Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59271
Title: การสร้างแบบประเมินบ้านรักษ์นิเวศสำหรับภูมิภาคร้อนชื้น
Other Titles: Development of assessment method for Eco-House in Hot-Humid region
Authors: จิตพัต ฉอเรืองวิวัฒน์
Email: Vorasun.B@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Advisors: วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
สุนทร บุญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: บ้านประหยัดพลังงาน
บ้านประหยัดพลังงาน -- การออกแบบและการสร้าง
บ้านประหยัดพลังงาน -- การประเมิน
อาคารแบบยั่งยืน
อาคารแบบยั่งยืน -- การออกแบบและการสร้าง
อาคารแบบยั่งยืน -- การประเมิน
Ecological houses
Ecological houses -- Design and construction
Ecological houses -- Evaluation
Sustainable buildings
Sustainable buildings -- Design and construction
Sustainable buildings -- Evaluation
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แบบประเมินอาคารเพื่อการประหยัดพลังงานเกิดขึ้นในหลายประเทศ อาทิเช่น BREEAM (สหราชอาณาจักร) CASBEE (ประเทศญี่ปุ่น) GREEN STAR (ประเทศออสเตรเลีย) และ LEED (สหรัฐอเมริกา) หากแต่แบบประเมินเหล่านี้ไม่เหมาะสำหรับประเทศไทยเนื่องจากภูมิอากาศของประเทศที่แตกต่างกัน จากทฤษฎีการประเมินวัฏจักรชีวิตระบุว่าปริมาณการใช้พลังงานในอาคารสูงถึง 60-90%ในช่วงอายุอาคารระหว่าง 30-50 ปี การวิจัยนี้เสนอการวิเคราะห์ขั้นตอนการผลิตวัสดุการก่อสร้าง ขั้นตอนการออกแบบ และขั้นตอนการใช้งานอาคารเพื่อสร้างแบบประเมินอาคาร กระบวนการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์วัฏจักรชีวิตของอาคารในขั้นตอนการผลิตวัสดุจากพลังงานสะสม จากนั้นวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบและการใช้งานอาคาร ได้แก่ ตัวแปรที่มีอิทธิพลภายนอก ได้แก่ ตัวแปรด้านสภาพแวดล้อม รูปทรงอาคาร และค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนของวัสดุ และการรั่วซึม ตัวแปรที่มีอิทธิพลภายในอาคาร ได้แก่ การใช้ไฟฟ้าในอาคาร การใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร และ ตัวแปรด้านประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศ การวิจัยนี้เสนอดัชนีการประเมินการใช้พลังงานในอาคารดังนี้ ดัชนีสภาพแวดล้อม (องศาเซลเซียส) ค่าดีที่สุดเท่ากับ 5.25 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.81 ค่าไม่ดีเท่ากับ 20.37 ดัชนีรูปทรงอาคารค่าดีที่สุดเท่ากับ 0.50 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.50 ค่าไม่ดีเท่ากับ 6.50 ดัชนีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนของวัสดุ (วัตต์ต่อตารางเมตรองศาเซลเซียส) ค่าดีที่สุดเท่ากับ 0.06 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.64 ค่าไม่ดีเท่ากับ 5.22 ดัชนีการรั่วซึม(วัตต์ต่อตารางเมตร) ค่าดีที่สุดเท่ากับ 12 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 36 ค่าไม่ดีเท่ากับ 60 ดัชนีการใช้ไฟฟ้าในอาคาร (วัตต์ต่อตารางเมตร) ค่าดีที่สุดเท่ากับ 6 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12 ค่าไม่ดีเท่ากับ 18 ดัชนีอุปกรณ์ไฟฟ้า (วัตต์ต่อตารางเมตร) ค่าดีที่สุดเท่ากับ 1.89 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.90 ค่าไม่ดีเท่ากับ 29.91 ดัชนีประสิทธิภาพเครื่องปรับอากาศค่าดีที่สุดเท่ากับ 0.23 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.44 ค่าไม่ดีเท่ากับ 0.65 การแบ่งระดับการให้คะแนนการประเมินอาคาร มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี ได้แก่ ระดับดีเยี่ยมมีค่าน้อยกว่า 55 ระดับดีมากมีค่าระหว่าง 55-112.50 ระดับดีมีค่าระหว่าง 112.50-170 ระดับมาตรฐานมีค่าระหว่าง 170-227.50 ระดับไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานมีค่าระหว่าง 227.50-285 ระดับต่ำมีค่าระหว่าง 285-342.50 ระดับต่ำมากมีค่าระหว่าง 342.50-400 ระดับต่ำที่สุดมีค่ามากกว่า 400 แบบประเมินอาคารนี้เป็นเครื่องมือช่วยในการออกแบบด้านการใช้พลังงานในอาคารได้อย่างดี เนื่องจากรวมตัวแปรที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการใช้พลังงานในอาคารทั้งหมด ซึ่งสามารถใช้ประเมินอาคารเก่าและอาคารที่ออกแบบใหม่ได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งยังเป็นเครื่องมือช่วยในการออกแบบอาคารสำหรับสถาปนิก วิศวกรและผู้เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี
Other Abstract: Nowadays, there are building energy assessment methods in many countries, for example, BREEAM (UK), CASBEE (Japan) GREEN STAR (Australia) and LEED (USA). However, these indexes can not be applied directly to Thailand because of climatic differences. From the life cycle assessment theory, energy consumption of building can reach as high as 60 – 90 percent during its life span of 30 – 50 years. This research analysed the process of material production, design and operation for the development of building assessment method. The development process consisted of embodied energy analysis of building materials. Factors that influenced design and operation including external factor as micro-climate, building form, thermal transfer and infiltration, internal factors such as lighting and electrical loads, and air-condition efficient factor were also analyzed. Proposed energy assessment index of building consists of micro climate sub-index (oC) values of 5.25 (good), 12.81 (average) and 20.37 (bad); building form index values of 0.50 (good), 3.50 (average) and 6.50 (bad); thermal transfer index (W/m2• oC) values of 0.06 (good), 2.64 (average) and 5.22 (bad); infiltration index (W/m2) values of 12 (good), 36 (average) and 60 (bad); lighting index (W/m2) values of 6 (good), 12 (average) and 18 (bad); appliance index (W/m2) values of 1.89 (good), 15.90 (average) and 29.91 (bad); air condition index values of 0.23 (good), 0.44 (average) and 0.65 (bad). The energy assessment of building (kWh/m2/yr) can be categorized in different levels. The values lower than 55 is counted as the excellent level (A+), 55 – 112.50 as very good level (A), 112.50 – 170 as good level (B+), 170 – 227.50 as average level (B), 227.50 – 285 as lower than the average level (C+), 285– 342.50 as low level (C), 342.50 – 400 as very low level (D+), and the values higher than 400 as the lowest level (D). This building assessment covers all building influential factors that can be used both for old and new buildings. Furthermore, this building assessment also provides design guidelines for architects, engineers and other stakeholders to improve those physical and policy impact factors for buildings in this region.
Description: วิทยานิพนธ์(สถ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59271
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.2190
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.2190
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jittapat Choruengwiwat.pdf6.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.