Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56458
Title: ศักยภาพการใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ดเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศไทย
Other Titles: POTENTIAL OF CLINKER SUBSTITUTION FOR CARBON DIOXIDE EMISSION MITIGATION FROM CEMENT INDUSTRY IN THAILAND
Authors: วิษณุ สายรัตนทองคำ
Advisors: วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Weerin.W@Chula.ac.th,weerin_w@yahoo.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2558 –พ.ศ.2579 และประเมินศักยภาพของวัสดุทดแทนปูนเม็ดเพื่อช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก วัสดุทดแทนปูนเม็ดที่สนใจคือ เถ้าลอย เถ้าชานอ้อยและเถ้าปาล์มน้ำมัน การศึกษาแบ่งเป็น 3 กรณีประกอบด้วย 1.ภาพอนาคตกรณีฐาน โดยยึดกระบวนการผลิตปูนเม็ดในปี พ.ศ.2557 เป็นหลัก 2.ภาพอนาคตกรณีการใช้งานเต็มศักยภาพวัตถุดิบ โดยไม่มีข้อจำกัดต่างๆ 3.กรณีกำหนดพื้นที่การใช้งานตามความเหมาะสม โดยกำหนดเงื่อนไขทางการเงินและการขนส่ง การประเมินศักยภาพของเถ้าลอยคำนวณโดยใช้ข้อมูลแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2558 –พ.ศ.2579 การประเมินศักยภาพเถ้าชานอ้อยใช้ข้อมูลจากบัญชีสมดุลของกรมส่งเสริมการเกษตร และการประเมินศักยภาพเถ้าปาล์มน้ำมันใช้ข้อมูลร่างยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ในการวิเคราะห์ได้กำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันในแต่ละภาพอนาคตโดยเฉพาะภาพอนาคตกรณีกำหนดพื้นที่การใช้งานตามความเหมาะสมมีการกำหนดราคาเถ้า (270 บาทต่อตัน) และอัตราค่าขนส่ง (6 บาทต่อกิโลเมตร) ผลจากการวิเคราะห์พบว่าในปี พ.ศ.2579 ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการผลิตปูนเม็ดในภาพอนาคตกรณีฐาน และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงจากภาพอนาคตกรณีใช้งานเต็มศักยภาพวัตถุดิบและ ภาพอนาคตกำหนดพื้นที่ใช้งานตามความเหมาะสม ที่ 47.86 MtCO2 , 43 MtCO2 และ 45.25 MtCO2 ตามลำดับ โดยภาพอนาคตกรณีการใช้งานเต็มศักยภาพวัตถุดิบจะทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงมากที่สุด ผลที่ลดลงได้คิดเป็นร้อยละ 10.15 จากกรณีฐาน คิดเป็นปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงจากการใช้เถ้าลอย เถ้าชานอ้อยและเถ้าปาล์มน้ำมัน ที่ ร้อยละ 6.79, ร้อยละ 2.19 และร้อยละ 1.17 ตามลำดับ
Other Abstract: This research aims to study the greenhouse gases (GHGs) emissions trends in the cement industry in Thailand on 2015 – 2036 and to evaluate the clinker substitution potential for GHGs reduction. The material is used for clinker substitution, which is fly ash, bagasse ash and palm oil fuel ash. The study is divided into 3 cases, which is BAU, FULL and ZONE scenarios. The BAU scenario is based on freezing clinker production process in 2014. The FULL scenario use material without the limitations. The ZONE scenario set the financial terms and transportation terms. The information from Thailand’s Power Development Plan 2015 is used to evaluate the fly ash potential. The information from Balance Sheet of Department of Agricultural Extension is used to evaluate the bagasse ash potential. Finally, the information from the draft strategy palm and palm oils is analysed following the different conditions in each scenarios. Especially, the price of Zone scenario is 270 THB per ton and 6 THB per kilometre for transportation rate. The result from analysing found that in 2036 the volume of carbon dioxide which will occur from clinker production process in BAU scenario and the volume of carbon dioxide mitigation from FULL scenario and Zone scenario is 47.86 MtCO2 , 43 MtCO2 and 45.25 MtCO2 , respectively. The FULL scenario is highest mitigation rate about 10.15 percentage when comparing to BAU scenario. The volume of carbon dioxide mitigation from using fly ash, bagasse ash and palm oil fuel ash is 6.79 percentage, 2.19 percentage and 1.17 percentage, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/56458
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787583020.pdf6.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.