Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57144
Title: | แผนงานวิจัยผู้สูงอายุกับคลังทรัพยากรภูมิปัญญาไทยด้านดนตรีไทใหญ่ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) |
Other Titles: | The wisdom resources of Tai Yai elderly in Chiang Mai province concerning their musical culture |
Authors: | บุษกร บิณฑสันต์ ขำคม พรประสิทธิ์ พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ |
Email: | bussakorn.s@chula.ac.th Kumkom.P@Chula.ac.th Pornprapit.P@Chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Subjects: | ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย (ภาคเหนือ) ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคเหนือ) ไทใหญ่ -- ไทย (ภาคเหนือ) ผู้สูงอายุ -- ไทย (ภาคเหนือ) |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
Abstract: | การวิจัยนี้มุ่งศึกษาผู้สูงอายุกับคลังทรัพยากรภูมิปัญญาไทยในจังหวัดเชียงใหม่ ด้านวัฒนธรรมดนตรีไทใหญ่ พิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้ สัญลักษณ์และความหมายของกลองก้นยาว ผลการวิจัยพบว่า ศิลปินผู้สูงอายุมีบทบาทเป็นผู้รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมดนตรีอันมีเนื้อหาละเอียดและสมบูรณ์กว่าคนรุ่นหลัง และยังคงเป็นผู้ทำหน้าที่สืบสานวัฒนธรรมการบรรเลงทุกๆ ประเภทไม่ว่าจะเป็นการอ่านธรรม การเฮ็ดความ การฟ้อนประเภทต่าง ๆการตีกลองก้นยาว กลองมองเซิง หรือการแสดงลิเกจ้าดไต และพบว่าปี่น้ำเต้า เป็นเครื่องเป่าที่มีผู้สูงอายุเพียง ๑ ท่านบรรเลงได้ และกำลังจะสูญหายไปในไม่ช้า ในด้านพิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้พบว่า การถ่ายทอดความรู้ในด้านดนตรีเป็นไปในลักษณะมุขปาฐะ พิธีกรรมและความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดความรู้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาประสมประสานกับความเชื่อในเรื่องสิ่งเหนือธรรมชาติ พิธีกรรมไหว้ครูสะท้อนภาพรวมวัฒนธรรมของศิลปินดนตรีชาวไทใหญ่ ในการเป็นผู้มีความกตัญญูรู้คุณ มีความเคารพนบนอบต่อครูและผู้อาวุโส ศิลปินดนตรีผู้สูงอายุชาวไทใหญ่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดภูมิปัญญาในด้านดนตรี พิธีกรรมและความเชื่อไปยังคนรุ่นหลัง ผลการวิจัยเรื่องสัญลักษณ์และความหมายของกลองก้นยาวจังหวัดเชียงใหม่พบว่าคลังทรัพยากรภูมิปัญญาของผู้สูงอายุชาวไทใหญ่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดภูมิปัญญาความรู้ทางด้านการลงอักขระและความเชื่อในงานช่างทำกลองก้นยาว ความหมายและสัญลักษณ์ที่พบในกลองก้นยาวของจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกออกได้เป็น ๒ กลุ่มตามกลุ่มอายุ คือ กลุ่มที่เป็นสัญลักษณ์และความหมายที่สืบทอดมาจากมโนทัศน์ของภูมิปัญญาผู้สูงอายุพบว่าสีดำเป็นสีที่ใช้สำหรับการตกแต่งกลองก้นยาว สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่กับธรรมชาติ กลุ่มที่เป็นสัญลักษณ์และความหมายของช่างทำกลองชาวไทใหญ่รุ่นใหม่ พบว่าสีที่ใช้ในการตกแต่งนิยมใช้สีเขียว สีเหลือง สีฟ้าและสีแดง มีลวดลาย สะท้อนให้เห็นถึงอุดมการณ์ทางการเมืองที่ได้รับการถ่ายทอดปรากฏเป็นรูปธรรมเชิงสัญลักษณ์ จากการศึกษากลองก้นยาวทั้งหมด ๑๓๒ ใบใน ๙ อำเภอที่มีชุมชนชาวไทใหญ่พำนักอยู่ พบว่าความยาวเฉลี่ยของกลองก้นยาวคือ ๗๐นิ้ว คลังทรัพยากรภูมิปัญญาของผู้สูงอายุชาว ไทใหญ่นับได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วัฒนธรรมดนตรีไทใหญ่ให้ดำรงอยู่ได้เป็นอย่างดีตราบจนปัจจุบัน |
Other Abstract: | This research is intended to study the wisdom resources of Tai Yai elderly in Chiang Mai province concerning their musical culture: particularly performance culture of Tai Yai music that accompanied the traditions; rites and beliefs related to musical transmission, and symbols and meanings of Glong gon yao. The results show that the elderly artist's wisdom resources in musical knowledge contain more details than the later generation’s content. The elderly still maintain the musical performances such as Glong gon yao, Dharma reading, Hed Kwam, Glong mong seung, Jat Tai Music and the different types of dances. The wind musical instrument called Pi Nam Tao can be played by one elderly and it is at risk for extinction. The study of the rites and beliefs related to the Tai Yai’s musical transmission shows that the musical knowledge is passing on orally. As for ceremonies and beliefs concerning music ceremonies the findings indicate strong faith of Tai Yai musicians in Buddhism combined with supernatural beliefs. The rites reflect the sense of gratitude to the teacher as well as the respect to the elderly. The Tai Yai musical artist elderly play significant role in passing on their musical wisdom to the next generations. Besides their willingness to pass on their knowledge, traditions, and ceremonies, these elderly are also good advisers in reviving, conserving and promoting the Tai Yai’s musical culture. In regard to the system of symbols and meanings of Glong gon yao, two groups of systems can be divided. The first system was inducted from the Tai Yai senior citizens’ paradigm, the black color is mostly used which reflects the connections between life and nature. The second group belongs to the perception of Tai Yai new generation using the green, yellow, blue and red which displays a political ideology of the Shan State. Regarding the study of symbols and meanings of 132 Glong gon yao from the 9 districts, it shows that the average length of Glong gon yao is 70 inches. The senior citizens play important role in preserving the local wisdom and still remain the pillar of the villages in providing references, supporting traditional festivals, and holding a status of leaders in directing rituals as teachers in the community. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57144 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Fine Arts - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
บุษกร_บิณ.pdf | 21.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.