Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56443
Title: ฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกันของสารสกัดจากเห็ดนางฟ้าภูฐาน เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดหูหนูในหลอดทดลอง
Other Titles: IN VITRO IMMUNOMODULATORY ACTIVITY OF Pleurotus sajor-caju, Pleurotus abalonus AND Auricularia auricula-judae
Authors: สุมลรัตน์ ปานทอง
Advisors: ศิริพร ชื้อชวาลกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
Advisor's Email: Siriporn.Ch@Chula.ac.th,drsiriporn99@gmail.com
Subjects: ระบบภูมิคุ้มกัน
อนุมูลอิสระ
เห็ดหูหนู
เห็ดนางรม
Immune system
Free radicals (Chemistry)
Auricularia auricula-judae
Pleurotus ostreatus
Pleurotus
Tumor necrosis factor
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยมีการบริโภคและเพาะเห็ดเป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยสนใจศึกษาเห็ดรับประทานได้ที่เป็นที่นิยม 3 ชนิด ได้แก่ เห็ดหูหนู (AA) เห็ดเป๋าฮื้อ (PA) และเห็ดนางฟ้าภูฐาน (PS) โดยนำส่วนดอกเห็ดมาสกัดด้วยเอทานอลโดย soxhlet extraction หรือน้ำที่อุณหภูมิ 4, 22, 50 และ 100 องศาเซลเซียสด้วย maceration technique ทำการตรวจวัดปริมาณฟีนอลและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี Folin-Ciocalteau's method และ Trolox equivalent antioxidant capacity (TEAC) assay พบว่าสารสกัดเอทานอลและน้ำจากเห็ดทั้ง 3 ชนิดมีสารฟีนอลและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกัน และทำการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบของสารสกัดเห็ดด้วยเทคนิค UPLC-HRMS ซึ่งไม่เคยมีการตรวจวิเคราะห์องค์ประกอบในเห็ดด้วยวิธีนี้มาก่อน และพบว่าสารสกัดเอทานอล AA, PS และ PA ยับยั้งการเจริญของ U937 ได้ดี (IC50 0.28±0.04, 0.45±0.01 และ 0.49±0.001 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) เมื่อทดสอบด้วย MTS/MTT โดย AA ที่ 0.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรเป็นพิษต่อเซลล์คิดเป็น 50% เมื่อตรวจวัดด้วย LDH assay ผู้วิจัยคาดว่ากรดกลูตามิคซึ่งพบเฉพาะใน AA และเป็นกรดอะมิโนที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งน่าจะเป็นสารออกฤทธิ์ที่สำคัญใน AA ที่ยับยั้งการเจริญของ U937 จากงานวิจัยนี้พบว่าสารสกัดเห็ดหูหนู AA50 มีฟีนอลสูงสุดและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดเมื่อเทียบกับสารสกัดอื่น และ AA22, AA50 และ AA4 ยับยั้งการเจริญของ U937 ได้ดีกว่า AA100 (IC50 0.04±0.02 0.06±0.01 0.07±0.01 และ 1.56±0.19 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) โดย AA4, AA22 และ AA50 เป็นพิษต่อเซลล์ในขณะที่ AA100 ยับยั้งการเจริญของเซลล์ U937 ได้น้อยและไม่เป็นพิษต่อเซลล์แม้ทดสอบที่ความเข้มข้นสูง ทั้งนี้ตรวจพบกรดกลูตามิคได้ในทุกสารสกัดเห็ดหูหนูแต่ไม่ได้ทำการตรวจวัดปริมาณซึ่งอาจมีแตกต่างกันในแต่ละสารสกัด อีกทั้งการสกัดด้วยอุณหภูมิสูงอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของ AA100 ได้ ส่วนสารสกัดด้วยน้ำของเห็ดเป๋าฮื้อมีฟีนอลแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ แต่ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระไม่แปรผันตามปริมาณฟีนอล พบว่า PA50, PA22 และ PA4 ยับยั้งการเจริญของ U937 ได้ (IC50 0.65±0.32, 1.24±0.41 และ 1.89±0.06 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร) ในขณะที่ PA100 ไม่ยับยั้งการเจริญของ U937 จากการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วย UPLC-HRMS พบกรดกลูตามิคใน PA4, PA22 และ PA50 ส่วน PA100 ที่ไม่ยับยั้งการเจริญของเซลล์ U937 นั้น ไม่พบว่ามีกรดกลูตามิค อุณหภูมิที่ใช้ในการสกัดเห็ดเป๋าฮื้ออาจมีผลต่อการออกฤทธิ์ของสารสำคัญที่พบใน PA100 ทำให้ไม่ยับยั้งการเจริญของเซลล์ เช่นเดียวกันกับสารสกัดเห็ดนางฟ้าภูฐานที่สกัดด้วยน้ำก็ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของ U937 หากแต่กระตุ้นการเจริญของเซลล์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยสารสกัดเห็ดนางฟ้าภูฐาน PS100 และ PS50 มีปริมาณฟีนอลใกล้เคียงกันและมีปริมาณฟีนอลสูงที่สุดเมื่อเทียบกับ PS4 และ PS22 จากผลการศึกษาพบว่า PS50 มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด โดยมีค่าสูงเป็น 3 เท่าของ PS100 ชี้ให้เห็นว่าปริมาณฟีนอลใน PS ไม่มีความสัมพันธ์กับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ทั้งนี้จากผลการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค UPLC-HRMS พบว่าใน PS50 ประกอบด้วยสาร 43 ชนิด ที่ไม่สามารถระบุชื่อ อาจเป็นไปได้ว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ PS50 ที่สูงกว่า PS100 อาจเป็นผลเนื่องมาจากสารต่างๆ เหล่านี้ ผู้วิจัยพบว่า PS22, PS50, PS100 