากหลายทางเพศ นำเสนอภาพลักษณ์เพศสภาพ เพศวิถี และปรากฏการณ์ทางสังคมที่สัมพันธ์กับความหลากหลายทางเพศ โดยแบ่งตามองค์ทางนาฏยศิลป์ได้ 8 ประการคือ 1) การสร้างบทแสดงขึ้นใหม่จากความหลากหลายทางเพศ 2) การคัดเลือกนักแสดงที่มีความหลากหลายทางเพศและความสามารถทางนาฏยศิลป์ 3) ออกแบบลีลาด้วยรูปแบบนาฏยศิลป์ร่วมสมัยและ แดนซ์ เธียเตอร์ 4) แนวดนตรีมีความหลากหลาย ได้แก่ แทงโก้ ป๊อปแจ๊ส อิเล็กทรอนิกา มาร์ช และคลาสสิค 5) พื้นที่การแสดงปฏิเสธการแสดงในโรงละครตามประเพณี 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดงใช้สัญลักษณ์ของความหลากหลายทางเพศ ได้แก่ ธงสีรุ้ง 7) เครื่องแต่งกายใช้การแบ่งแถบสีธงสีรุ้งสะท้อนแนวคิดความหลากหลายทางเพศ 8) การออกแบบแสงใช้แหล่งกำเนิดแสงและสีของแสงที่ช่วยการถ่ายทอดเรื่องราวความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ 6 แนวคิด คือ 1) แนวคิดความหลากหลายทางเพศ 2) แนวคิดการสร้างนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 3) แนวคิดเรื่องความคิดสร้างสรรค์ในนาฏยศิลป์ 4) แนวคิดสัญลักษณ์ในการแสดง 5) แนวคิดทฤษฎีทางศิลปกรรมศาสตร์ 6) แนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม จากการจัดแสดงผลงานการฟังความคิดเห็นและตอบแบบสอบถามสรุปได้ว่ามีผู้เข้าชมที่มีความหลากหลายทางเพศมากกว่า ร้อยละ 95 พึงพอใจกับการแสดง การนำแนวคิดความหลากหลายทางเพศมาสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยเป็นปรากฏการณ์ที่ท้าทายและสร้างความแปลกใหม่ต่อสังคม ผู้เข้าร่วมชมการแสดงแนะนำให้มีการพัฒนาและเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะมากขึ้น นับได้ว่านาฏยศิลป์เป็นสื่อที่สร้างความรับรู้เรื่องความหลากหลายทางเพศต่อผู้ชมได้ทุกระดับ และ ผลการวิจัยทั้งหมดที่ได้ค้นพบตรงตามวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยต้องการทุกประการ-
dc.description.abstractalternativeThis research study “THE CREATION OF CONTEMPORARY DANCE BASED ON GENDER DIVERSITY” has been created in the light of information about gender and cultural diversity, semiology, and fine arts. The objectives of this qualitative and creative research are to create a contemporary dance and to conceptualize knowledge derived from conducting this research study. The data has been gathered upon related documentation from printed materials and information technological media, interview with the experts, observation, researcher’s background experience, and standard criteria of artists. Then, various sources of information had been analyzed and developed an experiment to form a dancing show which was publicly performed intertwined with an exhibition later on. It is found that this contemporary dance has illustrated the images of gender, sexuality, and the relationship between social phenomenon and gender diversity generating by eight dancing elements: 1) Script writing depicting story the gender diversity. 2) Performers casted from dancing ability and gender diversity. 3) Choreography invented upon contemporary dance and Dance theatre. 4) Music featured from Tango, Pop Jazz, Electronic, March, and Classical. 5) Stage space utilization converted from the traditional theatre. 6) Stage prop (a rainbow flag) signifying the diversity of genders. 7) Costumes with rainbow colors reflected the concept of gender diversity. 8) Light design enhancing the feeling of the show. Besides, there were six elements to be learnt. 1) concepts of gender diversity, 2) contemporary dance creation, 3) creativity in dance, 4) semiology in dance, 5) theories of fine arts, and 6) cultural diversity. According to the survey, it is found that the audiences’ genders were diversified and 95% of them were satisfied with the show. Most of them suggested that this show should be presented to the public. Portraying gender diversity idea was challenging to the social perception but inventive. It could be stated that dancing can be an effective medium to create the perception of gender diversity in the society. Regarding to the result, the objectives of this research have been fulfilled.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1106-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากแนวคิดความหลากหลายทางเพศ-
dc.title.alternativeTHE CREATION OF CONTEMPORARY DANCE BASED ON GENDER DIVERSITY-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineศิลปกรรมศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorNaraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.1106-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786828635.pdf19.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.