Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58815
Title: | Notch signaling in adipogenic differentiation of single-clone-derived mesenchymal stem cells isolated from human adipose tissue |
Other Titles: | สัญญาณนอชท์ในการแปรสภาพเป็นเซลล์ไขมันและเซลล์สร้างกระดูกของเซลล์ต้นกำเนิดเมเซนไคม์ที่แยกได้จากโคลนเซลล์เดี่ยวของเนื้อเยื่อไขมันของมนุษย์ : รายงานวิจัย |
Authors: | Thanaphum Osathanon Prasit Pavasant |
Email: | Thanaphum.O@Chula.ac.th Prasit.Pav@Chula.ac.th |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Dentistry |
Subjects: | Stem cells Notch genes Adipose tissues |
Issue Date: | 2013 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | Stem cells can be isolated from various tissues, including bone marrow, dental pulp, as well as adipose tissues. Due to the non-invasive isolation procedure, the adipose-derived mesenchymal stem cells (ADSCs) are introduced as an alternative stem cell source for regenerative medicine. In addition, it has been shown that Notch signaling participates in the control of ADSCs’ behavior. However, those studies were performed in the heterogeneous population of ADSCs. In the present study, human adipose tissue derived single-cell clones were isolated using a cloning ring technique and characterized for their stem cell characteristics. In addition, the participation of Notch signaling on the differentiation toward osteogenic and adipogenic lineage of these adipose derived single-cell-clones was investigated. Eighty-five single cell clones were able to isolate from adipose tissues culture. However, only 14 clones were able to proliferate for further characterization. The results showed that all fourteen clones expressed embryonic and mesenchymal stem cell marker genes. All 14 clones were able to differentiate to both osteogenic and adipogenic lineages. Low adipogenic clones had higher Notch 2, 3, and 4, Jagged1, as well as Delta1 mRNA expression compared to high adipogenic clones. On the contrary, the Notch signaling component mRNA expression was not different between low and high osteogenic clones. Notch receptor mRNA expression decreased with the adipogenic differentiation of both low and high adipogenic clones. Inhibition of Notch signaling using γ-secretase inhibitor enhanced of adipogenic differentiation. Correspondingly, the initiation of Notch signaling using JAGGED1 bound surface resulted in a decrease of intracellular lipid accumulation. These results indicate that Notch signaling inhibited the adipogenic differentiation of single-cell-clone adipose derived mesenchymal stem cells. |
Other Abstract: | เซลล์ต้นกำเนิดสามารถแยกได้จากเนื้อเยื่อหลายชนิด เช่น ไขกระดูก เนื้อเยื่อในฟัน และเนื้อเยื่อไขมัน เป็นต้น เซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อไขมันได้ถูกนำเสนอเป็นแหล่งเซลล์ต้นกำเนิดทางเลือกสำหรับการศึกษาที่เกียวข้องกับการเจริญงอกใหม่เนื่องจากวิธีการได้มาของเนื้อเยื่อที่ไม่รุกรานร่างกาย มีการศึกษาพบว่าสัญญาณนอชท์มีความเกี่ยวข้องในการควบคุมพฤติกรรมของเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อไขมัน แต่การศึกษาเหล่านั้นมักจะศึกษาในลักษณะประชากรผสมของเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อไขมัน ในการศึกษานี้ได้ทำการแยกโคลนเซลล์เดี่ยวของเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อไขมันของมนุษย์ด้วยเทคนิคโคลนนิ่งริง เพื่อศึกษาคุณสมบัติของเซลล์ต้นกำเนิด นอกจากนี้ยังศึกษาบทบาทของสัญญาณนอชท์ในการแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างกระดูกและเซลล์สร้างไขมันด้วย ในการศึกษานี้ได้ทำการแยกโคลนเซลล์เดี่ยวจำนวน 85 โคลนจากเนื้อเยื่อไขมัน แต่พบว่ามีเพียง 14 โคลนที่สามารถเพิ่มจำนวนได้มากพอเพื่อทำการศึกษาคุณสมบัติต่อได้ เซลล์ทั้ง 14 โคลนมีการแสดงออกของยีนบ่งชี้เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิดเมเซนไคม์ นอกจากนี้ยังสามารถแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างกระดูกและเซลล์สร้างไขมันได้ โคลนที่มีความสามารถในการแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างไขมันได้ต่ำจะมีการแสดงออกของอาร์เอ็นเอนำรหัสของ นอชท์2 นอชท์3 นอชท์4 เจ็กเก็ต1 และเดลต้า1 สูงกว่าโคลนที่มีความสามารถในการแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างไขมันได้สูง ในขณะที่ไม่พบความแตกต่างในการแสดงออกของอาร์เอ็นเอนำรหัสของสัญญาณนอชท์ระหว่างโคลนที่มีความสามารถในการแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างกระดูกต่ำและสูง การแสดงออกของอาร์เอ็นเอนำรหัสของนอชท์รีเซบเตอร์ลดลงเมื่อมีการแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างไขมันทั้งในโคลนที่มีความสามารถในการแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างไขมันได้ต่ำและสูง นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อทำการยับยังสัญญาณนอชท์ด้วยสารยับยั้งแกมม่า ซีครีเตส จะเพิ่มความสามารถในการแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างไขมันได้มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเมื่อกระตุ้นสัญญาณนอชท์ด้วยพื้นผิวที่ตรึงด้วยเจ็กเก็ต1 จะลดประสิทธิภาพในการสะสมไขมันในเซลล์ ผลการศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสัญญาณนอชท์สามารถยับยั้งการแปรสภาพไปเป็นเซลล์สร้างไขมันในโคลนเซลล์เดี่ยวของเซลล์ต้นกำเนิดจากเนื้อเยื่อไขมัน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/58815 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Dent - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
b21469453_Thanaphum Os.pdf | 1.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.