Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57922
Title: การพัฒนาโมเดลทำนายเจตนาที่จะประหยัดพลังงานในที่ทำงานของพนักงานในองค์การ โดยศึกษา : อิทธิพลของผู้นำแบบปฏิรูปที่ให้ความสำคัญในด้านสิ่งแวดล้อม
Other Titles: Development of a model predicting intentions to conserve energy in workplace : the influences of environmental transformational leadership
Authors: ธนดล ประพฤทธิกุล
ธนภณ บัณฑิตย์ดำรงกูล
พัชรธิดา บุญมาก
Advisors: วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Advisor's Email: watch.boonya@gmail.com
Subjects: การอนุรักษ์พลังงาน -- แง่จิตวิทยา
จิตวิทยาอุตสาหกรรม
Energy conservation -- Psychological aspects
Psychology, Industrial
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบตัวแปรปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดเจตนาที่จะประหยัดพลังงานในที่ทำงานและเพื่อพัฒนาโมเดลทำนายเจตนาที่จะประหยัดพลังงานในที่ทำงานของพนักงานภายในองค์การ โดยมีเจตนาที่จะประหยัดพลังงานในที่ทำงานของพนักงานภายในองค์การ เป็นตัวแปรทำนาย มีเจตคติต่อการประหยัดพลังงานภายในที่ทำงาน ความรู้สึกรักสิ่งแวดล้อมและบรรทัดฐานส่วนบุคคล เป็นตัวแปรส่งผ่าน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานชาวไทยที่ทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 243 คน (Mอายุ = 32.07, SD = 8.16 ) ซึ่งมีอายุการทำงานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ผลการวิเคราะห์ Path analysis ด้วยโปรแกรม R Studio เวอร์ชั่น 3.2.2 พบว่า ความกังวลเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมสามารถทำนายเจตนาที่จะประหยัดพลังงานในที่ทำงานของพนักงานได้โดยตรงในทางบวก (β = .18; p < .01) นอกจากนี้ยังพบว่าความกังวลเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมและความผูกพันทางใจกับองค์การ ไม่สามารถทำนายเจตนาที่จะประหยัดพลังงานในที่ทำงานของพนักงานได้โดยอ้อม ผ่านเจตคติต่อการประหยัดพลังงานภายในที่ทำงานและผ่านบรรทัดฐานส่วนบุคคลที่เป็นบวกได้ ในส่วนของผู้นำแบบปฏิรูปที่ให้ความสำคัญในด้าน สิ่งแวดล้อมสามารถทำนายเจตนาที่จะประหยัดพลังงานในที่ทำงานของพนักงานได้โดยตรงในทางบวก (β = .28; p < .01) และสามารถทำนายเจตนาที่จะประหยัดพลังงานในที่ทำงานของพนักงานได้โดยอ้อม ผ่านความรู้สึกรักสิ่งแวดล้อมที่เป็นบวก (β = .23; p < .01) แต่ไม่สามารถทำนายเจตนาที่จะประหยัดพลังงานในที่ทำงานของพนักงานได้โดยอ้อม ผ่านเจตคติต่อการประหยัดพลังงานภายในที่ทำงานที่เป็นบวกได้ คณะผู้วิจัยอภิปรายถึงการประยุกต์ผลการวิจัย สำหรับองค์การ
Other Abstract: The aim of this research are to examine some psychological factors related to the intention to conserve energy in workplace and to develop a model predicting intentions to conserve energy in workplace. Data was collected from 243 (Mage = 32.07, SD = 8.16) Thai employees of private organizations in Bangkok metropolis who have worked with their organization at least 6 months. A path analysis using R Studio version 3.2.2 indicats that, as expected, environment concern significantly and positively predicts intentions to conserve energy in workplace (β = .18; p < .01). Environment concern and affective organizational commitment, however, do not predict intentions to conserve energy in workplace indirectly either via attitudes toward energy conservation at work or personal norms. Environmental transformational leadership positively predicts intentions to conserve energy in workplace directly and indirectly through greater environmental harmonious passion, but not via positive attitudes. Implications of the findings are discussed in terms of applications in workplace.
Description: โครงงานทางจิตวิทยานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2559 A senior project submitted in partial fulfillment of the requirements for the Degree of Bachelor of Science in Psychology, Faculty of Psychology, Chulalongkorn University, Academic year 2016
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/57922
Type: Senior Project
Appears in Collections:Psy - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanadon Praphutikul.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.