และ PA100 เหนี่ยวนำให้ U937 เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเมื่อศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์ จากการตรวจวัดด้วย sandwich ELISA พบว่าสารสกัดเห็ดนางฟ้าภูฐานทั้ง 3 ชนิดไม่กระตุ้นการหลั่ง TNF-alpha ของ U937 แต่เมื่อนำสารสกัดเห็ดมาทดสอบร่วมกับ PMA กลับพบว่ามีการทำงานเสริมฤทธิ์กันส่งผลให้เซลล์หลั่ง TNF-alpha เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับการกระตุ้นด้วย PMA เพียงอย่างเดียว การศึกษากลไกการออกฤทธิ์ของสารในระดับโมเลกุลจะช่วยให้นักวิจัยเข้าใจ และสามารถนำเห็ดทั้งสามชนิดไปพัฒนาและประยุกต์เพื่อการใช้งาน อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคในเชิงสุขภาพต่อไปได้
Other Abstract: Consumption and cultivation of mushroom in Thailand are very popular. We are interested in 3 edible mushroom strains, including Pleurotus sajor-caju (PS), Pleurotus abalonus (PA) and Auricularia auricula-judae (AA). All mushrooms were extracted in a Soxhlet extraction with ethanol and marceration in water under 4, 22, 50 and 100 ํC. Total phenolic contents and antioxidant activity were detected in vitro using Folin-Ciocalteau's method and Trolox equivalent antioxidant capacity (TEAC) assay, respectively. We displayed varied concentration of phenolic contents and antioxidant activity from all extractions. Antiproliferative effect of AA, PS and PA against U937 were determined by MTT/MTS assay. Ethanol extracts of all mushrooms were found to inhibit U937 proliferation (IC50 of 0.28±0.04, 0.45±0.01 and 0.49±0.001 mg/ml). AA at 0.5 mg/ml induced 50% cytotoxicity detected by LDH assay. We hypothesized that glutamic acid, known as anticancer agent, which is only found in AA might be responsible for antiproliferative activity against U937. Water extract from AA50 contained highest level of phenolic content and antioxidant activity compared with others. Moreover, AA22, AA50 and AA4 inhibited U937 proliferation with IC50 of 0.04±0.02, 0.06±0.01 0.07±0.01 and 1.56±0.19 mg/ml, respectively. Furthermore, AA4, AA22 and AA50 were found to be toxic, whereas AA100 at high concentration which was found not to be toxic to U937 explicited less efficiency to inhibit the proliferation. Varied amount of glutamic acid and temperature used for extraction may affect AA’s activities. We reported that various PA extracted with water displayed different amount of phenolic contents and antioxidation activity. PA50, PA22 and PA4 inhibited U937 proliferation (IC50 of 0.65±0.32, 1.24±0.41 and 1.89±0.06 mg/ml, respectively), while PA100 had no effect on U937. We also found glutamic acid in these 3 extracts expecting that it might induce the inhibitory activity on the cells. There was no glutamic acid in PA100 as predicted and high temperature may affect key compounds responsible for the inhibition. Finally, similar to PA100, all PS extracts could not inhibit U937 but significantly induce cell differention. PS100 and PS50 possessed the highest amount of phenolic content compared to PS4 and PS22. However, we found that PS50 has antioxidant activity 3 time higher that of PS100. Additionally, with limitation of UPLC-HRMS, there are 43 unidentified compounds found in PS50 that might be responsible for its antioxidation effect. Besides, PS22, PS50, PS100 and PA100 induced U937 differentiation visible under microscope. Sandwich ELISA determined that TNF-alpha secreted from U937 was not found after PS treatments, but when applied together, PMA and PS extracts induced significantly higher amount of TNF-alpha compared to PMA treatment alone. In conclusion, understanding the molecular mechanism underlying the mushroom extracts properties will be beneficial for both development and application of usages in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุลทางจุลชีววิทยาทางการแพทย์และวิทยาภูมิคุ้มกัน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56443
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.442
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.442
Type: Thesis
Appears in Collections:All - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5676661337.pdf11.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.